อุณหภูมิการเมืองไทยวันนี้ทวีความร้อนแรงขึ้นเป็นลำดับ ทุกสายตาต่างจับจ้องรอลุ้นผล
ศาลรัฐธรรมนูญนัดฟังคำวินิจฉัยวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่า สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2565 เนื่องจากครบวาระ 8 ปีตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสอง และมาตรา 158 วรรคสี่ หรือไม่ ในวันที่ 30 กันยายนนี้ซึ่งผลจากคำวินิจฉัยในวันนั้นจะไม่ใช่แค่ชี้ชะตาอนาคตทางการเมืองของ พล.อ.ประยุทธ์ เท่านั้นแต่อาจกำหนดทิศทางการเมืองไทยนับจากนั้นด้วย
คนใกล้ชิดของ พล.อ.ประยุทธ์ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า หากพล.อ.ประยุทธ์ หลุดบ่วงจากเรื่องนี้ ภารกิจสำคัญนอกจากเร่งรัดออกกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ส. และพรรคการเมืองต่าง ๆ แล้ว อีกเรื่องที่สำคัญ คือ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) หรือ เอเปก 2022 (APEC 2022)ช่วงปลายปี จากนั้นก็จะมีการยุบสภา
ด้านแหล่งข่าวจาก คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดเผยว่า ในส่วนของกกต.นั้นเตรียมแผนการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ไว้รองรับสถานการณ์ทางการเมืองไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1.ร่างแผนการจัดการเลือกตั้ง ส.ส. กรณียุบสภา
วันที่มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร
ภายใน 5 วันนับแต่วันยุบสภา
- กกต.ประกาศกำหนดวันเลือกตั้ง (ม.12)
- กกต.ประกาศกำหนดวันรับสมัคร (ม.12)
ภายใน 5-25 วันนับแต่วันยุบสภา
- วันรับสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. (ม.12)
ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 25 วัน
- วันสุดท้ายประกาศกำหนดหน่วยเลือกตั้ง/ที่เลือกตั้ง (ม.30)
- วันสุดท้ายประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ม.36)
ภายใน 7 วันนับแต่วันปิดรับสมัคร
- ประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัคร ส.ส. (ม.46)
ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 20 วัน
- วันสุดท้ายส่งหนังสือแจ้งเจ้าบ้าน (ม.36)
- สรรหา/แต่งตั้งคกก.ประจำหน่วยเลือกตั้ง (ม.19)
ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10 วัน
- วันสุดท้ายเปลี่ยนแปลงหน่วยเลือกตั้ง/ที่เลือกตั้ง (ม.30)
- วันสุดท้ายเพิ่มชื่อ-ถอนชื่อ (ม.37, ม.38)
7 ก่อนวันเลือกตั้ง
- แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง (ม.33)
ภายใน 7 วันนับแต่วันประกาศรายชื่อ
- วันสุดท้ายยื่นคำร้องเกี่ยวกับสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง (ม.49, ม.51)
ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 3 วัน
- วันสุดท้ายศาลฎีกาพิจารณาสิทธิสมัคร กรณีผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งไม่รับสมัคร (ม.49)
ก่อนวันเลือกตั้ง
- วันสุดท้ายผอ.ประจำเขตเลือกตั้งยื่นคำร้องศาลฎีกากรณีผู้สมัครขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม (ม.52)
ไม่เกิน 60 วันนับแต่วันยุบสภา
- วันที่คาดว่าเป็น วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เป็นการเลือกตั้งทั่วไป
7 วันนับแต่วันเลือกตั้ง
- แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง (ม.33 )
2. ร่างแผนการจัดการเลือกตั้งกรณีส.ส.อยู่ครบวาระ
เดือนมีนาคม 2566
23 มี.ค.66
- วันที่อายุของ ส.ส.สิ้นสุดลง
30 มี.ค.66
- วันสุดท้ายที่คาดว่าพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.มีผลบังคับใช้
31 มี.ค.66
- คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศกำหนดวันเลือกตั้ง (ม.12 )
- กกต.ประกาศกำหนดวันรับสมัคร (ม.12 )
เดือนเมษายน 2566
3-7 เม.ย.66
- วันรับสมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ม.12 )
11 เม.ย.66
- วันสุดท้ายประกาศกำหนดหน่วยเลือกตั้ง/ที่เลือกตั้ง (ม.30 )
- วันสุดท้ายประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ม.36 )
14 เม.ย.66
- ประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ม.46)
16 เม.ย.66
- วันสุดท้ายส่งหนังสือแจ้งเจ้าบ้าน (ม.36)
- สรรหา/ แต่งตั้งคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง (ม.19)
26 เม.ย.66
- วันสุดท้ายเปลี่ยนแปลงหน่วยเลือกตั้ง/ที่เลือกตั้ง (ม.30 )
- วันสุดท้ายเพิ่มชื่อ -ถอนชื่อ (ม.37, ม.38)
30 เม.ย.66
- วันลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตเลือกตั้ง/นอกเขตเลือกตั้ง
- แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง (ม.33 )
เดือนพฤษภาคม 2566
1-6 พ.ค.66
- แจ้งเหตุไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ( ม.33)
1 พ.ค.66
- วันสุดท้ายยื่นคำร้องเกี่ยวกับสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง (ม.49, ม.51)
3 พ.ค.66
- วันสุดท้ายศาลฎีกาพิจารณาสิทธิสมัคร กรณีผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งไม่รับสมัคร (ม.49)
6 พ.ค.66
- วันสุดท้ายผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งยื่นคำร้องศาลฎีกา กรณีผู้สมัครขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม (ม.52)
7 พ.ค.66
- วันที่คาดว่าเป็น "วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร" (ส.ส.) เป็นการเลือกตั้งทั่วไป
8-14 พ.ค.66
- แจ้งเหตุไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง (ม.33)