รัฐบาลเพดินหน้ายกระดับระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ด้วยการคิกออฟ "นโยบาย 30 บาทพลัส" ซึ่งเป็นการเปลี่ยนโฉมจาก "30 บาทรักษาทุกโรค" ที่คนไทยคุ้นหู เป็น "30 บาทรักษาทุกที่" ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภา และเป็นนโยบายเน้นหนักของกระทรวงสาธารณสุข
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานคิกออฟ "30 บาทพลัส" ไปเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2566 ที่ลานสาเกตนคร หน้าหอโหวด 101 จังหวัดร้อยเอ็ด
ซึ่งไฮไลท์ของนโยบายใหม่นี้ เพียงใช้ "บัตรประชาชนใบเดียว" แทนใบส่งตัวใช้สิทธิ์รักษา 30 บาท นำร่องพร้อมกัน 4 จังหวัด ร้อยเอ็ด แพร่ เพชรบุรี นราธิวาส หลังเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพหน่วยบริการทุกระดับทั้งรัฐและเอกชน ช่วยประชาชนเข้าถึงบริการสะดวก
นายกรัฐมนตรี ประกาศในการเปิดตัวนโยนบาย 30 บาทพลัสว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกคน ทุกกลุ่ม ทุกพื้นที่
ผลักดันให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพจากหน่วยบริการทุกระดับ ทุกสังกัด และยกระดับหน่วยบริการให้เป็นโรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital)
ด้วยการนำ "เทคโนโลยีดิจิทัล" มาประยุกต์ใช้จัดบริการสุขภาพ อาทิ
ทั้งหมดนี้ คำนึงถึงความปลอดภัยทางไซเบอร์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทำให้ช่วยลดความแออัดในโรงพยาบาล ลดระยะเวลารอคอย และลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประชาชน
“หวังว่านโยบาย 30 บาท รักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว จะช่วยให้คนไทยทุกคนได้รับการดูแลสุขภาพได้ทุกที่ ให้คนไทยทุกคนมีสุขภาพแข็งแรง มีพลังในการดำเนินชีวิต และมีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อไป” นายเศรษฐากล่าว
ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ประเทศไทยขับเคลื่อน "นโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรค" มาตั้งแต่ปี 2544 ในช่วงรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร
เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคนไทยในการรับบริการสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยและส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค ถือเป็นนโยบายสาธารณสุขที่สำคัญและมีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้ประชาชนคลายความกังวลเรื่องภาระค่าใช้จ่ายทางสุขภาพ สามารถลดครัวเรือนที่ยากจนจากรายจ่ายด้านสุขภาพจาก 250,000 ครัวเรือนในปี 2531 เป็น 49,300 ครัวเรือน ในปี 2564
ซึ่งการขับเคลื่อนต่อจากนี้ คือ การยกระดับเป็น "30 บาท รักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว" โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ เพื่อให้คนไทยเข้ารับบริการสุขภาพได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว สามารถเข้ารับบริการได้ทั้งโรงพยาบาลของรัฐ เอกชน คลินิก แล็บและร้านยาใกล้บ้าน
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธาณสุข ระบุว่า ที่ผ่านมา เมื่อประชาชนจำเป็นต้องเปลี่ยนหน่วยบริการ จะพบปัญหาเรื่องการเข้าถึงข้อมูลประวัติการรักษาพยาบาล เนื่องจากข้อมูลการรับบริการทางการแพทย์ของแต่ละหน่วยบริการไม่เชื่อมโยงกัน ทำให้ประชาชนต้องเสียเวลาในการรวบรวมข้อมูลการรักษาของตนเองจากสถานพยาบาลต่างๆ ซึ่งทั้งไม่สะดวกและเป็นภาระค่าใช้จ่ายแฝง ขณะที่แพทย์ผู้รักษามักจะได้ข้อมูลไม่ครบถ้วน อาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการรักษา
วิธีลงทะเบียน ส.ป.ก.2566 ออนไลน์ยื่นคำขอเปลี่ยนโฉนดเพื่อเกษตรกรรม
เช็คที่นี่ รายชื่อห้าง-ร้าน ร่วม-ไม่ร่วม "Easy e-Receipt" ลดหย่อนภาษี
ค่าแรงขั้นต่ำ 2567 ล่าสุด ครม. ไฟเขียววันละ 2 – 16 บาท มีผล 1 มกราคม
ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลไม่ว่าจะเป็นประวัติการรักษา ประวัติการแพ้ยา การได้รับวัคซีน ผลทางห้องปฏิบัติการที่ผ่านมา เป็นประโยชน์อย่างมากต่อการรักษาในหน่วยบริการอื่นเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน รัฐบาลจึงยกระดับระบบ 30 บาท ให้สามารถใช้บัตรประชาชนใบเดียวเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลทุกเครือข่ายทั้งรัฐและเอกชน
โดยพัฒนาระบบบริการและเชื่อมโยงฐานข้อมูลสุขภาพจากหน่วยบริการทุกระดับ ช่วยให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่สะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพและคุณภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งสามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ เพื่อดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้
รมว.สาธารณสุข ระบุด้วยว่า นโยบาย 30 บาทพลัส รักษาทุกที่ กำหนดขับเคลื่อนใน 4 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ 1. แพร่ 2.เพชรบุรี 3.นราธิวาส และ 4.ร้อยเอ็ด
จากนั้นระยะที่ 2 จะขยายอีก 8 จังหวัด คือ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ สิงห์บุรี สระแก้ว หนองบัวลำภู นครราชสีมา อำนาจเจริญ และพังงา และขยายทั่วประเทศภายใน 1 ปี