ThaiBMA ชี้ผิดนัดชำระหุ้นกู้ ยังไม่กระทบตลาดตราสารหนี้ไทย 9 เดือนโต 5.8%

05 ต.ค. 2566 | 12:58 น.
อัปเดตล่าสุด :05 ต.ค. 2566 | 12:58 น.

ThaiBMA ชี้แม้อัตราดอกเบี้ยขาขึ้นตั้งแต่ต้นปี บางรายเกิดปัญหาในการชำระหนี้หุ้นกู้ แต่ไม่กระทบตลาดตราสารหนี้ไทย ยังคงขยายตัว 5.8% ในช่วง 3 ไตรมาสแรกปี 66 หุ้นกู้เครดิตสูงยังขายได้ตามเป้า

(5 ต.ค. 66) ดร.สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยว่า ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2566 ที่ผ่านมาตลาดตราสารหนี้ไทยยังขยายตัวได้ 5.8% จากสิ้นปี 2565 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของพันธบัตร รัฐบาล และหุ้นกู้ภาคเอกชน เป็นหลัก

แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะปรับตัวสูงขึ้นโดยตลอดตั้งแต่ต้นปี และเอกชนบางรายเกิดปัญหาในการชำระหนี้คืน แต่มูลค่าคงค้างในตลาดตราสารหนี้ไทย ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2566 ยังขยายตัว 5.8% มีมูลค่าเท่ากับ 16.7 ล้านล้านบาท จากสิ้นปีที่ผ่านมา 

ในส่วนของการออกตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะยาว (หุ้นกู้) ในช่วง 3 ไตรมาสของปี 2566 มีมูลค่า 824,557 ล้านบาท คิดเป็น 65% ของมูลค่าการออกทั้งปี 2565 โดยผู้ออกภาคเอกชนที่มีอันดับเครดิตสูงยังสามารถออก และเสนอขายหุ้นกู้ได้ตามที่ต้องการ ขณะที่ผู้ออกบางส่วนได้ชะลอการออกหุ้นกู้ไปก่อนเพื่อรอจังหวะตลาด และอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม 

กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการออกหุ้นกู้ สูงสุดคือกลุ่มเงินทุน และหลักทรัพย์ ตามมาด้วย กลุ่มพลังงาน กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มธนาคาร 

ดร.สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA)

ด้านกระแสเงินลงทุนจากต่างประเทศ (Fund flow) ของนักลงทุนต่างชาติ มียอดการขายสุทธิตราสารหนี้ไทย ติดต่อกันใน 3 ไตรมาสแรก ทำให้มียอดการขายสุทธิสะสม 1.5 แสนล้านบาท 

โดยการถือครองตราสารหนี้ไทยของนักลงทุน ต่างชาติ ณ สิ้นไตรมาส 3 มียอดรวมที่ 9.4 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 5.6% ของมูลค่าคงค้างตลาดตราสารหนี้ไทย โดยตราสารหนี้ไทยที่ต่างชาติถือครองมีอายุคงเหลือเฉลี่ยที่ 8.3 ปี เพิ่มขึ้นจาก 8.0 ปี เมื่อ ณ สิ้นปี 2565 

ThaiBMA ชี้ผิดนัดชำระหุ้นกู้ ยังไม่กระทบตลาดตราสารหนี้ไทย 9 เดือนโต 5.8%

นางสาวอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ ThaiBMA กล่าวว่า หุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 7% ระยะ 9 เดือนปี 66 เอกชนออกหุ้นกู้รวม 8.24 แสนล้านบาท 

ขณะที่หุ้นกู้คงค้างที่มีปัญหา ณ สิ้นเดือน ก.ย. 66 อยู่ที่ 39,765 ล้านบาท แต่ยังถือว่าเป็นระดับที่ไม่น่ากังวล เพราะหากเทียบทั้งระบบคิดเป็นแค่เพียง 1% จากหุ้นกู้ทั้งระบบ 4.81 ล้านล้านบาท

ยอดการออกหุ้นกู้ระยะยาวทั้งปี 2566 มียังโอกาสแตะที่ระดับ 1 ล้านล้านบาท ซึ่งสูงกว่ายอดการออกเฉลี่ยในช่วง 7 ปี (ปี 2559 - 2565) ที่ 9.5 แสนล้านบาท

ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย (Government bond yield curve) ในช่วง 3 ไตรมาสแรก ของปี 2023 ปรับตัวสูงขึ้นทุกช่วงอายุ โดยมีความชันลดลงจากการปรับเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากของ Bond yield ระยะสั้นตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย 5 ครั้งในปี 2566 

อีกทั้งการประกาศแผนการออกพันธบัตร รัฐบาลในปีงบประมาณ 2567 ที่เพิ่มขึ้น 0.16 ล้านล้านบาท จากปีงบประมาณที่ผ่านมา ประกอบกับเริ่มมีความ ชัดเจนในนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลหลายโครงการ ส่งผลให้ Bond yield ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว 1

ในช่วงเดือนสุดท้ายของไตรมาส 3 โดย Bond yield ไทยรุ่นอายุ 2 ปี ปรับตัวสูงขึ้น 90 bps. จากสิ้นปีที่แล้ว มาอยู่ที่ 2.54% ส่วน Bond yield 10 ปี ปรับตัวสูงขึ้น 54 bps. มาอยู่ที่ 3.18% ณ สิ้นไตรมา 3 

ThaiBMA ชี้ผิดนัดชำระหุ้นกู้ ยังไม่กระทบตลาดตราสารหนี้ไทย 9 เดือนโต 5.8%

ส่วนอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ภาคเอกชน (Corporate bond yield curve) อายุ 5 ปีของหุ้นกู้ทุก อันดับเครดิตปรับตัวสูงขึ้น 64-87 bps. ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2566 ใกล้เคียงกับการปรับขึ้นของอัตรา ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล 

โดย ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2566 อันดับเครดิต AAA ปรับตัวมาอยู่ที่ 3.48% ที่ AA ที 3.73% A ที 3.94% BBB+ ที 4.95% และ BBB ที่ 5.90% สำหรับการประมาณการยอดการออกหุ้นกู้ในปี 2566