นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันราคาพลังงานมีความผันผวน และเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากวิกฤติความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน และสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ยังคงมีอยู่ ส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ เศรษฐกิจถดถอย ซึ่งอุตสาหกรรมทั้งในภาคการผลิต ภาคบริการและครัวเรือน เป็นกลุ่มหลักๆ ที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก
ทั้งนี้ จากแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP) แสดงให้เห็นว่าสาเหตุหลักที่ค่าพลังงาน และค่าไฟฟ้าของประเทศไทยสูงกว่าตลาด เมื่อเทียบกับประเทศใกล้เคียง เกิดจากการที่ประเทศไทยพึ่งพาก๊าซธรรมชาติ (NG / LNG) มากเกินไป และยังขาดแผนสำรองที่ดีในการบริหารก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ส่งผลให้การผลิตก๊าซต้นทุนต่ำจากอ่าวไทยต่ำกว่าแผนมาก
อีกทั้งประเทศเมียนมาลดการส่งก๊าซลง ส่งผลให้ต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวแบบสัญญาจร (Spot LNG) ที่มีราคาสูงมากกว่าก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยเข้ามาเสริม นอกจากนี้ จากการคาดการณ์ความต้องการขาย (Demand) สูงเกินไป และการเปิดการซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเอกชนมากเกินความจำเป็น จึงก่อให้เกิดความต้องการซื้อ (Supply) ของโรงไฟฟ้ามากกว่าความต้องการขาย (Demand) ถึง 52% ส่งผลให้เป็นภาระต้นทุนของประเทศไทยในระยะยาว
และอีกหนึ่งสาเหตุ คือ ประเทศไทยยังขาดกลไกตลาดเสรีของพลังงานและไฟฟ้าที่ยังไม่มี Third Party Access ที่เป็นการเปิดโอกาสให้เอกชนสามารถใช้ระบบส่ง/จำหน่ายไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายไฟฟ้าผ่านสายส่ง/จำหน่ายของการไฟฟ้าทั้ง 3 หน่วยงานได้
นายอิศเรศ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมา ส.อ.ท. ได้มีการติดตามถึงสถานการณ์ความผันผวนและราคาพลังงาน รวมไปถึงการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าที่ภาคอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบมาโดยตลอด ซึ่งได้มีการทำหนังสือยื่นเสนอข้อร้องเรียนถึงรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงานไปแล้วตั้งแต่เดือนสิงหาคม - พฤศจิกายน 2565
ทั้งในเรื่องแนวทางการแก้ไขต้นทุนพลังงาน การชะลอการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือค่าเอฟที (Ft) ปัญหาสูตรโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติภาคอุตสาหกรรม แต่ขณะนี้ ยังไม่ได้รับการประสานงานเพื่อหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
อย่างไรก็ดี ขอให้ภาครัฐพิจารณาถึงข้อเสนอของ ส.อ.ท. เพื่อหาทางออกต้นทุนพลังงานสูงเป็น 2 ประเด็นหลักๆ คือ
นอกจากนี้ จากการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา มีมติเสนอให้ภาครัฐ ชะลอการปรับขึ้นค่า Ft เดือน มกราคม-เมษายน 2566 ออกไปก่อน โดยมีเหตุผลประกอบ 4 ข้อด้วยกัน คือ
"กรณีมีการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าในอัตราที่สูงมากถึงสองงวดติดต่อกัน ย่อมจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาระค่าครองชีพของประชาชนและครัวเรือน และต้นทุนในการดำเนินธุรกิจทั้งภาคการผลิตและภาคบริการที่ยังอยู่ในช่วงฟื้นตัวจากผลกระทบทางเศรษฐกิจ รวมทั้งเป็นการบั่นทอนขีดความสามารถในการแข่งขันประเทศ เนื่องจากภาคการผลิตและภาคบริการเป็นหนึ่งในภาคอุตสาหกรรมหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ"
เพื่อเป็นการสร้างโอกาสให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ สร้างงาน สร้างอาชีพให้แก่ประชาชน ภาครัฐควรพิจารณาแนวทางการแก้ปัญหาต้นทุนพลังงานสูงและการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าอย่างเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เพื่อให้ผู้ประกอบการได้ขับเคลื่อนธุรกิจอย่างเข้มแข็งและมีศักยภาพสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง