ภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปี 2566 ปิดยอดขายในประเทศไป 775,780 คัน หรือลดลง 9% เมื่อเทียบกับปี 2565 โดยเซกเมนต์ที่หดตัวคือกลุ่มรถเพื่อการพาณิชย์ ที่มียอดขาย 483,275 คัน ลดลง 17 % อย่างไรก็ตามในกลุ่มรถยนต์นั่ง มียอดขายรวม 292,505 คัน เพิ่มขึ้น 10 %
สำหรับยอดขายรถยนต์ที่ชะลอตัวลงในปีนี้ผ่านมา ปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากภาพรวมเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ หนี้ครัวเรือนที่ยังสูง และสถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่ในระดับสูง
เมื่อมาดูยอดขายรถยนต์แบรนด์ต่างๆในปีที่ผ่านมา 5 อันดับแรกยังคงเป็นเหล่าผู้เล่นในตลาดที่อยู่มานานอย่าง โตโยต้า อีซูซุ ฮอนด้า ฟอร์ด มิตซูบิชิ ส่วนอันดับ 6 ของตลาดตกเป็นของแบรนด์จีน บีวายดี ที่ดันยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าเติบโตแบบก้าวกระโดด ทั้งนี้สามารถตรวจสอบ 10 อันดับแบรนด์รถยนต์ที่ขายดีที่สุดในประเทศไทยได้ดังนี้
ส่วนทิศทางตลาดรถยนต์ในปี 2567 จะไปในทิศทางไหน จะเติบโตหรือไม่ มีปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยบวกอะไรที่มีผลกับตลาดบ้าง สามารถตรวจสอบได้ที่นี่
โตโยต้า เผยถึงแนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปี 2567 คาดว่าจะยังคงอยู่ในสภาวะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปพร้อมๆ กับการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจ โดยมีปัจจัยรอบด้านที่จะส่งผลกระทบ อาทิ การเติบโตของการบริโภคภาคเอกชนจากการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวและการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น นโยบายของภาครัฐที่จะสนับสนุนการใช้จ่ายให้เร่งตัวขึ้น การขยายตัวของการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมภายในประเทศและโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการผลักดันมาตรการสนับสนุนการลงทุนผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ
ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง คือสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่จะส่งผลในด้านการส่งออก ตลอดจนสถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่ยังคงสูง และทิศทางของนโยบายอัตราดอกเบี้ย โดยโตโยต้า คาดการณ์ว่ายอดขายรถยนต์ในปี 2567 จะอยู่ที่ 800,000 คัน หรือเพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ขณะที่ยอดขายของโตโยต้าในปี 2567 ตั้งเป้ายอดขายอยู่ที่ 277,000 คัน หรือเพิ่มขึ้น 4% ส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 34.6%
นายวัลลภ ตรีฤกษ์งาม รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ในปี 2567 ด้วยแนวโน้มของสถานการณ์เศรษฐกิจที่เริ่มกลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติ ตลาดรถยนต์น่าจะกลับมามีการเติบโตขึ้นอีกครั้ง คาดการณ์ว่าตัวเลขยอดขายรวมของทั้งตลาดจะมีตัวเลขอยู่ประมาณ 800,000 คัน สำหรับซูซูกิ ตั้งเป้ายอดขายในปี 2567 รวมจำนวน 12,000 คัน
นาย ทาดาชิ มิอุระ ประธานบริหาร บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยได้แรงหนุนจากภาวะเศรษฐกิจไทยที่คาดว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง รวมถึงภาคการท่องเที่ยวที่เริ่มกลับมาคึกคัก ส่วนกำลังซื้อของผู้บริโภคมีแนวโน้มเติบโตดีขึ้น กลับมาใกล้เคียงกับช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19
"มาสด้าเชื่อว่าในปีนี้จะเป็นปีที่ท้ายทายยิ่งขึ้น การแข่งขันของตลาดรถยนต์ในประเทศจะทวีความร้อนแรง การเข้ามาลงทุนจากนักธุรกิจต่างประเทศ ผลักดันให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจและเกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น ค่าครองชีพสูงขึ้นจากการปรับอัตราค่าแรง "
โดยมาสด้า คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมรถยนต์โดยรวมจะอยู่ที่ประมาณ 750,000 – 800,000 คัน หรือใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ในส่วนของมาสด้าคาดว่าจะเติบโตเช่นเดียวกัน เนื่องจากฐานลูกค้าที่เข้ามารับบริการที่ศูนย์บริการเพิ่มขึ้นช่วยเพิ่มโอกาสในการขายรถใหม่มากขึ้น
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ในปี 2567 ได้ประมาณการยอดผลิตรถยนต์ในประเทศจำนวน 1,900,000 คัน เพิ่มขึ้น 3.17 % เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่ผลิตได้ 1,841,663 คัน โดยแบ่งออกเป็น ผลิตเพื่อการส่งออกประมาณ 1,150,000 คัน และผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณ 750,000 คัน
ปัจจัยบวก
ปัจจัยลบ
ปัจจัยบวก
ปัจจัยลบ