รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความระบุ ว่า
อัพเดตจาก WHO
องค์การอนามัยโลกเผยแพร่ข้อมูลรายสัปดาห์ WHO Weekly Epidemiological Update ประจำวันที่ 14 ธันวาคม 2565
ปัจจุบันสายพันธุ์ Omicron (โอมิครอน) ครองสัดส่วนสูงถึง 99.5%
Omicron นั้นมีการแตกหน่อ มีลูกหลานไปมากถึงกว่า 540 สายพันธุ์ย่อย
ทั้งนี้เป็นไวรัสลูกผสมที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ย่อยกัน หรือที่เรียกว่า recombinant กว่า 61 สายพันธุ์ย่อย
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของไวรัสที่สังเกตเห็นกันในช่วงนี้นั้นคือ มีการกลายพันธุ์หลายตำแหน่งที่พบบ่อยหรือพบซ้ำต่อเนื่องในหลายสายพันธุ์ย่อย
ทำให้สะท้อนว่า ไวรัสตัวใหม่ๆ มีแนวโน้มที่จะมีวิวัฒนาการไปในทิศทางคล้ายกัน (Convergent evolution)
ที่สำคัญคือ ตำแหน่งการกลายพันธุ์เหล่านั้นดูจะสัมพันธ์กับสมรรถนะของไวรัสที่พัฒนาเพื่อให้ดื้อต่อภูมิคุ้มกันมากขึ้น (immune evasiveness)
WHO ระบุว่ามี 5 สายพันธุ์ย่อยที่อยู่ในการติดตามอย่างใกล้ชิดในปัจจุบัน
BA.2.75.x
เริ่มมีรายงานตั้งแต่ช่วงธันวาคม 2564 และระบาดในกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงปัจจุบันมีการแพร่กระจายไปทั่วโลกถึง 85 ประเทศ
แต่เดิมระบาดมากในอินเดีย และบังคลาเทศ ต่อมาถูกแทนที่ด้วย XBB
ขณะนี้ประเทศที่พบว่ามีความชุกของสายพันธุ์ย่อยนี้สูงสุดได้แก่ ประเทศไทย (53.8%), ออสเตรเลีย (25.1%), มาเลเซีย (22.5%), จีน (18.8%), และนิวซีแลนด์ (16.3%)
BA.5
BQ.1.x
XBB.x
ปัจจุบันระบาดกระจายไป 70 ประเทศทั่วโลก แต่ความชุกยังไม่มากนักราว 3.8%
ประเทศที่พบมากได้แก่ อินเดีย (62.5%), โดมินิกัน (48.2%), สิงคโปร์ (47.3%), มาเลเซีย (40.9%), และอินโดนีเซีย (29.3%)
และ BA.2.30.2 มีตำแหน่งการกลายพันธุ์หลายตำแหน่งที่คล้ายคลึงกับสายพันธุ์ย่อยต่างๆ ข้างต้น ยังมีรายงานการระบาดไม่มากนัก แต่พบได้ในแทบทุกทวีป
ในภาพรวมแล้ว พบว่าสายพันธุ์ BA.2.75.x และ XBB ขยายตัวอย่างช้าๆ ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิกตะวันตก
ในขณะที่ BQ.1.x และ BA.5 ซึ่งมีการกลายพันธุ์เพิ่มจากเดิม 5 ตำแหน่ง มีการระบาดขยายตัวขึ้นค่อนข้างเร็วกว่า และกระจายไปทั่วโลก
การระบาดของไทยเรายังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
ควรใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ประมาท ระมัดระวังตัวเสมอเวลาออกไปใช้ชีวิตประจำวัน
จำเป็นต้องไปรับวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อลดเสี่ยงป่วยรุนแรง เสียชีวิต และ Long COVID
หากไม่สบาย ไอ เจ็บคอ ไข้ คัดจมูก ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ควรตรวจ ATK
ถ้าผลบวก แปลว่าติดเชื้อ ควรแยกตัวจากผู้อื่นอย่างน้อย 7-10 วันจนกว่าอาการดีขึ้น ไม่มีไข้ และตรวจซ้ำได้ผลลบ จึงออกมาใช้ชีวิตป้องกันตัวเคร่งครัดจนครบสองสัปดาห์
หากป่วย แต่ตรวจได้ผลลบ อย่าเพิ่งวางใจ อาจเป็นผลลบปลอมได้ จึงควรตรวจซ้ำทุกวันอย่างน้อย 3 วันติดกัน
ย้ำอีกครั้งว่า สภาพแวดล้อมในสังคมปัจจุบันมีการติดเชื้อแพร่เชื้อจำนวนมาก มีความเสี่ยงมาก จำเป็นต้องป้องกันตัวให้ดี
ไม่ติดเชื้อ หรือไม่ติดเชื้อซ้ำ ย่อมดีที่สุด เพราะติดแล้วไม่ใช่แค่ชิลๆ แล้วหาย แต่ป่วยหนักได้ ตายได้ และเสี่ยงต่อ Long COVID ระยะยาวที่บั่นทอนคุณภาพชีวิต สมรรถนะการใช้ชีวิต
การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก