ประเทศไทยพบผู้ป่วย "เมลิออยโดสิส" ทุกเดือน รวมแล้วมากกว่าปีละ 2 พันราย กว่าครึ่งนึงของผู้ติดเชื้อป่วยเป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไปถึง 3.4 เท่า และหากควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตมากขึ้น
"เมลิออยโดสิส" สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อ และสามารถลุกลามรุนแรงได้ ในหลายอวัยวะ และระบบร่างกาย ทั้งการติดเชื้อผ่านทางผิวหนัง การติดเชื้อในปอด การติดเชื้อในกระแสเลือด
เมลิออยโดสิส อันตรายอย่างไร
โรคเมลิออยโดสิส ส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตได้หาก รักษาไม่ทันเวลา เนื่องจากทำให้การอักเสบลุกลาม เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด การเกิดภาวะไตวาย หรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ทำให้อวัยวะอื่นทำงานบกพร่องไป และการได้รับยาไม่ถูกชนิดเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความรุนแรงของโรคได้
ใครเสี่ยงต่อ เมลิออยโดสิส บ้าง
กลุ่มเสี่ยง โรคเมลิออยโดสิส ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโลหิตจาง หรือทาลัสซีเมีย ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยเอชไอวี รวมถึง คนไข้โรคมะเร็งบริเวณต่าง ๆ รวมถึงผู้ที่ดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคเมลิออยโดสิส หากสัมผัสไปโดนสารคัดหลั่งก็มีโอกาสติดเชื้อได้
กลุ่มเกษตรกรที่ต้องสัมผัสกับดินและน้ำด้วยเท้าเปล่า ผู้ที่ดูแลวัวหรือควายซึ่งเป็นสัตว์ที่สามารถป่วยเป็นโรคเมลิออโดสิสได้ สำหรับเชื้อที่อยู่ในซากสัตว์ที่ตายไปแล้วและถูกฝัง เชื้อจะคงอยู่ในดินบริเวณนั้นและอยู่ตลอดไป หากมีการสัมผัสที่ดินบริเวณนั้นก็มีโอกาสได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย
ติดเชื้อ เมลิออยโดสิส ได้อย่างไร
เชื้อเมลิออยโดสิส สามารถปนเปื้อนอยู่ในดิน และน้ำ หากผิวหนังที่มีบาดแผลไปสัมผัส จะทำให้ตัวเชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ กรณีที่เชื้อฟุ้งกระจายในอากาศ หากสูดดมเข้าไป ก่อให้เกิดการติดเชื้อที่ปอด จะส่งผลให้เกิดอาการปอดอักเสบ
วิธีป้องกันตัวจาก เมลิออยโดสิส
กรณี บุคคลทั่วไป
กรณี ผู้ป่วยเบาหวาน