โควิด19วันนี้atk ยอดติดเชื้อกว่า 2.6 หมื่นราย หมอธีระชี้ไม่ได้จบแค่หาย ตาย

29 เม.ย. 2565 | 11:50 น.
อัปเดตล่าสุด :29 เม.ย. 2565 | 21:29 น.
1.8 k

โควิด19วันนี้atk ยอดติดเชื้อกว่า 2.6 หมื่นราย หมอธีระชี้ไม่ได้จบแค่หาย ตาย ห่วงผลกระทบระยะยาวจาก Long Covid แนะฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น

โควิด19วันนี้รวม atk ยังคงเป็นตัวเลขของการติดเชื้อโควิด-19 (Covid-19) โดยเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ที่ยังถือว่าอยู่ในระดับสูง และเป็นประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจ และติดตาม 

 

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความว่า 

 

  • 14,053

 

  • ATK 12,233

 

  • รวม 26,286

 

หนึ่งสัปดาห์ผ่านไป ปอดอักเสบลดลงจาก 1,985 คน เป็น 1,818 คน ลดลง 8.41%

 

ใส่ท่อช่วยหายใจลดจาก 913 คน เป็น 815 คน ลดลง 10.73%

 

จำนวนติดเชื้อรวม ATK ของวันนี้ น้อยกว่าสัปดาห์ก่อน 38.06% และน้อยกว่าสองสัปดาห์ก่อน 11.2%

หมอธีระ ยังโพสด้วยว่า

 

129 รายที่เสียชีวิต

 

อายุ 16-100 ปี

 

พบว่าติดเชื้อ ณ วันที่เสียชีวิต 18 คน

 

พบว่าติดเชื้อ 1-3 วันก่อนเสียชีวิต 30 คน 

 

โควิดวันนี้รวมatk ยอดติดเชื้อกว่า 2.6 หมื่นราย

 

ไม่ได้รับวัคซีน 69 คน 

 

เคยได้รับวัคซีนแล้ว 60 คน (1 เข็ม 9 คน, 2 เข็ม 42 คน, 3 เข็ม 8 คน, และ 4 เข็ม 1 คน)

 

การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ

 

และสำคัญที่สุดคือ การใส่หน้ากากเสมอ

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการระบาดหนักในช่วงที่ผ่านมาของไทย

 

หากดูสถิติตั้งแต่มกราคม 2565 ถึงปัจจุบัน จะพบว่ามีหลายจังหวัดที่มีจำนวนการติดเชื้อต่อประชากร 100,000 คน สูงมาก และเป็นผลมาจาการนโยบายในช่วงที่ผ่านมา เช่น ภูเก็ต ซึ่งเป็นพื้นที่กล่องทราย มีอัตราป่วยสะสมสูงถึง 10,539 คนต่อประชากรแสนคน 

 

ในขณะที่สมุทรสาคร ซึ่งเคยระบาดหนักในโรงงานและชุมชนตั้งแต่ระลอกสอง มีอัตราป่วย 9,721 คนต่อประชากรแสนคน 

 

ทั้งสองจังหวัดนั้นมีอัตราป่วยสะสมในช่วงต้นปีของ 2565 สูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศ (3,033 คนต่อประชากรแสนคน) ถึง 3 เท่า

 

หากรวมคนที่เคยติดเชื้อในช่วงก่อนปี 2565 จะพบว่ามีการติดเชื้อที่สูงมาก

 

โควิดนั้นไม่ได้จบที่หายและตาย แต่ปัญหา Long COVID จะเป็นผลกระทบระยะยาว

 

คนที่เคยติดเชื้อมาก่อน นอกจากควรป้องกันตัวให้ดีเพราะมีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้ ยังควรประเมินสุขภาพตนเองอย่างสม่ำเสมอ สังเกตอาการผิดปกติที่ต่างจากอดีต และปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษา

 

ระบบบริการสาธารณสุขของประเทศควรได้รับการลงทุนเพื่อรับมือกับจำนวนผู้ป่วย Long COVID จากการระบาดระลอกใหญ่ตั้งแต่กลางปีก่อนจนถึงปัจจุบัน