“นฤมล” หนุนใช้น้ำหมักชีวภาพปลาหมอคางดำ สู้โรคใบร่วงยางพารา

30 ม.ค. 2568 | 11:12 น.
อัปเดตล่าสุด :30 ม.ค. 2568 | 11:16 น.

“รมว.นฤมล” หนุนใช้น้ำหมักชีวภาพปลาหมอคางดำ สู้ศึกโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา ตั้งเป้าฟื้นฟูสวนยางควบคู่ลดปริมาณปลาหมอคางดำ

ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมหลักสูตรการส่งเสริมการใช้น้ำหมักชีวภาพปลาหมอคางดำ เพื่อฟื้นฟูสวนยางพาราที่เป็นโรคใบจุดกลมจากเชื้อ Colletotrichum siamense (ใบร่วงชนิดใหม่) ประจำปี 2568 ว่า การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ได้จัดทำโครงการอบรมหลักสูตรการส่งเสริมการใช้น้ำหมักชีวภาพปลาหมอคางดำ

“นฤมล” หนุนใช้น้ำหมักชีวภาพปลาหมอคางดำ สู้โรคใบร่วงยางพารา

เพื่อฟื้นฟูสวนยางพาราที่เป็นโรคใบจุดกลมจากเชื้อ Colletotrichum siamense (ใบร่วงชนิดใหม่) ประจำปี 2568 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้ในการใช้น้ำหมักชีวภาพปลาหมอคางดำ ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่สามารถช่วยฟื้นฟูต้นยางพาราที่ได้รับผลกระทบจากโรคใบร่วงชนิดใหม่

“นฤมล” หนุนใช้น้ำหมักชีวภาพปลาหมอคางดำ สู้โรคใบร่วงยางพารา

ทั้งนี้โครงการอบรมดังกล่าวจัดทำขึ้นเพื่อเป็นสร้างความเข้าใจแก่เกษตรกรชาวสวนยางให้สามารถสำรวจต้นยางและประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิดโรคระบาดในสวนยางพาราของตนเองได้ ซึ่งแนวทางการป้องกันและแก้ปัญหาโรคระบาดในสวนยาง โดยเฉพาะโรคใบร่วงชนิดใหม่ ปัจจุบันเรียกว่า โรคใบจุดกลมจากเชื้อ Colletotrichum siamense กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 

 

ทั้งนี้ การยางแห่งประเทศไทย ได้ติดตามสถานการณ์และเฝ้าระวังการแพร่ระบาดอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งได้ดำเนินการศึกษาและทบทวนแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาตามมาตรการต่างๆ  เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว รวมถึงดำเนินการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรชาวสวนยาง อาทิ การสนับสนุนปัจจัยการผลิต และพันธุ์ยางต้านทานโรคให้แก่เกษตรกร เป็นต้น

“นฤมล” หนุนใช้น้ำหมักชีวภาพปลาหมอคางดำ สู้โรคใบร่วงยางพารา

ศ.ดร.นฤมล กล่าวทิ้งท้ายว่าdนอกจากการสนับสนุนการใช้น้ำหมักชีวภาพปลาหมอคางดำ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางพาราแล้ว ยังเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่พี่น้องเกษตรกรภาคประมง ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำอีกด้วย

“นฤมล” หนุนใช้น้ำหมักชีวภาพปลาหมอคางดำ สู้โรคใบร่วงยางพารา