แม่ทัพหญิง IBM "พลิกมุมคิด วิกฤต หรือโอกาส"

29 ก.ย. 2563 | 19:58 น.
อัปเดตล่าสุด :24 พ.ย. 2565 | 05:14 น.

ยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในทุกๆ ภาคส่วนของการดำรงชีวิต หลายคนคงมองว่าธุรกิจเทคโนโลยีอย่าง ไอบีเอ็ม น่าจะได้เปรียบกว่าธุรกิจอื่นๆ แต่ในความเป็นจริง แม้แต่ธุรกิจระดับโกลบอลอย่างไอบีเอ็ม ก็ต้องปรับตัว

"ปฐมา จันทรักษ์" รองประธานด้านการขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีนและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด ได้มาแขร์ประสบการณ์ในงานสัมมนาหลักสูตร Digital Transformation For CEO รุ่นที่ 2 ในหัวข้อ"พลิกมุมคิด วิกฤต หรือโอกาส" ไว้อย่างน่าสนใจ หลังจากจัดทัพ และผลักดันไอบีเอ็มให้เดินหน้าได้อย่างสง่างาม ในยุคที่ต้องเผชิญกับมรสุม Digital Disruption แถมยังกระหน่ำซ้ำด้วยโควิด - 19

แม่ทัพหญิง IBM \"พลิกมุมคิด วิกฤต หรือโอกาส\"

แม่ทัพหญิงไอบีเอ็ม เเชร์ข้อคิดว่า องค์กรที่จะผ่านพ้นมรสุมทั้ง 2 ลูกที่ว่านั้นไปได้ ต้องทำ 3 อย่าง สิ่งแรก คือ ต้องใช้วิธี Outside In ดูว่าลูกค้าต้องการอะไร แล้วปรับบิซิเนสโมเดล สินค้าหรือบริการ ให้สนองตอบ ส่วนอะไรในช่วงโควิด ลูกค้าไม่ซื้อแน่ ตัดทิ้งเลย

สิ่งที่ 2 ต้องมาดูว่าบิซิเนสโมเดลที่ทำอยู่ใช้ได้หรือเปล่า ต้องคิดนอกกรอบ เอา Innovation at Skill เข้ามาช่วยคิดและปรับตัว สิ่งที่ 3 ที่ต้องทำคือ หลายๆ องค์กร เขาใช้โอกาสตรงนี้ นำเอาเทคโนโลยี เข้ามาช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และสเกลงานให้ได้เร็วยิ่งขึ้น

นี่คือ 3 หัวใจของความสำเร็จองค์กร ซึ่งไอบีเอ็มก็นำมาใช้ด้วยเช่นกัน

"ปฐมา" เล่าว่า ในฝั่งของไอบีเอ็ม ภาพเดิมที่คนมองไอบีเอ็มเข้ามา คือการเป็นโซลูชั่น หรือเป็นระบบหลังบ้านสำหรับองค์กรใหญ่ แต่วันนี้ไม่ใช่ ไอบีเอ็มปรับตัว โดยมีการจับมือกับพันธมิตร เพื่อหาโอกาสที่จะช่วยธุรกิจขนาดกลางและเล็ก เช่น การจับมือกับเอไอเอส นำโซลูชั่นด้านคลาวด์เบสซัพพอร์ตให้ลูกค้าขนาดกลางและเล็กของเอไอเอส หรือการจับมือไอเน็ตเพื่อเข้าสู่ลูกค้าเอสเอ็มอีมากขึ้น

วันนี้ ไอบีเอ็มกำลังเดินหน้า นำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ คลาวด์ และบล็อกเชน เข้าสนับสนุนอีโคซิสเต็มของธุรกิจต่างๆ ในทุกอุตสาหกรรมโดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อยอย่างเอสเอ็มอี ให้ประสบความสำเร็จ

แม่ทัพหญิง IBM \"พลิกมุมคิด วิกฤต หรือโอกาส\"

เธอยกตัวอย่างพาร์ทเนอร์รายสำคัญ อย่าง เดอะมอลล์กรุ๊ป ซึ่งนำเทคโนโลยีเอไอ และระบบคลาวด์ไอบีเอ็มเข้าไปใช้

"เดอะมอลล์เป็นองค์กรแรก ที่เอาเอไอ มาทำ Personalized Shopping โดยนำฐานข้อมูลจากสมาชิก M Card ที่มีอยู่ 5 ล้านราย และ SCB M อีกกว่าราย มาข่วยในการ Customization ด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป การซื้อก่อนโควิด ซื้อเพราะอยากซื้อ แต่การซื้อเมื่อเจอโควิดไปแล้ว คือ ซื้อเพราะจำเป็น หรือซื้อเพราะมีโปรโมชั่นดีๆ"
 

ผลจากการเชื่อมโยงและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด ทำให้ได้ข้อมูลที่แม่นยำถึง 60 เท่า และยกลดต้นทุนได้ด้วย จากการลงทุนด้านเทคโนโลยี

แม่ทัพหญิง IBM \"พลิกมุมคิด วิกฤต หรือโอกาส\"

ในขณะเดียวกัน ปตท. เทรดดิ้ง ก็ลงทุนนำเอไอมาช่วยบริหารจัดการระบบลูกหนี้ เจ้าหนี้ และการตามหนี้ ซึ่งนอกจากลดเวลากระบวนการทำงานได้แล้ว ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้เกือบ 17 ล้านบาท โดยงานซ้ำซากจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเอไอแทน แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น การที่หลายๆ คนกังวลว่า อนาคต เอไอจะเข้ามาทำงานแทนมนุษย์ เรื่องนี้ "ปฐมา" บอกเลยว่า คงต้องใช้เวลาอีกนาน เพราะมนุษย์มีความเข้มแข็ง ทั้งเรื่องของสามัญสำนึก (Common Sense) ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) รวมถึงการตัดสินใจที่ใช้ประสบการณ์ ส่วนเทคโนโลยี จะเข้ามาช่วยเสริมเรื่องของการหาข้อมูล การวางแพทเทิร์น โดยไม่มีอคติ (Bias) ยิ่งเราป้อนข้อมูลให้เยอะๆ เทคโนโลยีก็จะชาวยเราได้มากขึ้น แม่นยำมากขึ้น เพราะฉะนั้น มนุษย์ และเทคโนโลยี หรือเอไอ ต้องทำงานร่วมกัน จึงจะทำให้องค์กรเดินหน้าไปได้

วันนี้ คนวางบิซิเนสโมเดลต้องคิดนอกกรอบ หลายๆ ที่ปรับวิธีทำบิซิเนสโมเดลใหม่ เพราะฉะนั้น หากจะก้าวผ่านวิกฤติโควิด -19 และ Digital Transformation ได้ ต้องคำนึกถึง Humans at Center, Innovation at Scale และ Teachology at Speed เป็นสำคัญ...นั่นคือสิ่งที่ ซีอีโอหญิงคนนี้ย้ำปิดท้าย

 

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40 หน้า 24 ฉบับที่ 3,612 วันที่ 24 - 26 กันยายน พ.ศ. 2563