เจาะลึกไลฟ์สไตล์การทำงานแบบ 3.0 ของคน Gen Z

28 ก.พ. 2567 | 05:00 น.
584

ไลฟ์สไตล์การทำงานแบบ 3.0 ของคน Gen Z เน้นทำงานแบบอิสระ มีส่วนร่วมเเละเชื่อมโยงถึงกันได้มากขึ้น เสนออาชีพทางเลือกตามความถนัด เเละความคิดริเริ่มเพื่อค้นพบความสำเร็จในการทำงาน

ในไม่ช้า Gen Z จะแซงหน้าคนรุ่น Millennials ในฐานะคนรุ่นที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมากกว่าหนึ่งในสามของประชากรโลก Gen Z ในสหรัฐอเมริกา มีมากกว่าหนึ่งในสี่ของประชากร

ในขณะที่ Gen Z กำลังจะก้าวเข้าสู่เวทีโลก ผลกระทบของการเข้ามาของพวกเขาจะรวดเร็วและลึกซึ้ง โดยจะส่งผลกระทบไปยังสถานที่ทำงาน การบริโภคในร้านค้าปลีก เทคโนโลยี การเมือง และวัฒนธรรม คนรุ่นนี้แตกต่างจากคนรุ่นมิลเลนเนียลอย่างสิ้นเชิง มีมุมมองที่ไม่เหมือนใครเกี่ยวกับอาชีพการงาน และวิธีการกำหนดความสำเร็จในชีวิตและในการทำงาน

เพื่อให้เข้าใจถึงความท้าทายที่พนักงานที่เพิ่มขึ้น ผลกระทบที่มีต่อนายจ้างและสถานที่ทำงานได้ดีขึ้น "ฐานเศรษฐกิจ" รวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบการทำงานของกลุ่มคนรุ่นใหม่นี้

Deloitte ร่วมกับ Network of Executive Women (NEW) สำรวจแรงบันดาลใจในอาชีพ การพัฒนาอาชีพ รูปแบบการทำงาน ค่านิยมหลัก พฤติกรรมและอุปนิสัย การศึกษา และจุดยืนเกี่ยวกับความหลากหลายของ Gen Z

โดยพบว่าแม้ว่าเงินเดือนจะเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการตัดสินใจเลือกงาน แต่ Gen Z ให้ความสำคัญกับเงินเดือนน้อยกว่ารุ่นอื่นๆ บริษัทและนายจ้างจำเป็นต้องเน้นย้ำถึงความพยายามถึงความมุ่งมั่นต่อความท้าทายทางสังคมในวงกว้าง เช่น ความยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความหิวโหย

Trend 2024: REMADE ANEW ระบุว่า ในเเง่ของการทำงาน Gen Z เเละมิลเลนเนียล ถือเป็นเเกนหลักสำคัญของแนวทางการทำงานใหม่ๆในการพยายามเรียกร้องพื้นที่การทำงานที่ยึดถือคุณค่า ตั้งเเต่ ความเท่าเทียม การไม่แบ่งเเยก ความหลากหลาย เเละการสร้างสรรค์ร่วมกัน

ข้อมูลจาก WEF เปิดเผยว่า ภายในปี 2025 Gen Z ราว 27% ของกำลังแรงงาน จะต่อรองให้ธุรกิจเเผนกสรรหาบุคลากร เเละผู้จัดการ ให้ความสำคัญของการทำงานแบบใหม่ เพื่อให้คนรุ่นต่อไปที่อายุน้อยกว่ามีส่วนร่วมในการทำงาน ส่งต่อเเรงบันดาลใจ เเละเชื่อมโยงถึงกันได้มากขึ้น 

การทำงานแบบ 3.0 = การทำงานเเบบอิสระ 

ผลสำรวจจาก Mckinsey & Company บริษัทให้คำปรึกษาด้านการจัดการ ระบุว่า พนักงานต้องการความยืดหยุ่นด้านเวลาทำงานมากกว่าความยืดหยุ่นด้านสถานที่ เพราะเเนวโน้มการทำงานแบบ "Asynchronous" ที่เน้นการทำงานร่วมกัน พูดเคุยสื่อสารกัน

โดยพนักงานแต่ละคนสามารถกำหนดเวลาในการตอบโต้กับเพื่อนร่วมงานหรือลูกค้าได้ ทำให้พนักงานแต่ละคนทำหน้าที่ของตัวเองได้อย่างอิสระ แต่ยังคงคุณภาพของงานเเละส่งงานตรงตามเวลาที่กำหนดให้ได้ ซึ่งจะช่วยให้พนักงานทำงานได้ตามกำหนดเวลาจากทุกที่ในโลก และผลักดันการเพิ่มขึ้นของ การทำงานแบบ 3.0 

ทักษะแบบ Soft Skills จะมาเเทนที่ Hard Skills

รายงานสถานะการทำงานโดย Irregular Labs ระบุว่า ทักษะ Soft Skills จะมาเเทนที่ ทักษะ Hard Skills การตัดสินใจมาจากการคิดเเละสร้างสรรค์ร่วมกันมากกว่าการกำหนดชี้ขาด เเละวิชาชีพต่างๆ ไม่ต้องการเเค่ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เเต่อาศัยการบูรณาการข้ามศาสตร์ ขณะเดียวกันความสำเร็จเเละนวัตกรรมเป็นส่วนหนึ่งของการแบ่งกันร่วมกัน 

หากบริษัทต้องการผลักดันการทำงานเเบบ 3.0 ธุรกิจควรจัดลำดับความสำคัญในด้านต่างๆ ตั้งเเต่ด้านสุขภาพของพนักงาน การเสนออาชีพทางเลือกเเละจุดประกายความคิดริเริ่มที่จะช่วยให้พนักงานค้นพบความสำเร็จของตนเองในการทำงานเเละดูเเลครอบครัว ซึ่งจะช่วยเปิดช่องทางที่เรียกว่า Career Cushioning คือ การมองหาเเผนสำรองในกรณีตกงานเเละโอกาสที่มั่นคงมากกว่าเดิม 

ชาร์ลอตต์ เดวีส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีพของ Linkedin ระบุว่า การวางแผนสำรองได้ไม่ได้ความว่าพนักงานจะเปลี่ยนทัศนคติที่มีต้อบทบาทการทำงานในปัจจุบัน เพียงเเค่เป็นการเตรียมความพร้อม หากเกิดเหตุไม่คาดคิดดับเส้นทางอาชีพของพวกเขาในอนาคต