เปิดเอกสารยื่น ป.ป.ช.สอบ “ศักดิ์สยาม”ผิดจริยธรรมร้ายแรง ปม “เขากระโดง”

15 ก.ย. 2565 | 12:36 น.
อัปเดตล่าสุด :15 ก.ย. 2565 | 19:57 น.

เปิดเอกสารที่ พรรคร่วมฝ่ายค้าน ยื่อขอให้ ป.ป.ช. ไต่สวน “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” กรณีผิดจริยธรรมร้ายแรง ปมครอบครองที่ดินเขากระโดง

ยังคงเป็นประเด็นที่ต้องจับตา กรณี ตัวแทนพรรคร่วมฝ่ายค้าน ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล พรรคประชาชาติ พรรคเสรีรวมไทย และพรรคเพื่อชาติ ยื่นเอกสารร้องเรียนต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ขอให้ไต่สวนนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย 

 

กรณี ข้อเท็จจริงและดำเนินการด้านจริยธรรมกับนายศักดิ์สยาม ในฐานะที่กำกับดูแลการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวหาว่า ปล่อยปละละเลยไม่เร่งรัดสั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทยที่ตนเองกำกับดูแล ให้เร่งดำเนินการฟ้องร้องเรียกคืนและเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ออกทับที่ดินของการรถไฟ บริเวณเขากระโดง ต.อิสาณ อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ จากผู้บุกรุกที่ดินการรถไฟเพื่อให้กลับมาเป็นของการรถไฟโดยเร็ว

 

โดยมีมูลเหตุจูงใจจากที่นายศักดิ์สยาม รวมถึงเครือญาติยังคงถือครองที่ดินดังกล่าวในการใช้เป็นสถานที่ประกอบธุรกิจอยู่ และต้องการครอบครองที่ดินนั้นไว้ต่อไปให้นานที่สุด โดยขอให้ ป.ป.ช .ส่งเรื่องไปยังศาลฎีกา 

 

เเละปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต ยึดถือ ครอบครองที่ดินรัฐโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายกรณีการครอบครองที่ดินบริเวณเขากระโดง อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์

เมื่อตรวจสอบเอกสารจำนวน 7 หน้า พบประเด็นสำคัญสรุปได้ดังต่อไปนี้

 

  • กรณียึดถือครอบครองที่ดินของรัฐกรณีการครอบครองที่ดินบริเวณเขากระโดง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 5,083 ไร่ เป็นที่ดินที่อยู่ในแนวเขตตามประกาศราชกฤษฎีกากำหนดเขตสร้างทางรถไฟหลวง

 

  • 9 พฤศจิกายน 2513 ได้เกิดข้อพิพาทระหว่างนายชัย ชิดชอบ บิดาของนายศักดิ์สยาม กับประชาชนผู้บุกรุกที่ดินบริเวณเขากระโดง นายชัย ยอมรับว่าที่ดินที่ครอบครองเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย และทำหนังสือขออาศัยและได้มีการนำที่ดินที่ครอบครองไปขอออกโฉนดที่ดิน และโอนให้ภริยาของตน และที่ดินได้โอนขายให้บริษัท ศาลาชัยบุรีรัมภ์ (1991) จำกัด

 

  • เมื่อปี 2539 จังหวัดบุรีรัมภ์มีหนังสือ ส่งปัญหาข้อพิพาทให้คณะกรรมการกฎษีกาวินิจฉัยและมีความเห็นเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน โดยมีความเห็นเมื่อปี 2541 ว่าที่ดินที่ประชาชนครอบครองบริเวณเขากระโดง เป็นที่ดินของการรถไฟ และได้รับการคุ้มครอง

 

  • ปี 2554 ข้อเท็จจริงนในรายงานและสำนวนไต่สวนของ ป.ป.ช. กรณีกล่าวหาผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ ไม่ดำเนินการกับผู้บุกรุก กรณีนายชัย ขอออกโฉนด และภริยาถือกรรมสิทธิ์ ออกทับที่ดินของการรถไฟฯ โดย ป.ป.ช. มีมติวินิฉย ว่าที่ดินเลขที่ 3466 และ 8564 ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมภ์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการออกโฉนดโดยมิชอบ จึงมีหนังสือลับถึงผู้ว่าการรถไฟฯ ให้ดำเนินคดีกับผู้บุกรุก  และได้มีประชาชนที่อาศัยบริเวรณเขากระโดง 35 คน ยื่นฟ้องการรภไฟและกรมที่ดิน ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าที่ดินเป็นของที่ดินการรถไฟฯ พิพากษายกฟ้อง

 

  • ปี 2560 ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืนและศาลฎีกาพิพากษา ว่าที่ดินที่โจทก์ทั้ง 35 คน ครอบครองเป็นของการรถไฟและทางหลวง

 

  • ปี 2561 ศาลฎีกาพิพากษา คดีที่นายศุภวัฒน์ เกษมสุทธิ์ ฟ้องการรถไฟฯ และนายสมศักดิ์ คริบรัมย์ คดีที่นายสมศักดิ์ ค้านการรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดินของหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ในตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ศาลฎีกาพิพากษาว่าที่ดินแปลงนั้นบางส่วนเป็นที่ดินรถไฟ

 

  • ปี 2563 ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษาในคดีที่การรถไฟฯ พ้องนายวิรัตน์ วงศ์พัฒน์ชัย กับพวก ขอให้ขับไล่ ละเมิด เพิกถอนโฉนด ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งศาลพิพากษาตามศาลชั้นต้น ให้เพิกถินที่ดิน 3 แปลง และส่งมอบที่ดินคืนการรถไฟ

 

  • ปรากฎว่านายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ได้ปลูกสร้างบ้านพักอาศัยในตำบลอิสาณ ซึ่งใช้เป็นที่ตั้งบริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ (1991) จำกัด และห้างหุ้นส่วนจำกัด บุรีคอนสตรัคชั่น แม้ต่อมาจะทำการย้ายไปแต่ที่ตั้งทั้งสองกิจการและที่ดินที่นายศักดิ์สยาม ถือครอง ยังอยู่บนที่ดินเขากระโดง ซึ่งเป็นของการรถไฟฯ และยังมีเครือญาติของตน และนิติบุคคลที่เครือญาติเป็นกรรมการและผู้ถือหุ้น ได้ถือครองที่ดินและใช้ที่ดินเขากระโงประกอบกิจการต่างๆ รวม 12 แปลง กรือประมาณ 179 ไร่ 1 งาน 43.3 ตารางวา

 

พฤติการณ์นายนายศักดิ์สยามที่ถูกระบุไว้ในเอกสารที่ยื่นต่อ ป.ป.ช. นั้น สรุปได้ดังนี้ 

 

  • ข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินเขากระโดงเป็นของการรถไฟฯ ตามความเห็นของคะณกฎีกา ตามมติของ ป.ป.ช.ตามคำพิพากษาศษลอุทธรณ์ ภาค 3 และศาลฎีกา เกิดขึ้นก่อนที่นายศักดิ์สยาม จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคมนาคม และระหว่างที่ดำรงตำแหน่ง มีหน้าที่และอำนาจกำกับดูแลการรถไฟฯ ย่อมข้อเท็จจริงจึงต้องสั่งเร่งรัด กำชับ หรือมอบหมายให้การรถไฟฯ ฟ้องผู้บุกรุกที่ดินเขากระโดง แต่การที่ไม่ดำเนินการเพราะนายศักดิ์สยาม ทราบดีว่าหากสั่งการ ตนเองและเครือญาติรวมถึงกิจการจะถูกฟ้องร้องดำเนินคดี ปล่อยปละละเลยไม่สั่งการ และยินยอมให้การรถไฟฯ ฟ้องต่อศาลปกครองกลางกับกรมที่ดินและอธิบดีกรมที่ดินในข้อหาละเมืดที่ออกโฉนดบนที่ดินเขากระโดง จึงส่อว่านายศักดิ์สยาม เจตนาที่จะหน่วงเวลาการเรียกคืนที่ดินให้การรถไฟฯ พฤติการณ์จึงเข้าข่ายละเว้นการปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่การรถไฟฯ ที่เสียโอกาสได้ที่ดินคืน หรือเป็นการปฎิบัติ หรือละเว้นการปฎิบัติหน้าที่โดนสุริตเพื่อเอื้อประโยชน์ให้ตนเองและเครือญาติได้ใช้ประโยชน์บนที่ดินดังกล่าว ไม่ต้องถูกการรถไฟฟ้องร้องเรียกคืน ซึ่งเข้าข่ายมาตรา 157     

 

  • นายศักดิ์สยาม ย่อมต้องรู้ดีว่า ป.ป.ช.ได้เคยเเต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จริงเเละมีมติในการออกโฉนดที่ดินเลขที่ 3466 เเละ 8564 โดยมิชอบ เพราะทั้ง 2 แปลง มีนายชัย ชิดชอบ บิดา เเละนายประพันธ์ สมานประธาน เป็นผู้ขอออกโฉนด เเละนางกรุณา ชิดชอบ ได้ซื้อที่ดินโฉนดที่ 8564 ในเวลาต่อมา ส่วนโฉนดที่ 3466 ได้โอนให้นางละออง ชิดชอบ มารดานายศักดิ์สยาม ซึ่ง ป.ป.ช. ได้มีมติว่าการออกโฉนดทั้ง 2 เเปลง เป็นการออกโฉนดที่ดินการรถไฟฯ ซึ่งเป็นที่ดินสงวน จึงเป็นการออกโฉนดโดยมิชอบ ให้เเจ้งกรมที่ดินเพิกถอนที่ดินทั้ง 2 แปลง 

 

  • ป.ป.ช.ยังมีมติ ให้เเจ้งการรถไฟฯ ดำเนินคดีกับผู้บุกรุกที่ดิน เมื่อนายศักดิ์สยาม เข้ารับตำเเหน่ง เเต่กลับเพิกเฉย รู้เห็น ยินยอม ให้การรถไฟไปฟ้องกรมที่ดิน เเทนที่จะฟ้องผู้ครอบครองเเละบุรุกที่ดิน ต่อศาลยุติธรรม

 

  • นอกจากนี้ยังพบว่า การรถไฟฯ ไม่ได้ส่งผู้เเทนเข้าร่วมดำเนินการกับกรมที่ดินในการรังวัดตรวจสอบเเนวเขตที่ดินของการรถไฟ เพื่อร่วมแก้ปัญหาที่ดินทับซ้อน ของการรถไฟฯ จึงทำให้การเพิกถอนเอกสารสิทธิ์เขากระโดง ล่าช้าไปมาก นายศักดิ์สยาม ไม่ใส่ใจการดำเนินเพราะตนเองเเละครอบครัวยึดถือครองที่ดินเขากระโดงอยู่ด้วย