ประโยชน์-โทษของ "ช็อกโกแลตวาเลนไทน์"

12 ก.พ. 2567 | 13:05 น.
อัปเดตล่าสุด :12 ก.พ. 2567 | 13:06 น.

14 กุมภาพันธ์ วันวาเลนไทน์ 2567 เปิดประโยชน์ พร้อมโทษของช็อกโกแลต ของขวัญยอดนิยมของคู่รักที่มักมอบให้กันมีอะไรบ้าง ใคร คนกลุ่มไหนควรหลีกเลี่ยงการกินช็อกโกแลต พร้อมเช็คอาการผิดปกติที่ต้องระวัง

ช็อกโกแลตกับวันวาเลนไทน์ เป็นของคู่กัน ช่วงเทศกาลวันแห่งความรักนี้ นอกจากกุหลาบดอกโต ๆ แล้ว คู่รักจำนวนไม่น้อยนิยมมอบช็อกโกแลตให้แก่กันด้วยเพราะเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ที่จะแสดงออกถึงความรักและมิตรภาพของผู้ที่มอบเป็นของขวัญในวันแห่งความรักนี้

อย่างไรก็ดี ช็อกโกแลตขึ้นชื่อว่าเป็นขนมหวาน การรับประทานอย่างพอเหมาะพอดีย่อมส่งผลดีต่อสุขภาพ ตรงกันข้ามหากรับประทานมากเกินไปก็ย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพของเราได้เช่นกัน 

ช็อกโกแลตวันวาเลนไทน์ มีประโยชน์อย่างไร

ช็อกโกแลต มีสารฟีนอลที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจ โดยการรับประทานช็อกโกแลตจะช่วยให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยป้องกันการอุดตันของลิ่มเลือดได้ด้วย

มีคุณค่าทางโภชนาการ คือ ในช็อกโกแลตจะมีทั้งคาร์โบไฮเดรตไขมัน วิตามินเอ ดี เค และธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นสารอาหารจำเป็นที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ในช็อกโกแลตจะมีคาเฟอีน ที่มีส่วนช่วยให้ร่างกายและสมองรู้สึกกระปรี้กระเปร่าและตื่นตัวนั่นเอง

การรับประทานช็อกโกแลตจะมีส่วนช่วยให้การทำงานของเยื่อบุผิว หากรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะจะช่วยกระตุ้นให้สมองหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน ซึ่งเป็นสารที่ช่วยให้อารมณ์ดี ไม่หงุดหงิด และสามารถช่วยลดความเครียดลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สารอาหารในช็อกโกแลต

  • ลาโวนอยด์ (Flavonoids)
  • ฟีนิลเอทิลลามีน (Phenylethylamine)
  • โพลีฟีนอล (Polyphenol)
  • ทีโอโบรมีน
  • ไขมัน
  • โปรตีน
  • คาร์โบไฮเดรต
  • เส้นใยอาหาร
  • น้ำตาล
  • คาเฟอีน
  • น้ำ

อาการผิดปกติหลังรับประทานช็อกโกแลต

  • กระสับกระส่าย
  • ปัสสาวะบ่อย
  • นอนไม่หลับ
  • ใจสั่น เต้นแรงปกติ
  • แพ้ที่ผิวหนัง มีผื่น
  • คลื่นไส้
  • ปวดท้อง มีแก๊สในกระเพาะอาหาร
  • ท้องผูก
  • อาจส่งผลให้เกิดการแท้ง คลอดบุตรก่อนกำหนดในผู้ที่ตั้งครรภ์
  • คุณแม่ที่ให้นมบุตรอาจทำให้ลูกขับถ่ายบ่อย มีปัญหาบริเวณลำไส้

ผู้ที่ควรหลีกเลี่ยงช็อกโกแลต

ผู้ป่วยโรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ต้อหิน, ไมเกรน, ความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจ, เบาหวาน, กรดไหลย้อน, ลำไส้แปรปรวน, กระดูกพรุน
และมีความผิดปกติทางโลหิต เป็นต้น 


ที่มา โรงพยาบาลเพชรเวช