รู้จัก! รถไฟฟ้าไร้คนขับ APM “สายสีทอง VS สุวรรณภูมิ”

21 ก.พ. 2564 | 11:57 น.
อัปเดตล่าสุด :23 ก.พ. 2564 | 07:05 น.
3.0 k

รู้จัก รถไฟฟ้าไร้คนขับ APM “สายสีทอง VS สุวรรณภูมิ”

ประเทศไทยมีรถไฟฟ้าไร้คนขับ APM 2เส้นทาง “สายสีทอง VS สุวรรณภูมิ” ทั้งนี้ คนไทยได้เริ่มสัมผัสบ้างแล้ว เมื่อ เปิดให้บริการเดินรถตั้งแต่วันที่ 16ธันวาคม 2563  สำหรับรถไฟฟ้าสายสีทอง ของกรุงเทพมหานคร โดย มีบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)หรือBTSCเป็นผู้เดินรถ รองรับการเดินทางให้กับคนฝั่งธนบุรี3สถานีที่สถานีกรุงธนบุรี (GN1) สถานีเจริญนคร (GN2) และสถานีคลองสาน (GN3) ระยะทาง 1.8 กิโลเมตร มีเสียงตอบรับที่ดีสำหรับผู้ใช้บริการ รู้จัก! รถไฟฟ้าไร้คนขับ APM “สายสีทอง VS สุวรรณภูมิ”

สำหรับเทคโนโลยีของ รถไฟฟ้าสายสีทอง โครงสร้างลอยฟ้า  มีไฮไลท์  ระบบขนส่งมวลชนแบบนำทางอัตโนมัติ Automated Guideway Transit (AGT) หรือ เป็นระบบรางที่เป็นโมโนเรล หรือรางเดี่ยว ขบวนแรกของประเทศไทย ใช้ระบบควบคุมการขับเคลื่อนรถด้วยระบบอัตโนมัติ หรือแบบไร้คนขับ เป็นรถไฟฟ้ารุ่น Bombardier Innovia APM 300 โดยมีลักษณะพิเศษคือเป็นรถไฟฟ้าที่ใช้ล้อยาง มีขนาดเล็กแต่มีประสิทธิภาพในการขนส่งผู้โดยสารล้ำนำเทรนด์เทคโนโลยี สำหรับฟีดเดอร์ หรือระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง ป้อนผู้โดยสารส่งต่อให้กับระบบขนส่งมวลชนหลัก 

เนื่องจากมีโครงสร้างขนาดเล็ก ทำให้กินพื้นที่น้อย ช่วยนำทางเลี้ยววงแคบและไต่ทางลาดชันได้ดี สำหรับรถไฟฟ้ารุ่น Bombardier Innovia APM 300 ผลิตที่เมืองอู่หู มณฑลอานฮุย สาธารณรัฐประชาชนจีน   สามารถรองรับผู้โดยสาร 138 คน/ตู้ และ1 ขบวนรองรับผู้โดยสาร 276 คน/ขบวน รองรับผู้โดยสารได้ 4,200 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง รถไฟฟ้ามีความกว้าง 2.8 เมตร ความยาว 12.75 เมตร ความสูง 3.5 เมตร ประตูมีความกว้าง 1.9 เมตร ความสูงของพื้นรถ 1.1 เมตรใช้เวลา วิ่งถึงสถานีไม่เกิน 2 นาทีความเร็วที่ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

 

รู้จัก! รถไฟฟ้าไร้คนขับ APM “สายสีทอง VS สุวรรณภูมิ”

 

 

นอกจาก รถไฟฟ้า ไร้คนขับสายสีทอง สายแรกแล้ว ล่าสุดกำลังมีรถไฟฟ้าไร้คนขับเป็นเส้นทางที่สองของประเทศไทย   ที่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) หรือ ทอท. ใช้รถไฟฟ้า APM  ไร้คนขับโครงสร้างใต้ดิน   วิ่งเชื่อม อาคารผู้โดยสาร SAT 1 สนามบินสุวรรณภูมิ รถไฟฟ้าขนาดเล็ก  สัญชาติ ยุโรป  ปัจจุบันบริษัท ซีเมนส์ จำกัด ผู้ผลิตตัวรถ ได้ส่งรถไฟฟ้าไร้คนขับ รุ่น Airval มาจากกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ล่าสุด ถึงประเทศไทยแล้ว จำนวน 4 ขบวน 8 ตู้ ซึ่งทั้งหมดนี้จอดอยู่ในศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) บริเวณชั้นใต้ดินของ SAT 1

คาดว่าอีก 2 ขบวน 4 ตู้ที่เหลือจะมาถึงประเทศไทยประมาณเดือนพฤษภาคม2564 เป้าหมาย มีขบวนรถครบทั้งหมด 6 ขบวน 12 ตู้ อย่างไรก็ตามรถไฟฟ้าไร้คนขับ จะนำมาให้บริการรับส่งผู้โดยสารฟรีภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระหว่างอาคารผู้โดยหลังปัจจุบัน และ SAT 1 ใช้ความเร็วการทำงานสูงสุดที่ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมงรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 210 คนต่อขบวน หรือประมาณ 6,000 คนต่อชั่วโมง

นายกีรติ กิจมานะวัฒน์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายงานวิศวกรรมและการก่อสร้าง  ทอท. ระบุว่า  การติดตั้งระบบรถไฟฟ้าขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover : APM) หรือรถไฟฟ้าไร้คนขับ รุ่น Airval ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ(ทสภ.) ว่า อยู่ระหว่างการทดสอบวิ่งบนราง เพื่อตรวจสอบสมรรถนะ 4 ขบวน โดยเดินรถใต้ดินไป-กลับ ระหว่างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 หรืออาคารแซทเทิลไลท์ 1 (SAT 1) และอาคารผู้โดยสารหลังปัจจุบัน มีระยะทางต่อเที่ยวประมาณ 1 กิโลเมตร

รู้จัก! รถไฟฟ้าไร้คนขับ APM “สายสีทอง VS สุวรรณภูมิ”

 

 

เบื้องต้นการทดสอบดังกล่าวเป็นไปด้วยความราบรื่น ผ่านตามมาตรฐาน ยังไม่พบปัญหาใดๆ โดยจะดำเนินการทดสอบไปจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม2564 จากนั้นจะทดสอบระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ ถึงเดือนกรกฎาคม หากไม่พบอุปสรรค จะเริ่มทดสอบเดินรถเสมือนจริงในเดือน สิงหาคมเป็นต้นไปจนกว่า SAT 1 จะเปิดให้บริการในเดือน เมษายน 2565 อย่างเป็นทางการ  ซึ่งจะทดสอบเดินรถเสมือนจริงมีผู้โดยสารทดลองนั่งภายในขบวนรถด้วย แต่เนื่องจาก SAT 1 ยังไม่ได้เปิดให้บริการ จึงเป็นการทดสอบภายในไปก่อน ไม่ได้เปิดให้ประชาชนภายนอกได้ทดลองใช้บริการ

รู้จัก! รถไฟฟ้าไร้คนขับ APM “สายสีทอง VS สุวรรณภูมิ”

อย่างไรก็ตามไม่ว่ารถไฟฟ้าไร้คนขับรุ่นไหน สัญชาติ ใด สิ่งที่ปรากฎต่อสายตาชาวโลกคือประเทศไทย ก้าวล้ำ ไปอีกขั้นด้านเทคโนโลยีที่ประชาชนในฐานะผู้ใช้บริการเป็นผู้สัมผัส