เดินหน้า มช.จับมือ"แอตแลนต้า เมดดิคแคร์ "เปิดอาคารวิจัย"กัญชาทางการแพทย์"

07 ก.ค. 2565 | 14:25 น.
อัปเดตล่าสุด :07 ก.ค. 2565 | 21:42 น.

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จับมือ บริษัท แอตแลนต้า เมดดิคแคร์ จํากัด เปิดอาคารวิจัยกัญชาทางการแพทย์ วิจัยผลิตภัณฑ์จากกัญชาระดับ  Medical Grade “ผลิตในไทย มาตรฐานสากล เพื่อคนทั้งโลก” ภายใต้แนวทางใช้ทรัพยากรคุ้มค่า ไร้ของเหลือทิ้ง (zero waste)

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ บริษัท แอตแลนต้า เมดดิคแคร์ จำกัด ได้ร่วมมือกันเพื่อผลักดันการใช้ประโยชน์จากกัญชา โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ในระดับ Medical Grade เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์  คำนึงถึงความปลอดภัย และประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วยเป็นสำคัญ โดยหลังจากการลงนามความร่วมมือ บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เรื่อง วิจัย พัฒนา เพื่อผลิตสารสกัดกัญชาระดับ Medical Grade เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2562 ไปแล้วนั้น ทั้งสองฝ่ายได้ดำเนินความร่วมมือมาอย่างต่อเนื่อง

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ บริษัท แอตแลนต้า เมดดิคแคร์ จำกัด ได้จัดงานพิธีมอบอาคารวิจัยกัญชาทางการแพทย์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท แอตแลนต้า เมดดิคแคร์ จำกัด

เดินหน้า มช.จับมือ\"แอตแลนต้า เมดดิคแคร์ \"เปิดอาคารวิจัย\"กัญชาทางการแพทย์\"

เดินหน้า มช.จับมือ\"แอตแลนต้า เมดดิคแคร์ \"เปิดอาคารวิจัย\"กัญชาทางการแพทย์\"

โดยอาคารดังกล่าวได้รับการออกแบบและดำเนินการตามมาตรฐาน GMP PIC/S ตามหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตยาตามมาตรฐานระดับสากล มีการควบคุมคุณภาพในทุกขั้นตอนการปลูก และมีการใช้เทคโนโลยี Indoor Cultivation มาตรฐานระดับ World-Class ซึ่งสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกได้ทั้งหมด จึงสามารถมั่นใจในคุณภาพของกัญชา ที่จะใช้ในการศึกษาวิจัยการผลิตยาและการวิจัยทางคลินิก อาคารวิจัยดังกล่าวตั้งอยู่ที่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีมูลค่าประมาณ 17 ล้านบาท

 

พิธีมอบอาคารดังกล่าวได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดรุณี นาพรหม คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ กล่าวต้อนรับ ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล รองอธิการบดี/ประธานคณะทำงานโครงการวิจัยด้านกัญชา กัญชงและพืชเสพติด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน นายศุภเดช อำนวยสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทแอตแลนต้า เมดดิแคร์ จำกัด กล่าวนโยบายของบริษัทในการสนับสนุนงานวิจัยกัญชาทางการแพทย์ และศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดี กล่าวแสดงความขอบคุณ 

เดินหน้า มช.จับมือ\"แอตแลนต้า เมดดิคแคร์ \"เปิดอาคารวิจัย\"กัญชาทางการแพทย์\"

เดินหน้า มช.จับมือ\"แอตแลนต้า เมดดิคแคร์ \"เปิดอาคารวิจัย\"กัญชาทางการแพทย์\"

นายแพทย์นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  กล่าวว่า ภารกิจมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีนโยบายมุ่งเน้นการศึกษา วิจัยและพัฒนากัญชา เพื่อใช้ในทางการแพทย์เป็นหลัก เนื่องจาก ทางมหาวิทยาลัย มีทีมวิจัยที่เชี่ยวชาญตลอดทั้ง Value Chain ของการใช้ประโยชน์ของกัญชาเพื่อการแพทย์ โดยเริ่มตั้งแต่ต้นน้ำ คือ การคัดเลือกพัฒนาสายพันธุ์ และหาสภาวะในการปลูกที่เหมาะสมโดยคณะเกษตรศาสตร์ ส่วนกลางน้ำการสกัด การควบคุมคุณภาพ นำไปสู่การพัฒนาเป็นสูตรยาโดยคณะเภสัชศาสตร์ ไปจนถึงปลายน้ำคือการทดสอบและการนำไปใช้ทางการแพทย์ ร่วมกับโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (สวนดอก) โดยคณะแพทยศาสตร์ นอกจากการใช้กัญชาทางการแพทย์แล้ว ทางมหาวิทยาลัยยังมีการนำส่วนที่เหลือจากการผลิต เช่น ใบ ลำต้น ราก และกากที่เหลือจากการสกัด มาต่อยอดในการทำวิจัย อีกทั้งยังมีการบูรณาการความรู้ระหว่างคณะ หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าหรือที่เรียกว่า Zero Waste

 

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ บริษัทฯ มีความคาดหวังร่วมกันที่จะพัฒนาผลิตยาจากกัญชาที่สามารถผลิตได้เองภายในประเทศทุกกระบวนการ ที่มีมาตรฐานเพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยมุ่งหวังให้ยากัญชาเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษา เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนไทย อีกทั้งยังสามารถส่งออก ดังแนวคิด “ผลิตในไทย มาตรฐานสากล เพื่อคนทั้งโลก”

เดินหน้า มช.จับมือ\"แอตแลนต้า เมดดิคแคร์ \"เปิดอาคารวิจัย\"กัญชาทางการแพทย์\"

ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประธานคณะทำงานโครงการวิจัยด้านกัญชา กัญชงและพืชเสพติด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีท่านอธิการบดีเป็นที่ปรึกษา มีคณะทำงาน ที่ประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ เช่น คณะเกษตรศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยคณะทำงานชุดนี้ ทำหน้าที่ ในการวางแนวทางในการดำเนินงานการวิจัย บูรณาการองค์ความรู้และเทคโนโลยีขั้นสูงของมหาวิทยาลัย มาสร้างสรรค์งานวิจัยเกี่ยวกับกัญชา กัญชงและสารเสพติด ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ โดยมุ่งหวังให้เกิดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่สามารถใช้งานได้จริง

 

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มุ่งเน้นการนำสารสกัดจากกัญชาไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์เป็นหลัก ซึ่งตรงกับวัตถุประสงค์ของ บริษัท แอตแลนต้า เมดดิคแคร์ จำกัด อีกทั้ง บริษัทยังได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงทำให้เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2562 ได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เรื่อง วิจัย พัฒนา เพื่อผลิตสารสกัดกัญชาระดับ Medical Grade เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับบริษัท แอตแลนต้า เมดดิแคร์ จำกัด

เดินหน้า มช.จับมือ\"แอตแลนต้า เมดดิคแคร์ \"เปิดอาคารวิจัย\"กัญชาทางการแพทย์\"

หลังจากลงนามความร่วมมือแล้ว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และบริษัท ได้ดำเนินความร่วมมือด้านการวิจัยมาโดยตลอด ดังจะเห็นได้จากการสร้างอาคารวิจัยกัญชาทางการแพทย์ ซึ่งอาคารดังกล่าวมีความทันสมัย และมีมาตรฐานระดับ World Class ซึ่งได้มีการทดลองปลูกกัญชามาจนถึงระยะเก็บเกี่ยวแล้ว พันธุ์ที่ใช้ทดลองปลูก เป็นพันธุ์นำเข้าจากต่างประเทศ ที่มี CBD สูง THC ต่ำ

 

และในวันนี้นับเป็นโอกาสอันดีอีกครั้งที่ บริษัท แอตแลนต้า เมดดิคแคร์ จำกัด และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะเดินหน้า สานต่อ การวิจัยและพัฒนา เพื่อผลิตสารสกัดจากกัญชาในระดับ Medical Grade โดยการมอบอาคารวิจัยกัญชาทางการแพทย์ ที่มีการออกแบบและดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตยาตามมาตรฐานระดับสากล มีการควบคุมคุณภาพในทุกขั้นตอนการปลูก สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกได้ทั้งหมด จึงสามารถมั่นใจในคุณภาพของกัญชาที่จะใช้ในการศึกษาวิจัยการผลิตยาและการวิจัยทางคลินิกต่อไป 

เดินหน้า มช.จับมือ\"แอตแลนต้า เมดดิคแคร์ \"เปิดอาคารวิจัย\"กัญชาทางการแพทย์\"

ซึ่งอาคารวิจัยดังกล่าวตั้งอยู่ที่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีเนื้อที่ 16 ไร่ 1 งาน 71.8 ตารางวา ประกอบด้วยอาคารผลิต อาคารปลูก อาคารสนับสนุน อาคารสำนักงาน อาคารกำจัดขยะ อาคารโรงอาหารและล็อคเกอร์ และป้อมยามภายใน ภายนอก ความพิเศษของอาคารหรือโรงเรือนนี้ เป็นโรงเรือนที่มีการออกแบบและดำเนินการตามมาตรฐานGMP PICS มีการควบคุมคุณภาพในทุกขั้นตอนการปลูก และมีการใช้เทคโนโลยี Indoor Cultivationโดยมีมูลค่าประมาณ 17 ล้านบาท

 

 และในวันนี้นับเป็นโอกาสอันดีอีกครั้งที่ บริษัท แอตแลนต้า เมดดิคแคร์ จำกัด และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะเดินหน้า สานต่อ การวิจัยและพัฒนา เพื่อผลิตสารสกัดจากกัญชาในระดับ Medical Grade โดยการมอบอาคารวิจัยกัญชาทางการแพทย์ ที่มีการออกแบบและดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตยาตามมาตรฐานระดับสากล มีการควบคุมคุณภาพในทุกขั้นตอนการปลูก สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกได้ทั้งหมด จึงสามารถมั่นใจในคุณภาพของกัญชาที่จะใช้ในการศึกษาวิจัยการผลิตยาและการวิจัยทางคลินิกต่อไป 

เดินหน้า มช.จับมือ\"แอตแลนต้า เมดดิคแคร์ \"เปิดอาคารวิจัย\"กัญชาทางการแพทย์\"

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดรุณี นาพรหม  คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่างาน ด้วยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีนโยบายในการผลิตกัญชาเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ในระดับ Medical Grade คณะเกษตรศาสตร์ ในฐานะผู้ปลูกกัญชาต้นน้ำ ซึ่งดำเนินการโดยทีมคณาจารย์ผู้วิจัยที่มีความรู้ ความสามารถสูง ร่วมดำเนินการวิจัยกับนักวิจัยของบริษัท แอตแลนต้า เมดดิแคร์ จำกัด ในการทดลองปลูกกัญชาสายพันธุ์นำเข้าที่มี CBD สูง ภายในอาคารวิจัยกัญชาทางการแพทย์ มีการควบคุมคุณภาพทุกขั้นตอนภายตามหลักมาตรฐานสากล เพื่อให้ได้ผลผลิต (ช่อดอก) ที่มีคุณภาพสูง

 

และในวันนี้ ผลผลิต (ช่อดอก) กัญชาที่ได้จากอาคารดังกล่าว พร้อมถึงระยะเวลาที่จะสามารถเก็บเกี่ยวได้แล้ว ดังที่ได้ตั้งแสดงในห้องนี้ ซึ่งผลผลิตที่ได้จากการเก็บเกี่ยวในครั้งนี้ จะมีการส่งต่อไปยังคณะเภสัชศาสตร์ เพื่อทำการวิเคราะห์หาสารสำคัญเพื่อนำไปผลิตเป็นยากัญชา ในระดับ Medical Grade จึงสามารถมั่นใจในคุณภาพของกัญชาที่จะใช้ในการศึกษาวิจัยการผลิตยาและการวิจัยทางคลินิกต่อไป

 

นายศุภเดช อำนวยสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอตแลนต้า เมดดิคแคร์ จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัท ฯเลือกมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็น partner ในการทําวิจัยและพัฒนา ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับกัญชาในครั้งนี้ เนื่องจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีนโยบายการพัฒนากัญชาทางการแพทย์ที่ชัดเจน ตรงกับความต้องการของบริษัท มีการจัดตั้งคณะทํางานโครงการวิจัยด้านกัญชากัญชงและพืชเสพติดที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมอีกทั้งมีผู้เชี่ยวชาญครบทุกดา้น ในการพัฒนากัญชาทางการแพทย์ดังนั้นบริษทัเชื่อมั่นในมช.เหมาะสมและเป็นpartnerที่มีศักยภาพที่จะร่วมดําเนินการ วิจัยและพัฒนาเพื่อการใช้ประโยชน์ของกัญชาร่วมกัน

 

ด้านการปลูก มีการปรับปรุงพื้นที่เพื่อก่อสร้างโรงเรือนระบบ Indoor เพื่อศึกษาวิจัยการปลูกกัญชาทางการแพทย์ ตามมาตรฐาน GACP และ GMP PICs ซึ่งขณะนี้ได้ทำการปลูกกัญชาสายพันธุ์ต่างประเทศมาแล้ว 3 เดือน และพร้อมจะเก็บเกี่ยวในวันนี้ การศึกษาวิจัยการผลิต อยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมกับทางคณะเภสัชศาสตร์ เพื่อนำช่อดอกที่ผ่านการทำแห้งเรียบร้อยแล้ว นำไปศึกษาวิจัยด้านการผลิตผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ ส่วนการศึกษาวิจัยเชิงทดลองทางคลินิก กับทางคณะแพทยศาสตร์จะเป็นขั้นตอนต่อไป

 

ทั้งนี้ เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการด้านการค้นคว้าวิจัยกัญชาทางการแพทย์ทั้งทางการปลูก ผลิต การศึกษาวิจัยทางคลินิก และความพร้อมสำหรับแพทย์ที่จะมี World Class Medical Cannabis ใน Dosage form ต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการรักษาโดยองค์รวมแก่ผู้ป่วยได้หายจากโรคและมี Quality of Life ที่ดี ยิ่งๆขึ้น ต่อไป

 

กิจกรรมภายในงานได้มีพิธีการตัดช่อดอกกัญชาที่ใช้ในการวิจัย ซึ่งเป็นพันธุ์นำเข้าจากต่างประเทศ มีสาร CBD ค่อนข้างสูง และ THC ต่ำ จากนั้นจะมีการเก็บเกี่ยวช่อดอกกัญชาในอาคารปลูกทั้งหมด เพื่อส่งต่อให้กับคณะเภสัชศาสตร์นำไปสกัดหาสารสำคัญและเตรียมพัฒนาเป็นสูตรยาที่เหมาะสมต่อไป