บพท.หนุน “ธุรกิจปันกัน”ยกระดับธุรกิจชุมชนสานต่อ Local Enterprises

26 ส.ค. 2565 | 12:29 น.
อัปเดตล่าสุด :26 ส.ค. 2565 | 20:42 น.
571

บพท.ต่อยอดพัฒนาเศรษฐกิจระดับฐานราก "ชุมชน"เป็นกลไกขับเคลื่อนสำคัญ ภายใต้แนวคิด “คน ของ ตลาด โมเดล” ผ่านหลักสูตร “ธุรกิจปันกัน” โฟกัสกลุ่มเป้าหมายผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน :Local Enterprises: LE

ภายใต้บทบาทของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่(บพท.) สังกัดสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ(สอวช.) 

บพท.หนุน “ธุรกิจปันกัน”ยกระดับธุรกิจชุมชนสานต่อ Local  Enterprises

“ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร.บัณฑิต   อินณวงศ์”  ผู้อำนวยการกรอบการวิจัย Local  Enterprises บพท.กล่าวว่า  ธุรกิจชุมชนเป็นหน่วยธุรกิจที่มีขนาดเล็กมาก ส่วนใหญ่พบว่ามีปัญหาด้านบริหารจัดการเรื่องการเงิน กระบวนการแรก จึงเข้าไปพัฒนาแก้ปัญหาที่รากแก้วจะทำให้เกิดการต่อยอด ของธุรกิจได้

“ปีนี้เป็นปีแรกที่จะรักษาโรคการเงิน เรียกว่า “ธุรกิจปันกัน”  หลังจากเข้าใจเรื่องต้นทุนและการบริหารจัดการทางการเงินได้แล้ว จะพาไปสู่กระบวนการเห็นตลาด และสร้างของให้ตรงกับตลาดตรงกับปริมาณ ตรงใจของผู้บริโภค จากนั้นจะกันทำมาหากินในเฟสที่ 2 เป็นลำดับต่อไป”

การพัฒนาศักยภาพของ "คน” คือ หัวใจสำคัญ ที่เจ้าของธุรกิจจะได้รู้ต้นทุน เข้าใจตนเองตื่นรู้  และวิเคราะห์ข้อมูลโดยเฉพาะข้อมูลฝั่ง Demand และ Supply มาวิเคราะห์ว่าจะสร้าง “ของ” อย่างไรให้ประสบความสำเร็จและยื่นอยู่ได้ หลังจากนั้นจึงจะไปดูในเรื่องของการตลาด”

บพท.หนุน “ธุรกิจปันกัน”ยกระดับธุรกิจชุมชนสานต่อ Local  Enterprises

ส่วนกระบวนการและเครื่องมือของหลักสูตรนั้น เริ่มจากประตูเศรษฐี ฟีเจอร์จะเน้นเรื่องสภาพคล่องของธุรกิจ โดยสามารถเช็คจาก 4 อาการ คือ เรื่องรายได้   เรื่องของกำไรขาดทุน เรื่องสภาพคล่อง และหนี้สิน ซึ่งจากอาการจะทำให้สามารถวินิจฉัยโรคการเงินระดับไหน เช่น ไข้หวัดหรือมะเร็งการเงิน ถ้าระดับมะเร็งการเงินก็จำเป็นต้องผ่าตัดจะต้องสร้างรายรับและกำจัดรายจ่ายส่วนใด เท่าไหร่  เมื่อไหร่?

 

ถัดมาสู่เศรษฐีเรือนในแบ่งเครื่องมือเป็น 3 ตอน ประกอบด้วย หว่าน:บริหารรายรับรายจ่าย/วิธีเพิ่มสินทรัพย์, พรวน: วิธีออมเงิน/หลักการลงทุน และ เก็บเกี่ยว:บริหารหนี้/เตรียมพร้อมสู่การเงินภาคธุรกิจ

เศรษฐีเรือนใน เป็นเรื่องการเงินส่วนบุคคล และการแยกบัญชีหรือกระเป๋าส่วนตัว ครอบครัว หรือธุรกิจออกจากกัน และแยกค่าแรงของตัวเองด้วย  ซึ่งจะมีเรื่องรายรับหลายๆด้านทำให้รู้ที่มาของรายได้ของครอบครัวว่ามีกี่วิธี  และมีช่องให้เติม 6-7 ช่อง

บพท.หนุน “ธุรกิจปันกัน”ยกระดับธุรกิจชุมชนสานต่อ Local  Enterprises

ส่วนรายจ่ายแบ่งเป็น 4 ส่วนคือ 

1. รายจ่ายเพื่อการดำรงชีพประกอบอาชีพ

2. บำรุงชีพ คือรายจ่าย ปัจจัย 4 และ เพื่อการศึกษาของบุตร

3. บำเรอชีพ คือ สิ่งที่ไม่จำเป็นฟุ้งเฟ้อ และ

4. บรรลัยชีพ  

 

ทั้งนี้ จากเศรษฐีเรือนใน จะไปสู่เศรษฐีเรือนนอกได้จะต้องประมาณการศักยภาพ เพราะความสามารถในการเป็น ผู้ประกอบการยังไม่มีซึ่งก็จะต้องทำการฝึกเพื่อที่จะให้ตัวเองพร้อมและมาสู่เศรษฐีเรือนนอก ซึ่งเป็นเครื่องมือเศรษฐีเรือนนอกเป็นความรู้ด้านการเงินภาคธุรกิจ

 

ด้านคุณสมบัติของคนที่จะสมัครเข้าสู่โครงการ Local Enterprises นั้นจะเป็นธุรกิจชุมชนระดับใดก็ตาม  จัดตั้งถูกกฎหมายหรือรวมกลุ่มทำธุรกิจ 3 เงื่อนไขสำคัญ  

1. ต้องอาศัยวัตถุดิบในพื้นที่ในการพัฒนาธุรกิจ

2. สร้างหรือจ้างงานในพื้นที่

3 .มีโครงสร้างกระจายรายได้แบ่งปันสู่ชุมชนของเขา

 

สำหรับในปีนี้ ธุรกิจชุมชน จาก 73 จังหวัดทั่วประเทศ สมัครเข้ามา 630 รายผ่านประตูเศรษฐีเหลือ 500 ราย และเข้าสู่เศรษฐีเรือนใน 200 รายจากนั้นจะเข้าสู่เศรษฐีเรือนนอกเพียง 50 รายเนื่องจากวินัยในการบันทึกหรือกรอกข้อมูลประเมินศักยภาพของตัวเองในทุกๆวันกลุ่มนี้จะตกไป

 

และค้นพบว่าบางท่านยังไม่มีศักยภาพในการทำธุรกิจ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องฟื้นความรู้ด้านการบริหารจัดการก่อน พร้อมทั้งจะเสริมด้วยความสามารถในการผลิต ความสามารถในการจัดการตลาด นอกเหนือจากการบริหารทางการเงินอย่างเดียว

บพท.หนุน “ธุรกิจปันกัน”ยกระดับธุรกิจชุมชนสานต่อ Local  Enterprises

“ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. บัณฑิต   อินณวงศ์” กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับผู้สมัครที่ไม่สามารถเข้าสู่เศรษฐีเรือนนอก  ทางโครงการจะให้คำแนะนำเพิ่มเติมหรือปรับรุงการจัดระเบียบคงคลังหรือไม่ซื้อเครื่องจักรบางตัวจนกว่าจะมีความพร้อมเรายังเปิดโอกาสให้กลับเข้ามาอีกครึ่ง จากนั้น จะพาเขาเข้าสู่ประตูเศรษฐี มีขึ้นเพื่อที่จะฝึกวินัยทางการเงิน โดยมี Application สำหรับการฝึกวินัยทางการเงินให้กรอกทุกวัน  พร้อมปรับเปลี่ยนทุกวัน

บพท.หนุน “ธุรกิจปันกัน”ยกระดับธุรกิจชุมชนสานต่อ Local  Enterprises

สำหรับคนที่ใช้ Application จะมีเครื่องเตือนความจำ แบ่งเป็นเฉดสี่ต่างๆบ่งบอกสถานการณ์การเงิน  เช่น  สีแดง คือวิกฤต สะท้อนว่าอีก 7 วันแย่แล้ว ถ้าหน้าสีเขียวแสดงว่าราบรื่นดี 30 วัน รวมถึงการสร้างเป็น Visual 6 กราฟเพื่อบอกว่า ช่วงนี้รายจ่ายไปตกในหมวดไหนมากที่สุด จะปรับลดลงได้หรือไม่จะลดอย่างไรก็จะมีคำแนะนำให้ด้วย

 

ในช่วงโควิด ที่ผ่านมา อาการของโรคที่ ชัด คือเรื่อง สภาพคล่อง คือ อากาศกำไรคืออาหารถ้าธุรกิจ ขาดสภาพคล่องก็จะเดินไม่ได้ ซึ่ง Application มีไว้สำหรับการบริหารสภาพคล่อง และเมื่อบริหารสภาพคล่องก็จะโชว์สถานะเป็นสีต่างๆเช่นสีแดงหมายถึงอีก 7 วันเราแย่แล้วสีเขียวหมายถึง 30 วันฉันราบรื่นดีในแต่ละสีก็จะบอกว่าต้องทำอะไรบ้าง เหมือนมีหมอบอกแก้อาการของโรคคร่าว ๆ ให้ผู้ปฏิบัติธรรมผ่านแอป เช่น สร้างรายได้หรือยัง

 

“ผลลัพธิ์จากการเรียนรู้ 3 ปีมีผู้เข้าร่วมโครงการแล้งประมาณ 1,500 ราย สิ่งที่ภูมิใจ คือผู้เข้าร่วมโครงการมีรายได้เพิ่มขึ้น 4% ทำกำไรขั้นต้นเพิ่ม 12% หนี้สินหายไปประมาณ 7% ที่สำคัญธุรกิจชุมชนขนาดเล็กที่ไม่เคยมีเงินสำรองเก็บ ปัจจุบันเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่สามารถมีเงินสำรองเก็บได้ 3 เดือน ส่วนในอนาคตยังมีแนวคิดที่จะขยายเครือข่ายพันธมิตรกลุ่มธนาคาร หรือ หอการค้า รวมถึงจะขยายผลใช้ Application ไปสู่สาธารณะหรือการให้ความรู้ทางการเงินหรือปรับใช้ Application เป็นหลักสูตรสอนเด็กติดอาวุธทางปัญญาเรื่องการเงิน”ผู้ช่วยศาสตราจารย์  บัณฑิตกล่าว

 

Local  Enterprise"เวทีนี้มีพี่เลี้ยง

 

บพท.หนุน “ธุรกิจปันกัน”ยกระดับธุรกิจชุมชนสานต่อ Local  Enterprises

นางสาวภาวริน  น้อยใจบุญ ผู้บริหารร้าน "ริน  ขนมไทย" ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ดีกรีปริญญาโท  จาก KENTSTATE UNI โอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา  นอกจาก ขนมอร่อยชื่อดัง ยังคุ้นชินกับชื่อที่รั้งตำแหน่งนักธุรกิจ นักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ดีเด่น ประจำปี 2561 

 

วันนี้เธอมาอัพเดตให้ฟังว่า  ผลกระทบจากการระบาดโควิด-19  เพื่อประคับประคองซึ่งกันและกันระหว่างสถานะของร้านและทีมงาน 45 ชีวิต เธอจำต้องขอลดชั่วโมงการทำงานทีมงาน เมื่อนักท่องเที่ยวหายหลังจาเกิดล็อคดาวน์ในหลายประเทศ ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือจากทีมพนักงานซึ่งทำหน้าที่ผลิตขนมไทย  ขณะที่ ได้รับเงินซอฟต์โลนจากธนาคารออมสิน เข้ามาเสริม

 

ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2564 เธอตัดสินใจการเข้าโครงการ ผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน (Local Enterprises: LE) ซึ่งเธอได้ร่วมงานกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต อินณวงศ์ซึ่ง เป็นผู้อำนวยการกรอบการวิจัย LE มาก่อนหน้าและมีความศรัทธาในหลักคิดของอาจารย์เป็นทุนเดิมอยู่แล้วจึงนำมาซึ่งการเข้าอบรมในโครงการนี้  โดยเริ่มจากประตูเศรษฐีที่ให้น้ำหนักกับการปรับ MINDSET ซึ่งยอมรับว่าเป็นขั้นตอนการสร้างวินัยให้มีมุมมองที่ดีและจัดกระบวนการการเงินส่วนบุคคล ภายใน 3 เดือนก็ผ่านด่านประตูเศรษฐีสู่ เศรษฐีเรือนใน และเศรษฐีเรือนนอก

 

ทั้งนี้ เมื่อเข้าสู่การใช้เครื่องมือ "เศรษฐีเรือนนอก" เป็นขั้นตอนจำลองธุรกิจ เขียนแผนธุรกิจ 3 ปี กำหนดกลยุทธ์ต่าง ๆ รวมทั้งวิธีการจัดการธุรกิจในรูปแบบที่มีการจัดการ มีฝ่ายจัดซื้อและกำหนดเป้ารายได้หรือการทำกำไร ภายใต้การแข่งขันระหว่วางผู้เข้าอบรมซึ่งแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม

บพท.หนุน “ธุรกิจปันกัน”ยกระดับธุรกิจชุมชนสานต่อ Local  Enterprises

"ระหว่างทำธุรกิจจำลองนั้น อาจารย์จะจัดนั่งครึ่งวงกลมหรือลานวงเดือน แต่ชื่อเรียกกันในกลุ่มผู้เข้าอบรมคือ ลานประหาร เพราะอาจารย์ให้เรียกให้ขึ้นไป Present แบบไม่ทันตั้งตัว ขนาดเรียนจบออกมาแล้ว นึกถึงทีไร ยังขยาดไม่หาย แต่ลานแห่งนี้ได้สร้างประสบการณ์ที่ดีมาจนทุกวันนี้"

 

นอกจากนี้คุณภาวรินยังได้ขยายความว่า การใช้  Application ในการกรอกข้อมูลในทุกๆวันนั้น ไม่ใช่เพียงวินัยทางการเงิน แต่ผู้เขาอบรมก็ได้เรื่องอื่นๆที่เป็นประโยชน์ในชีวิตและเกิดขึ้นกับตัวเอง  เป็นกระบวนการที่ฝึกเราให้คิดวิเคราะห์และสามารถนำสิ่งเหล่านั้นมาปรับใช้กับธุรกิจ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับธุรกิจได้จริง โดยอาจารย์จะให้หลัก

 

เช่น  คาถาเศรษฐี 7 ข้อ คาถาเศรษฐีเรือนนอกอีก 6 ข้อ และปลูกเมล็ดพันธุ์ ให้รู้ปัญหา สามารถวิเคราะห์จากสิ่งที่เป็นปัญหา  หรือควรเพิ่มลดอะไรในการจัดการการเงินส่วนบุคคลและธุรกิจ  ภายใต้การเล่นเกมจำลองเสมือนจริงด้วยอย่างไรก็ตาม หลังจากผ่านโครงการ LE เราสามารถซื้อวัตถุดิบในราคาลดลง  มีการลดสิ่งสูญเสียให้น้อย และนำไปใช้ประโยชน์ ส่วนรายได้อยู่ที่ประมาณ 8%แม้รายได้ยังไม่กลับไปในระดับก่อนโควิดที่ 15% อย่างน้อยก็มีสัญญาณบวก ทั้งในแง่การเพิ่มสภาพคล่องและเครดิต

 

 "ฝากถึงผู้ประกอบการรายอื่นที่ตกอยู่ในภาวะ ลำบากถ้าอยากมีชีวิตต่อแนะนำให้เข้า โครงการ LE จะทำให้รู้ตัวเรารู้ธุรกิจมีความรู้ ติดตัวไป โดยเฉพาะตัว รินเองได้รับโอกาสเข้าโครงการทั้ง 3 รุ่นต่อเนื่องทำให้มีเพื่อนในทุกรุ่นจึงมีการช่วยเหลือซึ่งดันและกัน โดยทุกคนมีใจพร้อมจะให้ความช่วยเหลือ เหล่านี้เป็นกำไรชีวิต แต่สิ่งที่ได้โดยไม่คาดคิดคือ รินได้รับรางวัลช่างเชื่อม ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะเป็นผลจากที่ได้เข้าไปมีปฎิสัมพันธ์กับเพื่อนทุกรุ่น"

 

บพท.หนุน “ธุรกิจปันกัน”ยกระดับธุรกิจชุมชนสานต่อ Local  Enterprises