ระยะนี้หลาย ๆ คนคงจะคุ้นหูกันกับคำว่า “Carbon Neutral” ซึ่งก็คือ “ความเป็นกลางทางคาร์บอน” หมายถึงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เป็นศูนย์ ผ่านการดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งช่วงเวลานี้หลายประเทศกำลังพยายามที่จะบรรลุตั้งเป้าหมายสู่การเป็น Net Zero ภายในปี 2050
ส่วนประเทศไทยขยับจากปี 2065 มาเป็น 2050 สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 ส่วน Net Zero ภายในปี 2065
ปัจจุบันมีประเทศที่ประสบความสำเร็จในการ "ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์" เป็นประเทศต้นแบบที่จะให้นานาประเทศได้เห็นว่ากลไกการดำเนินงานสำคัญเป็นอย่างไร จึงจะบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ได้
ภูฏาน ประเทศเล็กๆ ทางฝั่งตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัย มีประชากรราว 750,000 คน ขับเคลื่อนพัฒนาภายใต้กรอบการสร้าง “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” หรือ GNH (Gross National Happiness) ตามพระราชปณิธานของอดีตพระราชาธิบดี จิกมี ซิงเย วังชุก พระราชาธิบดีลำดับที่ 4 แห่งราชอาณาจักรภูฏาน ประกาศเจตนารมณ์สร้างความสุขให้ประชาชนภายในประเทศมากกว่าสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ไว้ตั้งแต่ปี 1970
โดยมีคำกล่าวที่เลื่องลือไปทั่วโลกว่า “Gross National Happiness is more important than Gross National Product”
แบ่งออกเป็น 4 เสาหลัก คือ 1.พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแบบยั่งยืน 2.ส่งเสริมและรักษาคุณค่าทางวัฒนธรรม 3.ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์แวดล้อม และ 4.บริหารอย่างมีธรรมาภิบาล
ประเทศนี้มีพื้นที่ป่ากว่า 72% ซึ่งช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่า 9 ล้านตันต่อปี ทั้งประเทศปล่อยคาร์บอนน้อยกว่า 4 ล้านตัน มีการดำเนินนโยบายส่งเสริมการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนมากกว่าการตัดไม้ทำลายป่า
ปี 2009 รัฐบาลผลักดันนโยบายต่าง ๆ ที่ทำให้ปริมาณคาร์บอนลดลงมหาศาล เช่น ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำ ความร่วมมือกับบริษัทรถยนต์ชั้นนำของโลก คือ Nissan เพื่อส่งเสริมการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า รัฐลดราคารถพลังงานไฟฟ้าและผันงบประมาณอุดหนุนราคาหลอดไฟฟ้าประหยัดพลังงาน
ตั้งเป้าเป็นรัฐบาลปลอดกระดาษ ลงนามข้อตกลงที่กำหนดว่าปริมาณป่าไม้ของประเทศจะต้องไม่น้อยกว่า 60% ของพื้นที่ทั้งประเทศ และเพื่อรักษาพื้นที่ป่า รัฐบาลปล่อยกระแสไฟฟ้าให้ประชาชนในพื้นที่ชนบทได้ใช้ฟรี เพื่อลดการตัดไม้
ภูฏาน ตั้งเป้าผลิตอาหารออร์แกนิคให้ได้ 100% ภายในปี 2020 ที่สำคัญคือการมุ่งมั่นตั้งใจจะเป็นประเทศ Zero Waste ให้ได้ภายในปี 2030 พร้อมทั้งมุ่งสู่การลดก๊าซเรือนกระจกโดยรวมผ่านการเพิ่มการลงทุนในพลังงานสีเขียวประเภทอื่น ๆ
ภูฏาน พยายามพิสูจน์ให้เห็นว่า ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจไม่ได้วัดที่ GDP แต่วัดกันที่สวัสดิภาพชีวิตของประชาชน เเละการที่ตัวเลขทางเศรษฐกิจขยับขึ้นเล็กน้อย ก็คือ การปล่อยก๊าซคาร์บอนจำนวนมาก
ข้อมูล : climatecouncil,indiatoday,thegef.org,weforum.org
ข่าวที่เกี่ยวข้อง