วัคซีนต้านโควิด19 เข็มกระตุ้นกันโอมิครอน BA.2 ต่ำกว่า BA.1 กี่เท่า อ่านเลย

29 เม.ย. 2565 | 11:48 น.
อัปเดตล่าสุด :29 เม.ย. 2565 | 18:48 น.
1.5 k

วัคซีนต้านโควิด19 เข็มกระตุ้นกันโอมิครอน BA.2 ต่ำกว่า BA.1 กี่เท่า อ่านเลยที่นี่มีคำตอบ หมอยงเผยผลศึกษาตีพิมพ์ใน Journal of Infectious Disease (JID) วารสารชั้นนำ

วัคซีนต้านโควิด19 เป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 (Covid-19) โดยมีให้เลือกหลากหลายยี่ห้อตามการพัฒนาของแต่ละบริษัท

 

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ (หมอยง) หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสเฟซบุ๊ก (Yong Poovorawan) โดยมีข้อความว่า

 

โควิด 19 วัคซีน ภูมิต้านทานเข็มกระตุ้นต่อ โอมิครอน BA.1 และ BA.2 

 

งานการศึกษาของเราได้ลงพิมพ์ใน Journal of Infectious Disease (JID) เป็นวารสารชั้นนำ 

 

เป็นการศึกษาภูมิต้านทาน ในเข็มกระตุ้น (เข็มสาม)  ต่อ โอมิครอน BA.1 และ BA.2

 

เราพบว่าการระบาดในประเทศไทยขณะนี้เป็นสายพันธุ์ BA.2 เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ 

แต่เมื่อมาดูผลของภูมิต้านทานต่อสายพันธุ์ BA.1 และ BA.2 จะพบว่า
ภูมิต้านทานต่อสายพันธุ์ BA.2 ที่ได้จากวัคซีนเข็มกระตุ้นจะลดลงต่ำกว่าสายพันธุ์ BA.1 ถึง 1.7 เท่า

 

เมื่อมีการกลายพันธุ์ของไวรัสทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลงอีกเล็กน้อย

 

ก่อนหน้านี้ หมอยง เคยโพสต์ด้วยว่า

 

โควิด 19 วัคซีน  ยังไม่มีวัคซีนจำเพาะสายพันธุ์ใหม่ แต่แนวโน้มพัฒนายารักษาเพิ่มขึ้น 

 

วัคซีนต้านโควิด19 เข็มกระตุ้นกันโอมิครอน BA.2 ต่ำกว่า BA.1 กี่เท่า

 

วัคซีน covid 19 ในปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับว่าลดความรุนแรงของโรคได้ 

 

การพัฒนาวัคซีนต้องใช้เวลานาน ในยามปกติ จะคำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุด 
วัคซีนจะให้กับคนที่แข็งแรง ปกติ ถ้ามีอาการข้างเคียงที่รุนแรง ยอมรับไม่ได้

ในภาวะฉุกเฉิน โรคระบาดที่มีความรุนแรง การพัฒนาวัคซีนอย่างรวดเร็ว เร่งรีบ เพื่อเอาชนะกับการระบาดของโรค ที่มีความรุนแรง 

 

และมีการใช้ในยามฉุกเฉิน เมื่อโรคสงบ หรือลดความรุนแรงลง การพัฒนาวัคซีนจะคำนึง ถึงความปลอดภัยมากขึ้น

 

การศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีน จะต้องใช้อาสาสมัครหลายหมื่นคน ให้และไม่ให้วัคซีน เปรียบเทียบกัน

 

ตรงข้ามกับการพัฒนายาใช้รักษาผู้ป่วย ผู้ป่วยมีอาการเจ็บป่วย ทนทุกข์ทรมานอยู่แล้ว การศึกษาประสิทธิภาพของยาให้จำเพาะกับผู้ป่วย ใช้จำนวนผู้ป่วยไม่มาก ในการเปรียบเทียบ

 

จะเป็นหลักร้อยหรือหลักพันต้นๆเท่านั้น การศึกษาทางคลินิกจะลงทุนน้อยกว่ามาก 

 

แนวโน้มโรคโควิด 19 ที่จะได้วัคซีนชนิดใหม่ ให้ตรงสายพันธุ์หรือมีประสิทธิภาพ

ที่ดีกว่า มีความจำเพาะจึงไม่เกิดขึ้นในขณะนี้

 

เพราะการทำระยะที่ 3 ต้องใช้อาสาสมัครแข็งแรงดี จำนวนมาก เป็นการลงทุนที่สูงมากและโรคมีแนวโน้มความรุนแรงลดลง จึงมีแนวโน้มที่จะหันไปพัฒนายากันมากขึ้น

 

ประเทศไทยพัฒนาวัคซีนไข้หวัดใหญ่ของเราเอง ตั้งแต่มีการระบาดของไข้หวัดใหญ่ 2009  มาจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีวัคซีนไข้หวัดใหญ่สัญชาติไทยที่ได้ใช้