zero-carbon

กระทรวงพลังงาน-พันธมิตรหนุนลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผลิตรถ EV

    กระทรวงพลังงาน-พันธมิตรหนุนลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผลิตรถ EV ภายใต้การจัดงาน 2023 Green Technology Expo รับยุทธศาสตร์ชาติด้าน BCG Economy มุ่งเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสีเขียว

ดร.วีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู รองปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานได้ดำเนินการร่วมมือกับสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไทย-จีน (TSAST), Council for the Promotion of International Trade Shanghai (CCPIT) และ Chinese Academy of Sciences, Innovation Cooperation Center Bangkok (CAS-ICCB) 

ทั้งนี้ เพื่อร่วมกันจัดงาน “2023 Green Technology Expo” ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (BITEC) โดยจะเป็นการสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติด้าน Bio-Circular-Green Economy (BCG Economy) 

และยุทธศาสตร์ชาติและความคิดริเริ่ม Belt and Road Initiative ของจีนเพื่อการสร้างคำนิยามที่ว่าจีนและไทยเป็นครอบครัวเดียวกัน โดยมุ่งหวังว่าการปฏิบัติจริงในรูปแบบหลายมิติ เช่น นิทรรศการ การแลกเปลี่ยน และการสร้างปฏิสัมพันธ์จะส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 

และดำเนินการตามวาระปี 2030 ของสหประชาชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงสนับสนุนประเทศไทยในการพัฒนาศูนย์การผลิตรถยนต์ไฟฟ้า หรืออีวี (EV) ซึ่งเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสีเขียวหลัก ส่งมอบโลกที่ดีกว่าให้กับคนรุ่นใหม่

สำหรับงาน 2023 Green Technology Expo ใช้เทคโนโลยีสีเขียวเป็นแกนหลัก เพื่อมุ่งเน้นไปที่การปล่อยคาร์บอนสูงสุดของโลก และวิสัยทัศน์ในเรื่องความเป็นกลางทางคาร์บอน การปฏิบัติตามนโยบายของสหประชาชาติและข้อกำหนดชี้นำของประชาคมระหว่างประเทศในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

"งานดังกล่าวเป็นการแบ่งปันเทคโนโลยีสีเขียวจะตอบโจทย์ความท้าทายที่มนุษย์และทุกชีวิตต้องเผชิญเพื่อตอบสนองต่อปัญหาหลักของภาวะโลกร้อน นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ ส่งเสริมการพัฒนาองค์กรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างโลกที่ดีกว่าสำหรับคนรุ่นใหม่"

ดร.วีรพัฒน์ กล่าวอีกว่า การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมโดยเฉพาะในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการผลิตทั้งภาคอุตสาหกรรม และเกษตรกรรมมีผลต่อสิ่งแวดล้อม การเพิ่มพื้นที่เมือง และลดพื้นที่ป่า สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม เกิดการสะสม Green House Gas (GHG) เกินกว่าที่ธรรมชาติจะรับได้ 

จนเกิดปัญหาภาวะโลกร้อน หรือ Global Warming ย้อนกลับมามีผลกระทบต่อการผลิตในภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม ภาคบริการ และการใช้ชีวิตประจำวัน อย่างที่ทุกคนรับทราบ และเผชิญปัญหาร่วมกัน ซึ่งปัญหาดังกล่าวทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันแก้ไข

สำหรับประเทศไทย ได้ร่วมให้สัตยาบันในการประชุมนานาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลก กรุงปารีส ที่จะร่วมลด GHG ให้ได้ร้อยละ 20-25 ในปี2573 เพื่อเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) และมีนโยบายส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าด้วยมาตรการทางภาษี ทั้งผู้ผลิต และผู้ใช้ เพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค

กระทรวงพลังงานมีแผนพัฒนาพลังงานทดแทน และพลังงานทางเลือก โดยกำหนดจะลดปริมาณ CO2 ในการผลิตกระแสไฟฟ้า 1 หน่วย ให้เหลือครึ่งหนึ่ง ในปี 2580 

ดร.พิชัย สนแจ้ง เลขาธิการสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไทย-จีน กล่าวว่า สมาคมเห็นว่าการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนต้องเกิดจากความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนการผลิตและกระบวนการทั้งภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และบริการ ซึ่งต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพัฒนานวัตกรรม 

"การจัดงานดังกล่าวเพื่อให้เกิดการกระจาย การใช้ การพัฒนาเทคโนโลยี และการสร้างนวัตกรรม โดยเป็นพื้นที่ให้เกิดการพบปะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างเจ้าของเทคโนโลยี นักธุรกิจ ผู้ประกอบการ นักวิจัย และผู้สนใจทั่วไป ที่จะร่วมกันเสนอเทคโนโลยี และความคิดใหม่ ต่อยอดความรู้ แก้ปัญหา และสนองความต้องการ ซึ่งจะเกิดทั้งBusiness Matching และ Technology Matching สร้างธุรกิจที่สนองนโยบาย SDG และ BCG-Economic ของ UN และนโยบายของประเทศ"