โควิด 19 เริ่มต้นระบาดตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปัจจุบันก็ยังคงมีการแพร่เชื้ออย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ เป็นเพราะมีการกลายพันธุ์แตกเป็นสายพันธุ์ย่อยจำนวนมาก แต่ก็ถือว่ามีผลต่อมนุษย์น้อยลง
เนื่องจากส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนต้านโควิด และเคยติดเชื้อทำให้มีภูมิต้านทานต่อโรคได้
ล่าสุดศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า
โควิด 19 การระบาดของโควิด 19 เริ่มขาลง
Covid 19 ฤดูกาลนี้ได้ผ่านจุดสูงสุดแล้ว ประชากรไทยส่วนใหญ่ติดเชื้อไปแล้วมากกว่า 70%
ส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อสายพันธุ์ โอมิครอน และกำลังเริ่มสู่ขาลง เร็วกว่าที่คิด
สายพันธุ์ที่ระบาดในรอบล่าสุดนี้ เป็น BA.2.75
ขณะนี้การระบาด และจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เริ่มลดน้อยลงอย่างมากจนเห็นได้ชัด
สายพันธุ์ที่จะทำให้เกิดการระบาดรอบใหม่ ที่ต้องเฝ้าระวังคือ BQ.1 และ BQ.1.1 ที่กำลังระบาดอยู่ในทางตะวันตก อเมริกาและยุโรป
เมื่อเข้าเดือนกุมภาพันธ์หรือหลังจากนั้น เชื่อว่า โรคจะสงบลง ถึงเดือนพฤษภาคมมิถุนายน
ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ ร่วมกับการฉีดวัคซีนไปแล้วเป็นจำนวนมาก
เกิดภูมิคุ้มกันแบบลูกผสม ที่มีประสิทธิภาพสูง ในการป้องกันและลดความรุนแรงของโรคโดยเฉพาะสายพันธุ์ โอมิครอน
ความจำเป็นในการที่จะได้รับวัคซีน ถึงแม้ว่าจะเป็น bivalent น้อยลง
เพราะประชากรไทยส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อในปีนี้เป็นสายพันธุ์ โอมิครอน โดยเฉพาะ BA.5 ที่อยู่ในวัคซินตัวใหม่
ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อโดยธรรมชาติเป็นสายพันธุ์โดยตรง
และยังเป็นภูมิคุ้มกันทั้งตัวไวรัส ไม่ใช่แค่ต่อหนามแหลมที่อยู่ใน mRNA เท่านั้น
เมื่อประชากรทั่วโลก ส่วนใหญ่เคยได้รับเชื้อมาแล้ว ก็จะเกิดภูมิต้านทานแบบสมบูรณ์กว่า ที่ได้รับจากวัคซีน
ความรุนแรงโรค และ การระบาดก็จะเริ่มลดลงไปเรื่อยๆ และในที่สุด ชีวิตจะกลับคืนสู่ภาวะปกติ