“สยามราช”งัด 3 พฤติกรรรมร้องสอบผู้บริหารบริษัทในกลุ่ม ปตท.ส่อทุจริต

16 มิ.ย. 2566 | 16:07 น.
อัปเดตล่าสุด :16 มิ.ย. 2566 | 16:18 น.
2.2 k

“สยามราช ผ่องสกุล” แจ้งความดำเนินคดีต่อดีเอสไอ ก.ล.ต. และทำหนังสือแจ้งประธานบอร์ด ปตท. สอบขบวนการฟอกเงิน-ฮั้วราคา ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงบริษัทในกลุ่ม ปตท. ใน 3 พฤติกรรมส่อทุจริต


วันนี้(16 มิ.ย.66) นายสยามราช ผ่องสกุล ผู้มีส่วนได้เสียและเป็นผู้ถือหุ้นของ ปตท. , GGC ได้ทำหนังสือถึง ประธานบอร์ด ปตท. และประธานบอร์ด PTTOR ให้ตั้งกรรมการตรวจสอบ ขอให้อำนวยความสะดวกและให้ความร่วมมือแก่เจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) , ก.ล.ต. และ/หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐในการสืบสวนสอบสวนผู้กระทำผิด 

ห้ามมิให้ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่า กระทำความผิดเข้าไปเกี่ยวข้องกับพยานหลักฐาน ห้ามเกี่ยวข้องกับการดาเนินธุรกิจในเรื่องที่ถูกกล่าวหา และดาเนินคดีกับ ผู้บริหาร PTTOR และ GGC ร่วมกันกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535, พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 , พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องตามอำนาจหน้าที่ มี 3 เรื่องหลักๆ ประกอบด้วย


เรื่องแรก มีการแทรกแซงครอบงำองค์กร และเข้าข่ายการฮั้วหรือสมยอมราคากัน มีผู้บริหาร PTTOR คนหนึ่งได้สั่งการข้ามบริษัท ถึงผู้บริหารของ GGC ที่มีอำนาจกำหนดราคาน้ำมัน B100 สั่งการให้ GGC ทำหนังสือถึง PTT.OR ว่า GGC ยินยอมลดราคาน้ำมัน B 100 ให้กับ PTTOR ในอัตราลิตรละ 3 บาท ทั้งนี้เพื่อบังคับให้ GGC และกดดันผู้ค้ารายอื่นยินยอมขาย B100 ในราคาที่ต่ำและขาดทุนทำให้ PTTOR ได้กำไรจากส่วนต่างเป็นเงินจำนวนมาก 

มีการนำหนังสือของ GGC ที่ลดราคาน้ำมัน B100 ไปกดดัน/บีบบังคับคู่ค้าของ PTTOR ให้ลดเฉพาะราคาน้ำมัน B100 ลิตรละ 3 บาท ส่วนปริมาณโควต้าในการส่งน้ำมัน B100 ยังคงเดิม สุดท้ายแล้วมีการลดปริมาณหรือมีการจำกัดโควต้าของคู่ค้าด้วย และไปเพิ่มโควตาให้กับ GGC สร้างความไม่พอใจ ให้กับสมาคมผู้ผลิตไบโอดีเซลไทย ซึ่งประกอบไปด้วย บริษัทผู้ผลิตไบโอดีเซลมากกว่า 10 บริษัทเป็นอย่างมาก

และการขายน้ำมัน B100 ในราคาขาดทุนถึงลิตรละ 3 บาท มีการนำเรื่องเข้าบอร์ด GGC หรือไม่ ประธานบอร์ด GGC รู้เรื่องนี้หรือไม่ หรือปล่อยให้มีการขายขาดทุนเหมือนในอดีตที่ผ่านมา การยินยอมให้คนอื่น หรือองค์กรอื่นสั่งการข้ามหัว มีการสมรู้ร่วมคิดกันหรือไม่ ต้องสอบสวน ทั้ง GGC และ PTTOR

การกระทำดังกล่าวเป็นการขัดกับหลักธรรมาภิบาล และถือว่า เป็นการสมยอม หรือ ฮั้วราคากันหรือไม่ เหตุใดผู้บริหารองค์กรหนึ่งถึงมีอำนาจครอบงำ หรือ สั่งการผู้บริหารอีกองค์กรหนึ่งได้ เข้าข่ายผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 หรือไม่ 

ขอให้ประธานบอร์ด ปตท.และ PTTOR ตรวจสอบโดยด่วน ว่ามีการฮั้วราคากันจริงหรือไม่ หาก GGC มีหนังสือถึง PTTOR จริง และลดราคาขายในอัตราลิตรละ 3 บาทจริง น้ำมัน B100 จำนวน 24 ล้านลิตร GGC จะขาดทุนไปเท่าใด กี่ร้อยล้านบาท และ PTT.OR จะฟันกำไรไปเท่าไหร่ ส่วนต่างกำไรตกเป็นของใครบ้าง ขอให้ตรวจสอบโดยด่วน

เรื่องที่สอง ปตท. ร่วมกับ GGC จ่ายเงินโดยที่ไม่มีการส่งสินค้า ระหว่างเดือนมีนาคม 2561 ถึงเดือนพฤษภาคม 2561 บริษัท GGC ซื้อน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) จาก บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) หรือ PTT TRADING โดยที่ปตท.ได้ซื้อ CPO จากบริษัท โอพีจีเทค จำกัด (OPG) แล้วให้บริษัท โอพีจีเทค จำกัด กลั่นแล้วส่งมอบให้กับ GGC 

โดยมีเงื่อนไขการจ่ายเงินคือ GGC จะจ่ายเงินให้กับ ปตท.ก็ต่อ เมื่อ บริษัท โอพีจีเทค จำกัด ได้กลั่นน้ำมัน และได้ส่งมอบน้ำมันดังกล่าวให้กับ GGC เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดย GGC จะออกหนังสือยืนยันการรับน้ำมันจาก บริษัท โอพีจีเทค จำกัด แล้วจ่ายเงินให้กับ ปตท.ต่อไป 

หลังจากที่ ปตท.ได้รับเงินจาก GGC แล้ว ปตท.ก็จะจ่ายเงินให้กับบริษัท โอพีจีเทค จำกัด หรือสถาบันการเงินที่ บริษัท โอพีจีเทค จำกัด ได้ทำสัญญาแฟคตอริ่ง (Factoring) หรือสัญญาซื้อขายลูกหนี้ทางการค้า ปรากฏว่า ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว บริษัท โอพีจีเทค จำกัด ไม่มีน้ำมันมาส่งให้กับ GGC ไม่มีการส่งมอบน้ำมันให้แก่ GGC แต่อย่างใด 

ปรากฏว่า GGC กับ ปตท.(เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ PTT TRADING) ได้จ่ายเงินให้กับ บริษัท โอพีจีเทค จำกัด หรือ สถาบันการเงินที่ บริษัท โอพีจีเทค จำกัด ได้ทำสัญญาแฟคตอริ่ง (Factoring) หรือสัญญาซื้อขายลูกหนี้ทางการค้า เป็นเงินจำนวนกว่า 200 ล้านบาท ทั้งที่ไม่มีการส่งมอบน้ำมันปาล์ม 

ที่สำคัญ GGC ยังไม่ได้รับสินค้าจาก บริษัท โอพีจีเทค จำกัด และ GGC ยังไม่ได้จ่ายค่าสินค้าให้กับปตท.แต่ PTT TRADING กลับจ่ายเงินให้กับ บริษัท โอพีจีเทค จำกัด หรือ สถาบันการเงินที่ บริษัท โอพีจีเทค จำกัด ได้ทำสัญญาแฟคตอริ่ง (Factoring) เป็นเงินมากถึง 200 ล้านบาท 

การกระทำดังกล่าวเป็นการสมรู้ร่วมคิดกันระหว่าง GGC กับ ปตท.(เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ PTT TRADING OPG ) ในการฉ้อโกง ปตท. ทำให้ ปตท. ได้รับความเสียหาย และอาจเข้าข่ายเข้าข่ายเป็นการฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญาหรือไม่

อันมีลักษณะเป็นปกติธุระ อันเป็นความผิดมูลฐาน ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3(18) โดยมีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องคือ ผู้บริหาร GGC และเจ้าหน้าที่ปตท. ที่รับผิดชอบ PTT TRADING ในขณะนั้นเกี่ยวข้องหรือไม่

เรื่องที่สาม ผู้บริหารของ บริษัท ไทยโอลีโอเคมี จากัด (TOL) (บริษัท GGC ก่อนเข้าตลาดหลักทรัพย์ ) ร่วมกันกระทำความผิด กับ บริษัทเอกชน และร่วมกันปกปิดการกระทำความผิด (ระหว่างปี 2550 – 2552) ปรากฏหลักฐานรายงาน/บันทึกข้อความเรื่อง การจัดซื้อวัตถุดิบ และการขายผลิตภัณฑ์ในปี 2550 – 3 มีนาคม 2552 ของบริษัท ปตท.เคมิคอล จากัด (มหาชน) ลงวันที่ 5 พฤษภาคม 2552 มีผลขาดทุนจากการซื้อวัตถุดิบที่มีราคาสูงกว่าราคาประกาศกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ 172 ล้านบาท มีการขายผลิตภัณฑ์ที่มีราคาขายต่ากว่าราคาตลาดประมาณ 142 ล้านบาท รวมผลขาดทุนประมาณ 314 ล้านบาท

ปรากฏ ผลการสอบสวนข้อเท็จจริงและความเสียหายที่เกิดขึ้น ของ บริษัท ไทยโอลิโอเคมี จากัด เบื้องต้น ลงวันที่ 31 มีนาคม 2552 ตามคำสั่งให้มีการสอบสวนโดยประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยโอลีโอเคมี จากัด (TOL) ในสมัยนั้น สรุปได้ว่า มีการการร่วมกันทุจริตและคอร์รับชันในการจัดซื้อน้ามันปาส์มดิบ (CPO) 

ปรากฏความผิดชัดเจนว่า มีการทุจริตซื้อวัตถุดิบที่มีราคาสูงกว่าราคาประกาศกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ และขายผลิตภัณฑ์ที่มีราคาขายต่ำกว่าราคาตลาด เป็นการเอื้อผลประโยชน์ให้กับกลุ่มเอกชนทำให้ บริษัท ไทยโอลีโอเคมี จากัด (TOL) ได้รับความเสียหาย เป็นเงินสูงถึง 314 ล้านบาท แต่มีการปกปิดละเว้นไม่ดำเนินคดีกับผู้บริหาร และบริษัทเอกชนผู้ที่เกี่ยวข้อง ต่อมามีการกระทำความผิดในลักษณะเช่นนี้อีกหลายครั้งหลายหน

หลังจากที่มีคณะผู้บริหารชุดใหม่มาแทนผู้บริหารเดิม ที่ลาออกในเดือนมิถุนายน 2561 ในช่วงระยะเวลาปลายปี 2561 – 2563 มีการกระทำความผิดลักษณะเดียวกันกับ ปี 2550 – 2552 ซึ่งผู้บริหารของ GGC กับบริษัทเอกชน เป็นกลุ่มเดียวกันที่เคยทำผิด เมื่อปี 2550 – 2552 เป็นการร่วมกับ บริษัทเอกชนร่วมกันทุจริต หรือ ร่วมกันฉ้อโกงบริษัท ผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 และพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 3 (18) กระทำผิดฐานฉ้อโกงอันมีลักษณะเป็นปกติธุระ หรือไม่

นายสยามราช กล่าวว่า มีการกระทำในลักษณะเช่นนี้ ที่เอื้อประโยชน์ให้กับ GGC อีกหลายครั้งหลายหน กลุ่มผู้ถือหุ้นที่รักในความยุติธรรมรวบรวมพยานหลักฐาน และเข้าร้องทุกข์กล่าวโทษกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วแต่เรื่องเงียบหายไป จึงมาร้องประธานบอร์ด ปตท. และ PTTOR ให้ตั้งกรรมการตรวจสอบ และขอให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป

“เพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์กร ที่ยึดหลักธรรมาภิบาลเป็นที่ตั้ง และเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ผมพร้อมชนและต่อสู้กับนายทุน และผู้มีอิทธิพลในวงการพลังงานทุกรูปแบบ รวมถึงกล้าที่จะให้ข้อมูลความจริงเพื่อเปิดโปงผู้ที่อยู่เบื้องหลัง และคอยช่วยเหลือผู้กระทำความผิด โดยไม่เกรงกลัวอิทธิพลและอำนาจมืดใดๆ” นายสยามราช ระบุ