"เงินบำเหน็จ-บำนาญชราภาพ" หลังเกษียณได้รับเท่าไร เช็คสูตรคำนวณที่นี่

27 พ.ย. 2564 | 03:39 น.
อัปเดตล่าสุด :04 เม.ย. 2566 | 22:43 น.
70.8 k

เช็คสิทธิ"เงินบำเหน็จ- เงินบำนาญชราภาพ"ผู้ประกันตนมาตรา 33 หลังเกษียณจะได้รับเงินคืนจากกองทุนประกันสังคมเท่าไร เปิดสูตรคำนวณที่นี่

ประกันสังคม เปิดสูตรคำนวณเงินบำเหน็จ และเงินบำนาญชราภาพ สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 33 ที่เกษียณและความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

 

ผู้ประกันตน ประกันสังคมมาตรา 33 เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ มีสิทธิ์ยื่นขอรับเงินบำเหน็จ หรือบำนาญจากประกันสังคมได้ โดยผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือน (15 ปี) ขึ้นไป จะได้รับ “เงินบำนาญ” ที่ประกันสังคมจ่ายให้เป็นรายเดือนตลอดชีวิต  ส่วนผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 180 เดือน จะได้รับ "เงินบำเหน็จ" รายละเอียดดังนี้ 

 

เงื่อนไข

 

กรณีบำเหน็จชราภาพ

  • จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน
  • ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
  • มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย


กรณีบำนาญชราภาพ

  • จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า180 เดือน ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม
  • มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
  • ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

 

\"เงินบำเหน็จ-บำนาญชราภาพ\" หลังเกษียณได้รับเท่าไร เช็คสูตรคำนวณที่นี่

 

รูปแบบการรับเงินเกษียณคืนจากกองทุนประกันสังคม

 

กรณีจ่ายเงินสมทบไม่ถึง 12 เดือน จะได้รับเงินเกษียณจากกองทุนประกันสังคมเป็นเงินบำเหน็จ (เงินก้อนครั้งเดียว) เท่ากับจำนวนเงินที่จ่ายสมทบกองทุนประกันสังคม 

 

กรณีจ่ายเงินสมทบมากกว่า 12 เดือน แต่ไม่ถึง 180 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จเท่ากับจำนวนเงินสมทบของตนเอง + เงินสมทบในส่วนของนายจ้างและรัฐบาล + ผลประโยชน์ตอบแทน ตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด 

กรณีจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 180 เดือน ( 15 ปี )   มีสิทธิได้รับเงินบำนาญ

ชราภาพเป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ) 


กรณีที่มีการจ่าย เงินสมทบเกิน 180 เดือน ให้ปรับเพิ่มอัตราบำนาญชราภาพขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อ ระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก ๆ 12 เดือน 

ตัวอย่างเช่น  :  ผู้ประกันตนทำงานได้รับเงินค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท มาตลอด และส่งเงินสมทบมาแล้ว 20 ปี อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงจะได้รับเงินบำนาญชราภาพรายเดือน ตามการคำนวณดังนี้

 

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญ               

 

=  15 ปี (แรก) ได้อัตราเงินบำนาญ 20%               

=  5 ปี (หลัง) ได้อัตราเงินบำนาญ (1.5% (ปรับเพิ่ม) × 5ปี ) 

= 7.5%               

รวมอัตราเงินบำนาญ 20 ปี 

= 20% + 7.5% = 27.5%       

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญรายเดือน 

= 27.5% ของ 15,000 บาท                 

= 4,125 บาท/เดือนจนตลอดชีวิต             

 

ส่วนกรณีผู้ประกันตนที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพเสียชีวิตภายใน 5 ปี ทายาทผู้มีสิทธิ จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน               

 

= 4,125 บาท  × 10 เท่า  เท่ากับ 41,250 บาท            

 

ที่มา : สำนักงานประกันสังคม

 

 

\"เงินบำเหน็จ-บำนาญชราภาพ\" หลังเกษียณได้รับเท่าไร เช็คสูตรคำนวณที่นี่