เปิดประเทศ120วัน กฎบัตรไทย ชง”บิ๊กตู่”ใช้ “ระบบส่งเสริมสุขภาพ”ฟื้นประเทศ

01 ต.ค. 2564 | 09:41 น.
อัปเดตล่าสุด :01 ต.ค. 2564 | 16:54 น.
704

กฎบัตรไทย -รัฐ-เอกชน 15องค์กร ชง “บิ๊กตู่”  ใช้ระบบการส่งเสริมสุขภาพ เวลเนส  กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ ทั้งระหว่างโควิดระบาด-หลังเชื้อโรคร้ายสงบ เพื่อบรรลุเป้าหมายการเปิดประเทศ 120 วันของรัฐบาล

 

นโยบายการเปิดประเทศ 120 วันของนายกรัฐมนตรีเพื่อรองรับผู้เยี่ยมเยือนจากต่างประเทศ ตอบสนองการพลิกฟื้นเศรษฐกิจในช่วงการระบาดและภายหลังการระบาดของ โควิด-19 โดยในเดือน กรกฎาคม 2564 รัฐบาลได้ประกาศเปิดภูเก็ตแซนด์บ๊อกซ์ รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของ ประเทศเป็นพื้นที่นำร่อง นั้น

 

นายฐาปนา บุณยประวิตร เลขานุการกฎบัตรไทย นายกสมาคมการผังเมืองไทย เปิดเผย”ฐานเศรษฐกิจ”ว่ากฎบัตรไทย ยื่นข้อเสนอ  ถึง  พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี  กรณี แนวทางพลิกฟื้นเศรษฐกิจประเทศ ระหว่างและภายหลังการระบาดของโควิด-19 โดย พิจารณาใช้ระบบการส่งเสริมสุขภาพหรือ wellness systemเป็นกลไกขับเคลื่อนการพลิกฟื้นเศรษฐกิจ เพื่อบรรลุเป้าหมายการเปิดประเทศ 120 วันของรัฐบาล

“กฎบัตรไทย สมาคมการผังเมืองไทย สมาคมการส่งเสริมสุขภาพไทย สมาคมโรงแรม ที่พักส่งเสริมสุขภาพอันดามันและอ่าวไทย พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายภาครัฐและภาคเอกชน 15 องค์กร เห็นด้วย อย่างยิ่งกับนโยบายดังกล่าว กฎบัตรไทยพร้อมด้วยองค์กรภาคีเครือข่ายยินดีให้การสนับสนุนทรัพยากรด้านต่างๆ เพื่อให้โครงการบรรลุเป้าหมายการเปิดประเทศ 120 วัน”

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เป้าหมายการฟื้นฟูเศรษฐกิจของ ประเทศบรรลุอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการสนับสนุน กฎบัตรไทย  จึงขอเสนอแนวทางการพลิกฟื้นเศรษฐกิจด้วยโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ หรือWellness Program  พร้อมด้วยรูปแบบการบริหารจัดการด้านการตลาดและการจัดการเชิงพื้นที่ ทั้งในพื้นที่แซนด์บ๊อกซ์และพื้นที่ ศูนย์เศรษฐกิจการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งแนวทางดังกล่าว จะช่วยให้เป้าหมายการเปิด ประเทศ 120 วันของนายกรัฐมนตรีประสบความสำเร็จ 

  ทั้งนี้ กฎบัตรไทย สมาคมการผังเมืองไทยและองค์กรภาคีเครือข่าย ขอสนับสนุนแนวทางของรัฐบาล ในการควบคุมการระบาดของโควิด-19 และพร้อมระดมทรัพยากรและเครือข่ายพันธมิตรกฎบัตรไทย สร้างความ ร่วมมือกับรัฐบาลในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและการเปิดประเทศ ดังกล่าว

 

จากรายงานตามติดเศรษฐกิจไทยเส้นทางสู่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของธนาคารโลก ประจำเดือน กรกฎาคม 2564 ได้แสดงให้เห็นความคืบหน้าของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ การลดผลกระทบจาก โควิด-19 และการปรับปรุงแผนงานโครงการเพื่อวางรากฐานการพัฒนาประเทศในอนาคต ดังจะเห็นได้จากการหด ตัวที่ลดลงร้อยละ 2.6 ของเศรษฐกิจในไตรมาส 1 ปี 2564 เทียบจากการระบาดระลอกแรกในปี 2561 ที่หดตัว ร้อยละ 6.1 ทำให้ไตรมาส 1 ปี 2564

การลงทุนภาคเอกชนและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมได้กลับมาฟื้นตัวสู่ระดับ ใกล้เคียงกับช่วงการระบาดของโควิด-19 อย่างไรก็ตาม การระบาดในระลอกสาม ความรุนแรงของโควิด-19  ได้ส่งผลกระทบมากกว่าการระบาดสองรอบแรก รัฐบาลได้ใช้มาตรการด้านต่างๆ เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ ส่งผลต่อประชาชน

อาทิ มาตรการด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนยานยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกล และผลผลิตทางการเกษตร รวมทั้งมาตรการให้เงินเยียวยา มาตรการด้านสาธารณสุข มาตรการโครงการฟื้นฟู เศรษฐกิจ รวมถึงมาตรการด้านการคลัง ซึ่งได้ช่วยประคับประคองอุปสงค์ของภาคเอกชน ช่วยกระตุ้นการบริโภค ในภาคครัวเรือน ที่สามารถบรรเทาปัญหาการครองชีพของกลุ่มเปราะบางได้อย่างมีนัยสำคัญ

 รายงานยังได้ตั้งข้อสังเกตว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะไม่กลับไปอยู่ในระดับก่อนการระบาดจนถึงปี 2565  โดยการฟื้นตัวจะเป็นไปอย่างช้าๆ ไม่สม่ำเสมอ การขยายตัวทางเศรษฐกิจของปี 2564 จากการคาดการณ์ในเดือน มีนาคม 2564 นั้น จะเปลี่ยนแปลงจากร้อยละ 3.4 มาเป็นร้อยละ 2.2 จากการระบาดระลอกสามและการลดลง ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เฉพาะผลกระทบจากโควิด-19 และความเปลี่ยนแปลงในภาคการท่องเที่ยวนั้น รายงานของธนาคารโลกสอดคล้องกับรายงาน Research Intelligence (มกราคม 2564)

เรื่องธุรกิจท่องเที่ยวและ โรงแรมหลังโควิด-19 ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ซึ่งได้แสดงแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการท่องเที่ยว ระยะยาวของต่างชาติอันเป็นกลุ่มเป้าหมายการท่องเที่ยวของไทย โดยชี้ว่า ไทยอาจไม่สามารถเป็นจุดหมายปลาย ทางการท่องเที่ยวของโลก หากยังใช้การท่องเที่ยวรูปแบบเดิม และไม่อาจคาดหวังนักท่องเที่ยวจำนวน 40 ล้านคน

ตามเป้าหมายที่กำหนดในช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 ทั้งนี้ จากการคาดการณ์ของธนาคาร พบว่าในปี 2563 ไทยสูญเสียรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 1.5 ล้านล้านบาทจากที่เคยได้รับ 1.9 ล้านล้านบาทในปี 2562  เฉพาะธุรกิจโรงแรมเฉลี่ย 11 เดือนแรกของปี 2563 อัตราการเข้าพักลดลงเหลือร้อยละ 29.3 เทียบจากปี 2562 ที่ เคยได้รับอัตราการเข้าพักสูงถึงร้อยละ 69.7 

 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ได้เสนอให้รัฐพิจารณา 6 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงภาคการบริการ ท่องเที่ยว ประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงด้านประชากรและสังคม การปรับปรุงโครงสร้างการท่องเที่ยวให้ตอบ โจทย์รายบุคคล การนำเทคโนโลยีปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจ และสุขภาพและความสะอาดมาเป็นอันดับ หนึ่ง ซึ่งปัจจัยด้านสุขภาพและความสะอาดเป็นอันดับหนึ่งนั้น ธนาคารได้ชี้ให้เห็นความสำคัญของการส่งเสริม สุขภาพหรือกจิกรรมเวลเนสที่เป็น Mega Trend หรือแรงผลักดันการพัฒนาเศรษฐศาสตร์มหภาคในระดับโลก

สอดคล้องกับผลการศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ที่พบการเติบโตในบางสาขาเศรษฐกิจในช่วงการระบาดของโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ สาขาการให้บริการรักษาพยาบาล (Medical Supplies) บริการส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Services) และสาขาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ (Healthy Products) กล่าวเฉพาะ สาขาการส่งเสริมสุขภาพ

นับเป็นสาขาเศรษฐกิจที่รวมเอาระบบซับพลายเชน หลายภาคการผลิตและการบริการสำคัญๆ ไว้ นับตั้งแต่ การเกษตรต้นน้ำ อาหารปลอดภัย อาหารส่งเสริม สุขภาพ อาหารการแพทย์ สมุนไพร ผลิตภัณฑ์ความงาม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพร การแพทย์แผน ไทย หรือการแพทย์ทางเลือก การท่องเที่ยวสุขภาพ โรงแรมส่งเสริมสุขภาพ (wellness Hotel) ซึ่งแต่ละสาขา ย่อยของการส่งเสริมสุขภาพ ล้วนเป็นกลไกสำคัญในการกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจฐานราก มีความสัมพันธ์ ทางตรงกับการจ้างงานนวัตกรรมที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและพลิกฟื้นเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักได้