แพทย์จุฬาฯ ผนึกกำลัง ส่งต่อการรักษา "โรคหลอดเลือดสมอง" ผ่านแพลตฟอร์ม

12 ธ.ค. 2567 | 04:50 น.

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จับมือ "เบอริงเกอร์ อินเกลไฮม์" ยกระดับการดูแลรักษาโรคหลอดเลือดสมองในทุกมิติ ผ่านแพลตฟอร์ม MDCU MedUMORE ส่งต่อองค์ความรู้ลดอัตราการเสียชีวิตของคนไทย

รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปัจจุบันนวัตกรรมและองค์ความรู้ทางการแพทย์พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว บริษัท เบอริงเกอร์ อินเกลไฮม์ (ไทย) จำกัด ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในโครงการ ‘Chula Stroke Academy: The Stroke Excellence สโตรค โรคหลอดเลือดสมอง รู้ เร็ว รอด’เพื่อยกระดับคุณภาพการดูแลและรักษาโรคหลอดเลือดสมอง ผ่านการส่งเสริมและแบ่งปันองค์ความรู้ ด้วยแพทย์ออนไลน์ (E-Learning Platform) บนแพลตฟอร์ม MDCU MedUMORE  

แพทย์จุฬาฯ ผนึกกำลัง ส่งต่อการรักษา \"โรคหลอดเลือดสมอง\" ผ่านแพลตฟอร์ม

โดยครอบคลุมการดูแลรักษาโรคหลอดเลือดสมองในทุกมิติ ทั้งการรักษาแบบการให้ยาละลายลิ่มเลือด (Thrombolytic Management) การทำหัตถการผ่านสายสวนหลอดเลือดสมอง (Endovascular Thrombectomy) ฯลฯ รวมไปถึงการเพิ่มการเข้าถึงแพลตฟอร์มในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์

“คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัย มุ่งมั่นที่จะเป็นสถาบันต้นแบบการแพทย์มาตรฐานที่ขับเคลื่อนการเรียนรู้ในบริบท Lifelong Learning การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้อย่างไม่จำกัด ผ่านการสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมการเรียนรู้ทางการแพทย์ เพื่อแบ่งปันความรู้ในการดูแลและรักษาโรคฯ ให้แก่กลุ่มบุคคลากรทางการแพทย์ ซึ่จะมีส่วนสำคัญในการช่วยพัฒนาผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรด้านการแพทย์ที่มีความหลากหลาย และมีส่วนสำคัญในการให้บริการทางการแพทย์ขั้นสูง เพื่อยกระดับการรักษาโรคหลอดเลือดสมองให้มีความแม่นยำ ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพมากที่สุด” 

นายริคาร์เต้ เซลวานเดส ริเวร่า ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เบอริงเกอร์ อินเกลไฮม์ (ไทย) จำกัด กล่าวว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็นภัยด้านสุขภาพใกล้ตัวที่ไม่อาจมองข้ามได้ และเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของคนไทย ในปี 2567 พบว่าในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองไปแล้วกว่า 3.9 หมื่นราย และมียอดผู้ป่วยสะสมราว 3.5 แสนราย 

แพทย์จุฬาฯ ผนึกกำลัง ส่งต่อการรักษา \"โรคหลอดเลือดสมอง\" ผ่านแพลตฟอร์ม

ฉะนั้นการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย ผ่านการส่งต่อองค์ความรู้ด้านการแพทย์ที่ขับเคลื่อนผ่านการวิจัยและค้นคว้าวิธีการรักษาแบบก้าวหน้า โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดสมอง ภัยร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยก่อนวัยอันควรเป็นอันดับ 2 เบอริงเกอร์ฯ กับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้โครงการ ‘Chula Stroke Academy: The Stroke Excellence สโตรค โรคหลอดเลือดสมอง รู้ เร็ว รอด’  ที่จะเป็นกุญแจสำคัญในการร่วมแบ่งปันองค์ความรู้ที่ครบทุกมิติ ช่วยเพิ่มการเข้าถึงในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ตลอดระยะเวลา 2 ปีของความร่วมมือ จะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนไทยอย่างยั่งยืน

ด้าน ศ.พญ. นิจศรี ชาญณรงค์ รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า แพลตฟอร์ม MDCU MedUMORE ถือเป็นการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการศึกษาแพทย์สู่มิติใหม่ที่มีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์การพัฒนาบัณฑิตแพทย์ยุคใหม่ได้มากยิ่งขึ้น โดยเชื่อว่าความร่วมมือในสร้างสรรค์หลักสูตรออนไลน์บนแพลตฟอร์มผ่านโครงการ ‘Chula Stroke Academy: The Stroke Excellence สโตรค โรคหลอดเลือดสมอง รู้ เร็ว รอด’ จะช่วยเพิ่มศักยภาพการเรียนการสอนและความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองให้เข้าถึงง่ายมากยิ่งขึ้น ตอบโจทย์และสอดรับกับโลกแห่งการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

แพทย์จุฬาฯ ผนึกกำลัง ส่งต่อการรักษา \"โรคหลอดเลือดสมอง\" ผ่านแพลตฟอร์ม

รศ.(พิเศษ) พญ.อรอุมา ชุติเนตร หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ด้านโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า การออกแบบหลักสูตรภายใต้โครงการ ‘Chula Stroke Academy: The Stroke Excellence สโตรค โรคหลอดเลือดสมอง รู้ เร็ว รอด’ ครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองในทุกแง่มุม

ตั้งแต่การสร้างการตระหนักในผู้ป่วยเกี่ยวกับสัญญาณ และอาการของโรคหลอดเลือดสมอง ไปจนถึงวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการพัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้บุคคลกรทางการแพทย์ได้เรียนรู้โรคหลอดเลือดสมองได้ง่าย และรับมือกับผู้ป่วยโรคนี้ได้ไวอย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ การรักษาโรคสมองขาดเลือดด้วยยาละลายลิ่มเลือด (Thrombolytic Treatment) ในโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute Ischemic Stroke)

แพทย์จุฬาฯ ผนึกกำลัง ส่งต่อการรักษา \"โรคหลอดเลือดสมอง\" ผ่านแพลตฟอร์ม

ภาวะเลือดออกในเนื้อสมอง (Intracerebral hemorrhage) การทำหัตถการผ่านสายสวนหลอดเลือดสมอง (Endovascular Thrombectomy) การเชื่อมโยงการรักษาและเป้าหมายในอนาคต การดูแลผู้ป่วยใน Stroke Unit สำหรับโรคหลอดเลือดสมอง ระบบการส่งต่อที่ไร้รอยต่อ ตลอดจนความสำคัญของระยะเวลาจากการตัดสินใจถึงการรักษา (Door to Needle Time) ระบบดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบเร่งด่วน (Stroke Fast Track) ซึ่งรวมถึง การพัฒนาและการประเมินผล การสร้างความตระหนักในผู้ป่วยเกี่ยวกับสัญญาณ อาการ และปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง ฯลฯ