สรุป "เยียวยาล่าสุด" ช่วยผู้ประกันตน-อาชีพอิสระ-ร้านค้า พื้นที่สีแดงเข้ม

13 ก.ค. 2564 | 17:11 น.
อัปเดตล่าสุด :14 ก.ค. 2564 | 00:56 น.
20.6 k

สรุปมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี "มาตรการเยียวยาโควิด" ล่าสุด ช่วย "ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 " อาชีพอิสระ ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไป ลดผลกระทบเคอร์ฟิว-ล็อกดาวน์ ในพื้นที่สีแดงเข้ม  

วันที่ 13 ก.ค. 64 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติเห็นชอบ "มาตรการเยียวยาโควิด" ล่าสุด เพื่อช่วยเหลือ "ผู้ประกันตน ในระบบประกันสังคม มาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40

รวมทั้งแรงงานนอกระบบ อาชีพอิสระ ผู้ประกอบการ-กิจการ-ร้านค้า และประชาชนทั่วไป ที่ได้รับผลกระทบจากข้อกำหนดศบค.ฯ ฉบับที่ 27

ที่มี ประกาศเคอร์ฟิว มาตรการล็อกดาวน์ ในพื้นที่ 10 จังหวัดสีแดงเข้ม หรือ พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ประกอบด้วย

  1. กรุงเทพมหานคร
  2. นครปฐม
  3. นนทบุรี
  4. ปทุมธานี
  5. สมุทรปราการ
  6. สมุทรสาคร
  7. นราธิวาส
  8. ปัตตานี
  9. ยะลา
  10. สงขลา 

"ฐานเศรษฐกิจ" ตรวจสอบมติครม. พบข้อมูลมาตรการเยียวยาโควิดล่าสุด ซึ่งใช้ชื่อมาตรการว่า "มาตรการให้ความช่วยเหลือในระยะเร่งด่วนแก่แรงงานและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ 10 จังหวัด"

ซึ่งพบว่ามีการแบ่งย่อยรายละเอียดในการช่วยเหลือแรงงานและผู้ประกอบการใน 2 กลุ่มกิจการ กิจการ 9 หมวดของประกันสังคม กับ กิจการใน 5 กลุ่มของแอปพลิเคชั่นถุงเงิน ดังนี้ 

กิจการ 9 หมวดประกอบด้วยของประกันสังคม ประกอบด้วย

  1. ก่อสร้าง 
  2. ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร
  3. ศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ 
  4. กิจกรรมการบริการต้านอื่นๆ 
  5. ขายส่งขายปลีกและซ่อมยานยนต์ 
  6. ขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
  7. กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน
  8. กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ และกิจกรรมทางวิชาการ 
  9. ข้อมูลข่าวสารและสื่อสาร

กิจการใน 5 กลุ่มของถุงเงิน ประกอบด้วย

1. ร้านอาหารและเครื่องดื่ม 
2. ร้าน OTOP 
3. ร้านค้าทั่วไป 
4. ร้านค้าบริการ
5 กิจการขนส่งสาธารณะ (ไม่รวมกิจการขนาดใหญ่)

จากนั้นมติครม.ได้ลงรายละเอียดในมาตรการช่วยเหลือเยียวยาให้กับแรงงาน-ผู้ประกอบการ แต่ละกลุ่มประเภทกิจการ ดังนี้ 

ลูกจ้าง ม.33 ในกิจการหมวด 9 

  • ประกันสังคมจ่ายชดเซยเยียวยา เหตุสุดวิสัย 50% ของรายไต้ ให้ลูกจ้างโดยตรง (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท)
  • รัฐบาลจ่ายเพิ่มเติมให้ลูกจ้างในระบบประกันสังคม (สัญชาติไทย) อีก 2,500 บาทต่อคน 

 

นายจ้าง ม.33 ในกิจการหมวด 9  

  1. รัฐบาลจ่ายให้นายจ้างในระบบประกันสังคม ตามจำนวนลูกจ้าง 3,000 บาท/หัว (สูงสุดไม่เกิน 200 คน) 

 

ผู้ประกันตน มาตรา39 และมาตรา 40 

  • รัฐบาลช่วยเหลือในอัตรา 5,000 บาท เป็นเวลา 1 เดือน 

 

อาชีพอิสระ-ผู้ที่อยู่นอกระบบ ม.33 

  • เตรียมหลักฐานเพื่อลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 
  • รัฐบาลช่วยเหลือค่าใช้จ่าย 5,000 บาทต่อคน 

ผู้ประกอบการหรือ นายจ้าง ที่มีลูกจ้างแต่ปัจจุบันไม่ได้อยู่ในระบบ

  • ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 โดยรัฐบาลจะจ่ายเงินช่วยเหลือ ดังนี้
  1. นายจ้าง จะได้รับเงิน 3,000 บาทต่อหัวลูกจ้าง (สูงสุดไม่เกิน 200 คน)
  2. ลูกจ้างสัญชาติไทย จะได้รับเงินช่วยเหลือ 2,500 บาทต่อคน

 

ผู้ประกอบการที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมและไม่มีลูกจ้าง 

  • เตรียมหลักฐานเพื่อลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 
  • รัฐบาลช่วยเหลือค่าใช้จ่าย 5,000 บาทต่อคน

 

ผู้ประกอบการในระบบ"ถุงเงิน" ใน 5 หมวด ภายใต้โครงการคนละครึ่ง และโครงการเราชนะ ในปัจจุบันที่มีลูกจ้าง

  • ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 โดยรัฐบาลจะจ่ายเงิน ช่วยเหลือ ดังนี้
  1. นายจ้าง จะได้รับเงิน 3,000 บาทต่อหัวลูกจ้าง (สูงสุดไม่เกิน 200 คน)
  2. ลูกจ้างสัญชาติไทย จะได้รับเงินช่วยเหลือ 2,500 บาทต่อคน

 

ผู้ประกอบการในระบบ"ถุงเงิน" ใน 5 หมวด ภายใต้โครงการคนละครึ่ง และโครงการเราชนะ ในปัจจุบันที่ไม่มีลูกจ้าง 

  • เตรียมหลักฐานเพื่อลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ภายในเดือนกรกฎคม 2564
  • รัฐบาลช่วยเหลือค่าใช้จ่าย 5,000 บาทต่อคน

สรุป \"เยียวยาล่าสุด\" ช่วยผู้ประกันตน-อาชีพอิสระ-ร้านค้า พื้นที่สีแดงเข้ม