บพท. ปั้นผู้บริหารท้องถิ่นสู่นักพัฒนาเมืองมืออาชีพ

02 ก.ย. 2565 | 18:24 น.
อัปเดตล่าสุด :03 ก.ย. 2565 | 01:31 น.

บพท. ปั้นผู้บริหารท้องถิ่นสู่นักพัฒนาเมืองมืออาชีพ หนุนภาคีขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ปั้นผู้บริหารท้องถิ่นสู่นักพัฒนาเมืองมืออาชีพพร้อมยกระดับเทศบาลสู่กลไกการเติบโตใหม่ให้กับประเทศไทยอย่างยั่งยืน

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย ผนึกกำลังเปิดตัว หลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.)รุ่นที่ 1 เมื่อวันที่  2  กันยายน 2565 โดยมีผู้บริหารท้องถิ่นพร้อมภาคีพัฒนาพื้นที่จากทั่วประเทศกว่า  300  คนเข้าร่วม

บพท. ปั้นผู้บริหารท้องถิ่นสู่นักพัฒนาเมืองมืออาชีพ

โดยมี ศาสตราจารย์ นพ. สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) เป็นองค์ปาฐกพิเศษในหัวข้อ ยกระดับท้องถิ่นไทย ด้วยวิจัย และนวัตกรรม รวมถึงได้รับเกียรติจาก ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วย บพท. ร่วมแถลงเจตนารมณ์ของการเปิดหลักสูตรนี้ขึ้นมา เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของ บพท. กับการพัฒนาท้องถิ่นและกลไกฐานรากของประเทศไทย

 

รวมถึงได้ระบุถึงความสำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะฟันเฟืองชิ้นสำคัญที่กำลังจะกลายเป็น “กลไกการเติบโตใหม่” ให้กับประเทศไทยผ่านการขับเคลื่อนด้วยหลักสูตร พมส. ในงานนี้ นายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ ได้ตอกย้ำให้เห็นอีกว่า เราสามารถก้าวข้ามข้อจำกัดต่าง ๆ เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส เปลี่ยนปัญหาอุปสรรคเป็นความท้าทายที่เราสามารถชนะได้ด้วยวิจัยและนวัตกรรม

บพท. ปั้นผู้บริหารท้องถิ่นสู่นักพัฒนาเมืองมืออาชีพ

การจัดทำหลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) ครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการการยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกลไกความรู้และความร่วมมือระดับประเทศ (Enriching Local Development with a Knowledge Enhancement and the National Collaboration) ผ่านการปฎิบัติการบนฐานของการวิจัย 4 ฐาน

บพท. ปั้นผู้บริหารท้องถิ่นสู่นักพัฒนาเมืองมืออาชีพ

คือ 1. การเปลี่ยนองค์กรด้วยดิจิทัล (Digital Transformation) 2. การพัฒนาตัวแบบเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) 3. การพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานของประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Economy) และ 4. การพัฒนารายได้ และกลไกการเงินสำหรับพัฒนาท้องถิ่น (Financial Mechanism & Special Purpose Vehicle)

บพท. ปั้นผู้บริหารท้องถิ่นสู่นักพัฒนาเมืองมืออาชีพ

การพัฒนาผู้บริหารท้องถิ่นด้วยหลักสูตรนี้ รศ.ดร. ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กล่าวว่า  หลักสูตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) (City Development Executive Program : CDE) ถูกออกแบบมาเพื่อมุ่งพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและยกระดับสมรรถนะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทยให้มีขีดความสามารถทางการคลัง การจัดการ และการพัฒนานวัตกรรมร่วมสมัยที่เกิดขึ้นมาจากปฏิบัติการบนฐานงานวิจัยและกลไกความร่วมมือทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน “เชิญชวนนายกเทศมนตรีมาทำงานวิจัยกัน” ของคนในพื้นที่เป็นหลัก โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการคัดเลือกจากสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจะได้เข้าร่วมการพัฒนาทักษะ ปรับสมรรถนะ

บพท. ปั้นผู้บริหารท้องถิ่นสู่นักพัฒนาเมืองมืออาชีพ

เรียนรู้องค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนเมืองรูปแบบต่าง ๆ ตามรายละเอียดของหลักสูตร  พร้อมกับมีโอกาสได้รับทุนสนับสนุนเพื่อขับเคลื่อนปฏิบัติการการพัฒนาเมืองบนฐานงานวิจัยในพื้นที่รับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ ด้วย

บพท. ปั้นผู้บริหารท้องถิ่นสู่นักพัฒนาเมืองมืออาชีพ

ในการขับเคลื่อนหลักสูตร พมส. นี้ รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ  ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนและทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่  หน่วย บพท. ระบุว่า “การขับเคลื่อนกระบวนเรียนรู้ (Active Learning) ผ่านการลงมือปฎิบัติการเพื่อพัฒนาเมืองและพื้นที่บนฐานของงานวิจัยที่ใช้ข้อมูลความรู้ และเทคโนโลยี พร้อม ๆ กับการพัฒนาแบบเคียงบ่า เคียงไหล่ ร่วมกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ สถาบันการศึกษา ภาคเอกชน และประชาสังคม”  พมส. จึงถือเป็นแพลตฟอร์มความรู้ และความร่วมมือในระดับประเทศ เพื่อยกระดับการพัมนาท้องถิ่นปรับผู้บริหารสู่นักพัฒนามืออาชีพที่ใช้งานวิจัยเป็นฐานและผสานความร่วมจากทุกภาคส่วน

บพท. ปั้นผู้บริหารท้องถิ่นสู่นักพัฒนาเมืองมืออาชีพ

ดังนั้น หลักสูตรนี้ จึงพิจารณาผู้เข้าร่วมปฎิบัติการเพื่อพัฒนาบนฐานของงานวิจัยรุ่นละประมาณ 70 ทีมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมถึงภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม เพื่อร่วมกันผนึกกำลังทางความคิดและร่วมลงมือทำ เพื่อทำให้เกิดนวัตกรรมในการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม เพื่อนำไปสุ่การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยังยืนต่อไป