ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว คนไทยหันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้นกว่าเดิม ผลสำรวจล่าสุดจากเวอร์จิ้น แอ็คทีฟ สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มที่น่าสนใจของพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการออกกำลังกาย
นาย จูเลียน เบรา ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยและสิงคโปร์ ของ บริษัท เวอร์จิ้น แอ็คทีฟ (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่า จากผลสำรวจ เวอร์จิ้น แอ็คทีฟ พบว่าคนไทยให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพเป็นอันดับต้นถึง 78% รองลงมาทางด้านกายภาพ และทางด้านจิตใจ 77%
นอกจากนี้ยังระบุอีกว่า 71% คนไทยให้ความสำคัญกับการดูร่างกายผ่านการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และการนอนหลับพักผ่อน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความตระหนักรู้ของคนไทยในปัจจุบันที่เข้าใจว่าสุขภาพที่ดีไม่ได้ขึ้นอยู่กับการออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว แต่การดูแลสุขภาพจากภายในโดยการเลือกทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน
1.อินฟลูเอนเซอร์และโซเชียลมีเดีย 50% ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่าพวกเขาได้รับแรงบันดาลใจจากอินฟลูเอนเซอร์หรือจากโซเชียลมีเดีย
2.เพื่อนและครอบครัว 43% ได้รับแรงบันดาลใจจากเพื่อนหรือคนในครอบครัว
3.เว็บไซต์หรือบล็อก 41% มาจากการค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์หรือบล็อก
4.ผู้เชี่ยวชาญ มีเพียง 33% ที่สอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสุขภาพ
จะเห็นได้ว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังขาดความมั่นใจในข้อมูลด้านสุขภาพที่ได้รับ และยังไม่สามารถแยกแยะข้อมูลที่ถูกต้องได้
นาย จูเลียน กล่าวต่อว่า คนไทยหันมาให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายแบบส่วนตัวมากขึ้น โดยเลือกออกกำลังกายที่บ้าน สวนสาธารณะ หรือสถานที่ตามธรรมชาติ 16% ของคนไทยค้นหาข้อมูลสุขภาพจากแหล่งต่างๆ แต่ไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลได้ และ76% ของคนไทยรู้สึกว่าการแยกแยะข้อมูลสุขภาพที่ถูกต้องเป็นเรื่องยาก
จากการสำรวจของเวอร์จิ้น แอ็คทีฟ พบว่าพฤติกรรมการออกกำลังกายของคนไทยในปี 2568 มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด โดยมีแนวโน้มที่ผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายแบบส่วนตัวมากขึ้น และเลือกกิจกรรมที่ตนเองเพลิดเพลิน เช่น การออกกำลังกายที่บ้าน สวนสาธารณะ หรือธรรมชาติ
แม้ว่าคนไทยส่วนใหญ่ จะให้ความสำคัญกับการหาข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ แต่ก็ยังขาดความมั่นใจในความถูกต้องและประสิทธิผลของข้อมูลที่ได้รับ ทำให้เกิดความสับสนในการเลือกวิธีออกกำลังกายที่เหมาะสม
นอกจากนี้ผู้คนจำนวนมากยังไม่ทราบวิธีการตั้งเป้าหมายการออกกำลังกายที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ เช่น การกำหนดระยะเวลาในการบรรลุเป้าหมาย หรือการเลือกโปรแกรมออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตนเอง
โดยกลุ่มอายุ 25-54 ปี กลุ่มนี้เผชิญกับปัญหาการขาดเวลา ขาดความรู้ และความไม่มั่นใจในผลลัพธ์ ทำให้การออกกำลังกายเป็นเรื่องที่ท้าทาย ผู้บริโภคส่วนใหญ่ต้องการคำแนะนำและแนวทางในการออกกำลังกายที่ถูกต้องและปลอดภัย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านสุขภาพ
จากผลการวิจัยดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยมีความต้องการที่จะดูแลสุขภาพและมีรูปร่างที่ดี แต่ขาดข้อมูลที่ถูกต้องและคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ ทำให้การออกกำลังกายเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและซับซ้อน
ดังนั้น ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสุขภาพและการออกกำลังกายควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาโปรแกรมและบริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มนี้ โดยเน้นที่การให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน และเข้าใจง่าย รวมถึงการออกแบบโปรแกรมออกกำลังกายที่สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล