“ปวดหัวเป็นโควิดไหม” อาการแบบไหนเข้าข่าย เช็คให้ชัวร์

25 เม.ย. 2565 | 10:15 น.
อัปเดตล่าสุด :25 เม.ย. 2565 | 17:43 น.
7.4 k

อาการปวดหัว ถือว่าพบได้ค่อนข้างบ่อยทั้งในผู้ติดเชื้อโควิดและผู้ที่ได้รับวัคซีน หลายคนมีคำถามว่า “ปวดหัวเป็นโควิดไหม” อาการแบบไหนเข้าข่าย เช็คให้ชัวร์เลย

สถานการณ์โควิดที่ยังน่าเป็นห่วง หลายคนสงสัยว่า ปวดหัวเป็นโควิดไหม เพราะถือว่าพบได้ค่อนข้างบ่อยทั้งในผู้ติดเชื้อ และ ผู้ที่ได้รับวัคซีน ซึ่งอาจจะมีอาการที่แตกต่างกันไป  โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้การระบาดของโควิดสายพันธุ์ "โอไมครอน" ที่อาจจะทำให้เราสังเกตอาการได้ยากขึ้น

“ปวดหัวเป็นโควิดไหม” อาการแบบไหนเข่าข่าย เช็คให้ชัวร์

  1.  มีอาการปวดหัวเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
  2. ระดับอาการปวดหัวที่มีความรุนแรง ไปจนถึง ปวดปานกลาง
  3. ไม่ตอบสนองต่อยาแก้ปวด หรือ ปวดซํ้าหลังจากยาแก้ปวดหมดฤทธิ์
  4. ปวดแบบบีบรัดที่บริเวณขมับ หน้าผาก รอบกระบอกตาทั้ง 2 ข้าง
  5. ปวดทั่วทั้งศีรษะ อาจพบลักษณะการปวดแบบปวดตุ๊บๆ 
  6. อาการรุนแรงมากยิ่งขึ้น เมื่อโน้มศีรษะไปด้านหน้า การไอ การจาม และการออกแรงจะทำให้อาการปวดศีรษะรุนแรงขึ้น
  7. อาการปวดสามารถเกิดขึ้นได้นานถึง 2 สัปดาห์

อาการปวดหัวเกี่ยวข้องกับโรคโควิด 

  • เชื้อไวรัสเข้าสู่สมองโดยผ่านปลายเส้นประสาทคู่ที่ 5 ในโพรงจมูก ทำให้เกิดการปวดศีรษะ
  • เชื้อไวรัสกระตุ้นร่างกายให้สร้างสารการอักเสบ ซึ่งมีผลโดยตรงกับระบบนำความปวดในสมอง ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะขึ้นมา
  • ทำการแยกการปวดศีรษะที่เกิดจากโรคโควิด-19 จากอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ไข้, เวียนศีรษะ, จมูกไม่ได้กลิ่น, ลิ้นไม่มีการรับรส, ไอ, หอบเหนื่อย, มีการปวดเมื่อย, ถ่ายเหลว และ เจ็บขณะกลืน

 

อาการปวดหัวมีหลายรูปแบบ

  • ปวดหัวที่เกิดจากการเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณรอบศีรษะ  คือบริเวณหน้าผากและขมับทั้ง 2 ข้าง บางครั้งก็มีการร้าวมาที่ด้านหลังของศีรษะและต้นคอ รวมถึงบ่าและไหล่ร่วมด้วย ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความเครียดด้วย
  • ปวดศีรษะจากไมเกรน ปวดขมับด้านใดด้านหนึ่ง อาจจะมีการปวดสลับกันได้ การปวดบางครั้ง จะร้าวเข้ามาที่กระบอกตามาร่วมด้วย อาการนี้จะคลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว หรือถ้ามีอาการปวด ถ้าอยู่ในที่แสงสว่างจ้า เสียงดัง หรือกลิ่นฉุน จะมีอาการแย่ลงร่วมด้วย
  • ปวดศีรษะบริเวณโหนกแก้มของทั้งสองข้างลงมาจนถึงบริเวณหน้าผากด้วย หรือในบางครั้ง ก็ลามมาที่บริเวณตรงจมูก ซึ่งเป็นตำแหน่งของไซนัส ซึ่งถ้าปวดตรงบริเวณนี้ ก็จะเกิดการอักเสบของโรคดังกล่าวด้วย
  • ตรงบริเวณกราม มักมีการปวดตรงบริเวณหน้าใบหู ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการเคี้ยวอาหารร่วมด้วย ซึ่งในบางรายอาจจะไม่รู้ตัวว่ามีการกัดฟันในเวลานอน ทำให้ตื่นเช้าขึ้นมาอาจจะมีอาการปวดตรงบริเวณใบหู ซึ่งสัมพันธ์กับภาวพกระดูกกรามหน้าใบหูอักเสบได้
  • ปวดจากโรคหลอดเลือดสมอง หรือ โรคเนื้องอกสมอง จะมีอาการที่รุนแรงมากที่สุด บางครั้งก็ส่งผลกระทบต่อการมองเห็นที่ผิดปกติหรือเห็นภาพซ้อน มองไม่ชัด หรือ มีการชาหรืออ่อนแรงของกล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกายร่วมด้วย แต่ถ้าเป็นอาการที่หนัก เช่น มีอาการชัก หรือ มีการปวดศีรษะที่มีไข้ร่วมด้วยนั้น ก็รีบควรไปพบแพทย์โดยด่วนเช่นกัน

ที่มา : Rama Channel