ทางเลือกใหม่จัดการ “คาร์บอนเครดิต” ด้วยเทคโนโลยีอวกาศ

23 ก.พ. 2566 | 13:50 น.
อัปเดตล่าสุด :23 ก.พ. 2566 | 14:06 น.

เทคโนโลยีอวกาศ ทางเลือกใหม่จัดการ “คาร์บอนเครดิต” GISTDA ประสาน TGO ดึงข้อมูลจากดาวเทียมช่วยสำรวจประเมินปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่า

การนำ "เทคโนโลยีอวกาศ" หรือ Space Technology มาช่วยในการจัดการ “คาร์บอนเครดิต” นับเป็นอีกหนึ่งแนวทางสำคัญที่ประเทศไทยกำลังหันมาให้ความสำคัญ เพื่อการสำรวจการกักเก็บปริมาณคาร์บอนในพื้นที่ป่า พื้นที่เกษตร และพื้นที่อื่น ๆ ให้เกิดประโยชน์

ที่ผ่านมามีงานสำคัญเกิดขึ้นเพื่อหาทางนำเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ โดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ร่วมมือกับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO และหน่วยงานความร่วมมือระดับนานาชาติ จัดสัมมนา Carbon Accounting: Observation from Space

สาระสำคัญของงานเป็นเวทีแสดงให้เห็น และวิธีการที่เป็นมาตรฐานในการกักเก็บคาร์บอนและเป็นการแสดงความพร้อมของประเทศไทย ที่จะใช้เทคโนโลยีอวกาศ เข้ามาจัดการคาร์บอนเครดิต เพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้ชุมชนและประเทศไทย

 

ภาพประกอบข่าว การจัดการ “คาร์บอนเครดิต”

เทคโนโลยีอวกาศ คืออะไร

เทคโนโลยีอวกาศ ถือเป็นเทคโนโลยีสำคัญในโลกยุคใหม่ เพื่อนำมาใช้ในการสำรวจสิ่งต่าง ๆ ทั้งในโลกและที่อยู่นอกโลก ทั้งห้วงอวกาศ ดาราศาสตร์ ไปถึงการนำมาใช้ศึกษาค้นคว้า เพื่อพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่มนุษยชาติ โดยเฉพาะการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ 

สำหรับประเทศไทยนั้น GISTDA ถือเป็นหน่วยงานสำคัญ ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศให้เป็นความรู้ที่ไร้พรมแดนและเกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม และศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม และเป็นศูนย์ข้อมูลด้านภูมิสารสนเทศจากข้อมูลดาวเทียม และข้อมูลสำรวจจากแหล่งอื่น ๆ

เช่นเดียวกับการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนา และดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือต่อเนื่องกับเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ซึ่งรวมทั้งการจัดหา การพัฒนา และการสร้างระบบดาวเทียม รวมถึงส่งเสริมการนำมาตรฐานด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศไปใช้ด้วย

 

ภาพประกอบข่าว การจัดการ “คาร์บอนเครดิต”

เทคโนโลยีอวกาศกับคาร์บอนเครดิต

การนำเทคโนโลยีจากดาวเทียมและข้อมูลภูมิสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการจัดการคาร์บอนเครดิต จะทำให้สามารถจำแนกประเภทป่าไม้ และประเมินความหนาแน่นชั้นเรือนยอดต้นไม้จากแบบจำลองเชิงพื้นที่ เพื่อประเมินปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าฯ ได้อย่างถูกต้องเพียงพอกับการใช้งาน ซึ่งเป็นวิธีการที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ 

ขณะเดียวกันการเทคโนโลยีอวกาศมาประยุกต์ใช้ ยังช่วยประหยัดเวลา แรงงานคนที่ต้องใช้ในการสำรวจภาคสนามและลดความผิดพลาดจากการสำรวจอีกด้วย

อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้จากการสำรวจและวิเคราะห์จะถูกรวบรวมเพื่อนำไปสู่การจัดทำ “บัญชีคาร์บอน” ให้กับประเทศไทย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศได้แก่ หน่วยงานด้านพลังงาน หน่วยงานภาคกระบวนการอุตสาหกรรม หน่วยงานด้านการจัดการของเสีย หน่วยงานด้านการเกษตร หน่วยงานด้านป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดินด้วย

ดึงข้อมูลดาวเทียมลดการปล่อยคาร์บอน

ที่ผ่านมา GISTDA ในฐานะประธานคณะกรรมการดาวเทียมสำรวจโลกปี 2023 หรือ CEOS Chair 2023 ได้มอบนโยบายผลักดันประเด็นสำคัญเกี่ยวกับ “การลดการปลดปล่อยคาร์บอน” เพื่อลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก โดยนำข้อมูลจากดาวเทียมและเทคนิคที่เกี่ยวข้องมาใช้เป็นเครื่องมือในการสำรวจและตรวจวัดการกักเก็บคาร์บอน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ แก้ปัญหาเพื่อนำไปสู่การปรับตัวและการบรรเทาปัญหาโลกร้อน 

สอดคล้องกับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ UNFCC ซึ่งปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญและใช้เทคโนโลยีเพื่อสำรวจการกักเก็บคาร์บอน การจัดทำบัญชีคาร์บอนให้กับประเทศไทย ถือเป็นความท้าทายไปอีกขั้นในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศเพื่อการเฝ้าระวังและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้กับโลกต่อไป

จากการประชุม CEOS Plenary 2022 ซึ่งเป็นการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของคณะกรรมการดาวเทียมสำรวจโลก หรือ CEOS มีหน่วยงานด้านอวกาศระดับโลกเข้าร่วมที่ฝรั่งเศส เมื่อปลายปีที่ผ่านมา GISTDA ในฐานะประธานคณะกรรมการดาวเทียมสำรวจโลกปี 2023 หรือ CEOS Chair 2023 ได้มอบนโยบายผลักดันประเด็นสำคัญเกี่ยวกับ “การลดการปลดปล่อยคาร์บอน” เพื่อลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก 

โดยนำข้อมูลจากดาวเทียมและเทคนิคที่เกี่ยวข้องมาใช้เป็นเครื่องมือในการสำรวจและตรวจวัดการกักเก็บคาร์บอน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ แก้ปัญหาเพื่อนำไปสู่การบรรเทาปัญหาโลกร้อน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ UNFCCC

 

ภาพประกอบข่าว การจัดการ “คาร์บอนเครดิต”

 

จัดทำบัญชีคาร์บอนประเทศไทย

ปัจจุบัน หลายประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญและใช้เทคโนโลยีจากดาวเทียมเพื่อสำรวจการกักเก็บคาร์บอนมานานแล้ว และมีการปรับปรุงพัฒนาเทคนิคใหม่ๆ ให้มีมาตรฐานสากลอย่างต่อเนื่อง การจัดทำบัญชีคาร์บอนให้กับประเทศไทย ถือเป็นความท้าทายไปอีกขั้นของพวกเราในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศ เพื่อการเฝ้าระวังและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมและระบบเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต

การประเมิน Carbon Credit ภาคป่าไม้ในปัจจุบันทาง TGO ได้เปิดเป็นทางเลือกให้สามารถนำเอาเทคโนโลยีขั้นสูงที่เกี่ยวข้องกับดาวเทียมหลาย ๆ แบบ มาร่วมใช้ประเมินเนื้อไม้ที่เพิ่ม เปรียบเทียบกับ Baseline เดิมได้อย่างถูกต้องแม่นยำและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ขนาดใหญ่และมีรูปแบบของต้นไม้ใกล้เคียงกัน 

ที่สำคัญก่อนที่มีการเสนอใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อใช้ในการประเมินมีความจำเป็นที่ต้องสอบเทียบความถูกต้องกับวิธีมาตรฐานกลางตามวิธีการคำนวณตามมาตรฐานประเมิน Carbon Credit โดยใช้จำนวนตัวอย่างที่น่าเชื่อถือ และผ่านการเห็นชอบตามขั้นตอนที่กำหนดด้วย