เทียบประสิทธิภาพโมลนูพิราเวียร์-แพกซ์โลวิด ยารักษาโควิด

09 พ.ย. 2564 | 09:00 น.
อัปเดตล่าสุด :09 พ.ย. 2564 | 16:30 น.
811

เทียบประสิทธิภาพโมลนูพิราเวียร์-แพกซ์โลวิด ผลวิจัยพบมีประสิทธิภาพดี ลดการเสียชีวิตในผู้ป่วย ขณะที่ความคืบหน้ายารักษาโควิด คาดไทยได้ใช้สิ้นปีนี้ หรือต้นปีหน้า

“เปิดประเทศ” รับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทย รวมถึงการจัดนำร่อง 17 พื้นที่ท่องเที่ยวตั้งแต่วันที่ 1-7 พ.ย.2564 จากข้อมูล ศบค.มีนักท่องเที่ยวต่างชาติตรวจพบติดเชื้อโรคโควิด 19 แล้ว 15 ราย

ขณะที่ ส่วนยอดฉีดวัคซีนเมื่อวันที่ 6 พ.ย. ได้เพิ่ม 703,581 โดส ทำให้มียอดฉีดวัคซีนสะสมตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ. รวมทั้งสิ้น 80,221,553 โดส

แบ่งเป็น เข็มที่ 1 จำนวน 43,914,118 ราย คิดเป็นร้อยละ 61.0 ของประชากร เข็มที่ 2 จำนวน 33,719,280 ราย คิดเป็นร้อยละ 46.8 และเข็มที่ 3 จำนวน 2,588,155 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.6

ขณะเดียวกันก็มีความพยายามพัฒนาวัคซีนเพื่อดูแลรักษาป้องกันโควิด 19 ส่วนความคืบหน้ายารักษาโควิด 19 “โมลนูพิราเวียร์และแพกซ์โลวิด”

ล่าสุด นพ.อรรถสิทธ์ ศรีสุบัติ ที่ปรึกษากรมการแพทย์ แถลงว่า โมลนูพิราเวียร์และยาแพกซ์โลวิด ทั้งสองชนิดเป็นยาต้านไวรัส เพื่อไม่ให้เพิ่มจำนวนไวรัสในร่างกาย  ซึ่งตามผลวิจัยพบว่ายาแพกซ์โลวิดต้องใช้ควบคู่กับยาลิทัวนาเวีย

ขณะเดียวกันหากเชื้อโควิดผ่านการเพิ่มจำนวนโปรตีนเพิ่มมมากขึ้น ยาโมลนูพิราเวียร์จะเป็นตัวช่วยยังยั้ง จะเห็นว่ายาทั้งสองตัวนี้จะออกฤทธิ์กันคนละที่

ประสิทธิภาพยาโมลนูพิราเวียร์

  • ยาตัวแรกที่จะใช้รักษาเฉพาะโรคโควิด เป็นยาเม็ดชนิดรับประทานออกฤทธิ์ต้านไวรัส พัฒนาขึ้นเพื่อใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่
  • จากการศึกษาพบว่ามีฤทธิ์ต่อต้านไวรัสโคโรนาหลายชนิด เช่น ซาร์ เมอร์ส และโควิด 19
  • ข้อมูลการศึกษาวิจัยในกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ยาโมลนูพิราเวียร์ 385 คน เป็นเวลา 5 วัน ลดความเสี่ยงนอน รพ. 50 % และไม่มีผู้เสียชีวิต
  • ยาโมลูพิราเวียร์เม็ดละ 200 มิลลิกรัม รับประทาน 4 เม็ดต่อมื้อ จำนวน 2 มื้อ รวม 800 มิลลิกรัม เป็นเวลา 5 วัน 
  • รับยาโมลนูพิราเวียร์นอน รพ. 7.3% ไม่มีผู้เสียชีวิตเลย ถือว่าลดการนอนรพ.และเสียชีวิตลงประมาณ 50% 

ประสิทธิภาพยาแพกซ์โลวิด

  • "แพกซ์โลวิด" (Paxlovid) ยารักษาโควิด 19 ตัวที่ 2 ของโลก มีประสิทธิผลสูงถึง 89% เป็นของ บริษัท ไฟเซอร์ อิงค์ ที่ชื่อ มีประสิทธิผลในการลดการป่วยหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาลได้ถึง 89%
  • ยาชนิดรับประทาน วันละ 2 ครั้ง จำนวน 5 วัน 
  • ยาแพกซ์โลวิดจะไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์โปรตีเอส ทำให้เพิ่มจำนวนโปรตีนไม่ได้ 
  • ได้รับยาแพกซ์โลวิดและยาริโทนาเวียร์ นอน รพ. 0.8% ไม่มีผู้เสียชีวิต ถือว่าลดการนอน รพ.และเสียชีวิต 89% 

ไทม์ไลน์การสั่งซื้อ ยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir)

  • ก.ค.-ส.ค.2564 กรมการแพทย์ หารือกับบริษัทเมอร์ค ถึงข้อมูลยาและการวิจัย
  • ส.ค.-ก.ย.2564 กรมการแพทย์ หารือกับบริษัทเมอร์ค การจัดหาและการจัดซื้อ
  • ก.ย.-ต.ค. 2564 กรมการแพทย์ หารือกับบริษัทเมอร์คสัญญาซื้อขาย
  • 12 ต.ค. 2564 เสนอแผนการจัดหา ยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) ต่อ ศปก.ศบค.
  • 14 ต.ค. 2564 เสนอแผนต่อ ศบค.
  • 12-22 ต.ค. 2564 หารืออัยการสูงสุด
  • พ.ย. 2564 เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติงบประมาณและสั่งซื้อ ในหว่างนี้ประมาณการว่า ยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) จะขึ้นทะเบียนใน อย.สหรัฐ (FDA)
  • พ.ย. 2564 - ต้นปี 2565 ประมาณการขึ้นทะเบียน อย. และใช้ในประเทศไทย

ไทม์ไลน์ของ ยาแพกซ์โลวิด (PAXLOVID)

  • ส.ค. 2564 กรมการแพทย์ได้ หารือกับ บริษัทไฟเซอร์ ถึงข้อมูลยาและการวิจัยพัฒนา
  • ส.ค.-ก.ย. 2564 บริษัทไฟเซอร์ และ กรมการแพทย์ ลงนาม CDA ซึ่งเป็นการเซ็นเอกสารรักษาความลับไม่เปิดเผยข้อมูล
  • ต.ค. 2564 บริษัทไฟเซอร์ และ กรมการแพทย์ หารือผลความก้าวหน้าเรื่องผลงานวิจัย ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3
  • 12 พ.ย. 2564 หารือความเป็นไปได้ในการจัดหายา ขณะเดียวกันคาดว่าไฟเซอร์จะดำเนินการคู่ขนานในการขอขึ้นทะเบียนกับ อย.สหรัฐ (FDA)