อินเดีย ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากจีนและสหรัฐอเมริกา อยู่ภายใต้แรงกดดันให้ประกาศแผนการที่จะกลายเป็นคาร์บอนเป็นกลาง ก่อนหน้ารอยเตอร์รายงาน อินเดีย ปฏิเสธตั้งเป้าหมาย Net zero ชี้ว่าไม่ใช่ทางออกในการแก้ไขปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศ
แต่เส้นทางในการลดก๊าซเรือนกระจกนั้นสำคัญกว่า ประเทศร่ำรวยต้องตระหนัก รับผิดชอบถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสะสมในอดีต และปกป้องผลประโยชน์ของประเทศกำลังพัฒนา และประเทศที่เปราะบางจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
ประชากรอินเดียคิดเป็น 17% ของคนทั้งโลก และมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนในสัดส่วน 5% บนเวทีโลกที่อินเดียถูกจับตาก็คือท่าทีต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก อินเดียวางแนวทางของตัวเองในเรื่องนี้อย่างไร ในฐานะที่เป็นประเทศเศรษฐกิจใหญ่อับดับ 6 ของโลก เเละปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับ 3 ของโลก
แต่นั้นอาจไม่ใช่คำตอบเดียว เพราะที่ผ่านมาหลายคนคงเคยได้ยินข่าวว่า อินเดียประเผชิญวิกฤตมลพิษทางอากาศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาเรื้อรังของอินเดีย
คนอินเดียตายจากมลพิษ 1.6 ล้านคน
วารสารการแพทย์เดอะแลนซิต (The Lancet) เคยเปิดเผยผลการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าชาวอินเดียต้องเสียชีวิตก่อนวัยอันควรไปมากกว่า 2.3 ล้านคนในปี 2562 เพราะได้รับมลพิษเข้าสู่ร่างกาย ตัวเลขดังกล่าวแบ่งเป็นผู้เสียชีวิตจากผลกระทบของมลพิษทางอากาศมากถึง 1.6 ล้านคน และอีกกว่า 500,000 เสียชีวิตจากการได้รับมลพิษทางน้ำ ชาวอินเดียจำนวนมากจึงเปรียบเสมือนใช้ชีวิตอยู่บนเส้นด้ายและอาจเผชิญปัญหาสุขภาพต่อเนื่อง
ตั้งเป้าหมาย Net Zero ในปี 2070
แต่แล้วในการประชุม COP26 เพื่อควบคุมอุณหภูมิโลกไว้ไม่ให้เพิ่มเกิน 2 องศาเซลเซียสเหนือระดับก่อนอุตสาหกรรม และจะพยายามคุมไว้ไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส นั้น นายนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย สร้างความประหลาดใจ ด้วยคำปฏิญญาที่เด็ดขาดว่า อินเดีย จะบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ให้ได้ภายในปี 2070
นายโมดีปราศรัย ว่า อินเดียมีปฏิญญาเกี่ยวกับปัญหาโลกร้อนด้วยกัน 5 ประการ ซึ่งรวมถึงการใช้พลังงานทดแทนให้ได้ 50% ของความต้องการพลังงานทั้งหมดภายในปี 2573
อินเดียมุ่งมั่นที่จะลดความเข้มข้นของการปล่อยมลพิษของ GDP ลง 33%-35% ภายในปี 2573 ขณะที่ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมบางคนระบุว่า อินเดียสามารถพิจารณาลดความเข้มข้นของการปล่อยมลพิษลงได้มากถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับการเงินและการเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ
ความเป็นไปได้กับเป้าหมาย Net Zero
คำถามสำคัญคือ เป้าหมายคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ของอินเดียปี 2070 จะเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด เเต่จากข้อมูลพบว่า ที่ผ่านมาอินเดียได้มีการลดกำลังการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินน้อยลง เเละลงทุนกับพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น
ลงทุนในกลุ่มพลังงานแสงอาทิตย์ ทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของโลกลดลง ปี 2014-2017 ผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ของอินเดียเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 370
ส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในภาคพลังงานไฟฟ้า โดยเฉพาะการลงทุนในพลังงานหมุนเวียน มีแผนยกระดับระบบรถไฟของประเทศเพื่อให้มีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนลดลงภายในประเทศ อีกทั้งการลงทุนเพื่อพัฒนาโครงการต่างๆ ในภาคเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
ลดดัชนีการปล่อยมลพิษของจีดีพี 33%เป็น 35% ภายในปี 2573 เพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าสะสมจากทรัพยากรที่ไม่ใช้ฟอสฟิล 44% ภายในปี 2573 ขณะที่สร้างแหล่งกักเก็บคาร์บอน 2.5-3 พันล้านตัน หรือเทียบเท่าเพิ่มพื้นที่ป่า ภายในปี 2573
อย่างไรก็ตาม สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สภาพยุโรป ประเทศส่วนใหญ่ตั้งเป้าบรรลุการลดปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 จีนตั้งเป้าปี 2060 ประเทศไทยตั้งเป้าปี 2065
ข้อมูล : reuters
ข่าวที่เกี่ยวข้อง