พลอากาศโท ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กรรมการ กสทช. ด้านกิจการกระจายเสียง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการคลื่นความถี่และมาตรฐานทางเทคนิค กสทช. เปิดเผยว่า บอร์ด กสทช. มีมติเห็นชอบประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้คลื่นความถี่ทางการบิน โดยเป็นการปรับปรุงคลื่นความถี่และระบบการขออนุญาตใช้คลื่นความถี่ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ลดความซับซ้อนในการขออนุญาต เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจการการบินของประเทศไทย โดยมีผลบังคับใช้หลังประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา
พลอากาศโทดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ
ประกาศดังกล่าวเป็นการกำหนดคลื่นความถี่ทางการบิน หมายรวมถึง คลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการเคลื่อนที่ทางการบิน กิจการเคลื่อนที่ทางการบินผ่านดาวเทียม กิจการเคลื่อนที่ผ่านดาวเทียม กิจการวิทยุนำทาง กิจการวิทยุนำทางทางการบิน และกิจการวิทยุหาตำแหน่ง ที่มีวัตถุประสงค์สำหรับการติดต่อสื่อสารและรับส่งข้อมูลที่เกี่ยวกับการบิน การสนับสนุนการเดินอากาศของอากาศยาน การนำทาง การติดตามอากาศยาน การสื่อสารในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน และการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานที่ประสบภัย โดยได้ดำเนินการสอดคล้องกับข้อบังคับของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) และอนุสัญญาการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ค.ศ.1944 ที่ก่อตั้งองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ตัวอย่าง เช่น คลื่นความถี่ ย่าน 2,850 – 22,000 KHz สำหรับกิจการเคลื่อนที่ทางการบินในเส้นทางการบินพาณิชย์ หรือ คลื่นความถี่ ย่าน 130 – 535 KHz สำหรับการใช้งานวิทยุบอกตำแหน่งแบบรอบทิศทาง คลื่นความถี่ ย่าน 121.5 – 245 MHz สำหรับการใช้งานเครื่องส่งและรับสัญญาณวิทยุฉุกเฉิน เป็นต้น โดยมีขั้นตอนและวิธีการขอรับการจัดสรรคลื่นความถี่ที่ได้ลดขั้นตอนการขออนุญาต ที่ได้มอบอำนาจให้สำนักงาน กสทช. พิจารณาอนุมัติ หากสอดคล้องกับคลื่นความถี่ที่ได้กำหนดไว้ในประกาศฯ ฉบับนี้
อย่างไรก็ตาม ประกาศฯ ฉบับนี้ ยังไม่ครอบคลุม “อากาศยาน” ที่ไม่มีนักบิน หรือ โดรน (Drone) ซึ่งปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์ที่แพร่หลายในหลายวงการ รวมทั้งถือว่าเป็นอีกอุตสาหกรรมที่มีการเจริญเติบโตทั้งในด้านการวิจัยพัฒนาและการนำไปสู่การผลิตเพื่อจำหน่ายและส่งออก ซึ่งปัจจุบัน กสทช. มีประกาศที่เกี่ยวข้องกับ Drone เพียงฉบับเดียว คือ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ซึ่งมุ่งเน้นสำหรับการใช้งานเป็นการทั่วไป เท่านั้น โดยกำหนดคลื่นความถี่ที่สามารถใช้งานได้ คือ
กสทช. อนุมัติหลักเกณฑ์คลื่นความถี่ โดรน ใหม่ตามมาตรฐานสากล
“สำหรับประกาศ Drone ที่มีผลบังคับใช้เมื่อปี 2563 นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดข้อบังคับในการขึ้นทะเบียน Drone ที่ประชาชนต้องการครอบครองเพื่อใช้งานและจำกัดการใช้งานคลื่นความถี่ตามที่กำหนด เท่านั้น สำหรับมาตรการอื่นไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมสนับสนุนในการวิจัยและพัฒนารวมทั้งการผลิตหรือส่งออกนั้น ยังคงอิงกับหลักเกณฑ์การใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในภาพรวมเป็นสำคัญ จึงเห็นควรให้มีการศึกษาปรับปรุงประกาศทั้งในประเด็นการศึกษาหาคลื่นความถี่เพิ่มเติมเพื่อรองรับการใช้งานที่มากขึ้น และมาตรการส่งเสริมสนับสนุนในการ R&D รวมทั้งการผลิตและจำหน่าย ทั้งนี้มิใช่เพียงแค่อากาศยาน Drone เท่านั้น แต่อุตสาหกรรมต่อเนื่องของ Drone เช่น ระบบ Anti-Drone หรือ อุปกรณ์สนับสนุนการใช้งาน Drone ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนทั้งประเทศไทยและให้ต่างชาติมาลงทุน ซึ่งหากมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมน่าจะเกิดประโยชน์ต่อไป อย่างไรก็ตาม มาตรการกำกับดูแลการใช้งาน Drone ก็เป็นสิ่งสำคัญ คงต้องมีการประสานงานกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยที่กำกับดูแลการใช้งานพลเรือน และกองทัพที่กำกับดูแลการใช้งานด้านความมั่นคง ต่อไป” พลอากาศโท ดร.ธนพันธุ์ ฯ กล่าว