"WHO" เตือนเชื้อรากำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขคนทั่วโลก น่ากลัวแค่ไหน อ่านเลย

31 ต.ค. 2565 | 09:10 น.
อัปเดตล่าสุด :31 ต.ค. 2565 | 16:10 น.
1.7 k

"WHO" เตือนเชื้อรากำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขคนทั่วโลก น่ากลัวแค่ไหน อ่านเลยที่นี่มีคำตอบ หลังเชื้อราบางชนิดดื้อยาเพิ่มขึ้นและแพร่กระจายมากขึ้น

นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ (หมอมนูญ) ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว (หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC) โดยมีข้อความระบุว่า 

 

องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกมาเตือนเชื้อรากำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขคนทั่วโลก 

 

คาดว่ามีผู้เสียชีวิตจากเชื้อราทั้งโลกปีละ 1.7 ล้านคน 

 

เป็นครั้งแรกที่องค์การอนามัยโลกได้จัดทำรายชื่อเชื้อรา 19 ชนิดที่คุกคามสุขภาพมนุษย์มากที่สุด 

 

โดยเตือนว่าเชื้อราบางชนิดดื้อยาเพิ่มขึ้นและแพร่กระจายมากขึ้น การขาดการให้ความสำคัญกับโรคจากเชื้อรา 

 

ทำให้ขาดองค์ความรู้ ขาดการเฝ้าระวัง การรักษา และการวินิจฉัยโรค เรียกร้องให้รัฐบาลและนักวิจัยทั่วโลกพยายามมากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อเชื้อรา

 

หมอมนูญ บอกว่า ในฐานะที่เป็นเป็นแพทย์ไทยคนหนึ่งที่เห็นความสำคัญของเชื้อราตั้งแต่สมัยดูแลคุณบิ๊กดีทูบี ประสบอุบัติเหตุรถตกคู สำลักน้ำครำข้างถนน 
เชื้อรา Scedosporium apiospermum เข้าสมอง เมื่อ พ.ศ.2546 เชื้อราตัวนี้ก็อยู่ในรายชื่อเชื้อราที่องค์การอนามัยโลกจัดทำขึ้น

 

เรามีการรวมตัวของผู้เชี่ยวชาญด้านเชื้อราจากมหาวิทยาลัยของรัฐและโรงพยาบาลเอกชน 

 

อันประกอบด้วย คณาจารย์และนักวิทยาศาสตร์จากหลายสถาบันได้แก่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 
และคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยขอนแก่น 

 

เชื้อรากำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก

 

ส่วนภาคเอกชนได้แก่แพทย์โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ร่วมกันก่อตั้งชมรมเชื้อราทางการแพทย์ประเทศไทยขึ้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 

 

โดยมีศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิงศมนีย์ มิลินทางกูร เป็นประธานชมรมฯ คนแรก และประธานชมรมฯคนปัจจุบัน คือ นายแพทย์มนูญ ลีเชวงวงศ์ 

 

 

ชมรมฯ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้องค์ความรู้ที่ครอบคลุมด้านต่างๆ ของเชื้อราการแพทย์ ได้แก่ 

 

การวินิจฉัยทั้งทางคลินิกและห้องปฏิบัติการ การรักษาโรคติดเชื้อรา ยาต้านเชื้อรา และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 

 

ได้มีการพัฒนาและเผยแพร่อย่างทันสมัยในหมู่สมาชิกผู้สนใจและประชาชน อันจะนำประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่ผู้ป่วยและประเทศชาติ 

 

สมาชิกของชมรมฯ ประกอบด้วย แพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ และนักวิทยาศาสตร์ ทั้งจากมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลทั่วประเทศ