โรคสปอโรทริโคซิสคืออะไร ติดต่อทางไหน อาการเป็นยังไง เช็คเลย

19 ก.ย. 2565 | 11:17 น.
อัปเดตล่าสุด :19 ก.ย. 2565 | 18:17 น.
2.8 k

โรคสปอโรทริโคซิสคืออะไร ติดต่อทางไหน อาการเป้นยังไง เช็คเลยที่นี่มีคำตอบ หมอมนูญยกเคสผู้ป่วยที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธเป็นกรณีตัวอย่าง

โรคสปอโรทริโคซิสคืออะไร อาการเป็นอย่างไร เป็นคำถามที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก

 

นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ (หมอมนูญ) ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว (หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC) โดยมีข้อความระบุว่า 

 

โรคสปอโรทริโคซิส (Sporotrichosis) เกิดจากเชื้อราซึ่งพบในธรรมชาติ เข้าร่างกายทางบาดแผลจากการถูกแมวกัดหรือข่วน หรือถูกหนามกุหลาบตำ พบไม่บ่อย โรงพยาบาลวิชัยยุทธพบผู้ป่วยโรคนี้ 3 รายใน 1 ปี

 

ผู้ป่วยหญิงอายุ 51 ปี ใส่ถุงมือให้อาหาร และทำความสะอาดแมวจรจัดที่ป่วยมีแผลตามตัว 

 

ถูกเล็บแมวจิกที่หลังมือข้างซ้ายทะลุถุงมือ ทำให้เกิดแผล 

 

แมวตัวนี้อยู่ในเขตเมืองของ กทม.เสียชีวิตหลังจากนั้น 1 สัปดาห์ 
 

หลังทายาปฏิชีวนะแผลที่มือหาย แต่ 2 สัปดาห์ต่อมาวันที่ 13 พ.ค. 2565 เริ่มสังเกตมีตุ่มแดงที่หลังมือซ้ายไม่เจ็บ 

 

มาพบแพทย์ ตรวจร่างกายพบตุ่มแดงขนาด 0.5 ซม.ที่หลังมือข้างซ้าย ตรงกลางมีหนองเล็กๆ ต่อมน้ำเหลืองไม่โต

 

แพทย์ใช้เข็มเจาะดูดหนองได้เล็กน้อย ส่งย้อมแบคทีเรีย เชื้อรา พบยีสต์จำนวนมาก (yeast cells) 

 

ได้เริ่มยาฆ่าเชื้อรา Itraconazole 100 มก.วันละ 2 ครั้ง 

 

วันที่ 23 ก.ค. 65 ผลเพาะเชื้อรา ขึ้นเชื้อรา Sporothrix schenckii 

 

กินยา Itraconazole ตั้งแต่ 13 พ.ค.- 16 ก.ย. 65 ในที่สุดแผลแห้งดี 

 

ผู้ป่วยรายที่ 2 เกิดจากหนามกุหลาบเกี่ยวผิวหนังที่แขนด้านขวาบน

 

ผู้ป่วยรายที่ 3 เลี้ยงแมว แต่ปฏิเสธถูกแมวข่วนหรือกัด เป็นที่ผิวหนังแขนข้างซ้าย
 

เชื้อรา Sporothrix schenckii อยู่ในธรรมชาติ มีแหล่งอาศัยอยู่ตามดิน ตามพืช และเปลือกต้นไม้ 

 

เข้าร่างกายทางบาดแผลที่ถูกหนามตำหรือใบไม้บาด หรือจากการถูกแมวที่ป่วยด้วยโรคนี้กัดหรือข่วน 

 

เชื้อรานี้เมื่ออยู่ในร่างกายอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส ดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ มีลักษณะเป็นยีสต์ 

 

ถ้าอยู่ตามธรรมชาตินอกร่างกายอุณหภูมิต่ำกว่า จะมีลักษณะเป็นราสาย 

 

การรักษาโดยทั่วไปใช้ยาฆ่าเชื้อราชนิดกิน Itraconazole นาน 3-6 เดือนจนกว่าแผลจะหาย

 

(ขอบคุณอาจารย์ ดร.พิริยาภรณ์ จงตระกูล ที่ปรึกษาแผนกจุลชีววิทยาโรงพยาบาลวิชัยยุทธ)