เปิดแนว MR8 ชุมพร-ระนอง เชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน

21 ม.ค. 2565 | 11:22 น.
อัปเดตล่าสุด :21 ม.ค. 2565 | 18:48 น.
7.5 k

    ระนองเปิดบ้านตั้งวงประชุมถี่ยิบ แผนโครงข่ายโลจิสติกส์เปิดประตูการค้าทางทะเลฝั่งตะวันตก ทั้งชุดขยายท่าเรือ ชุดสภาพัฒน์ศึกษาความเป็นไปได้การขนส่งข้าม 2 ฝั่งทะเล ล่าสุดอนุฯขับเคลื่อนแลนด์บริดจ์ได้แนวเส้นทาง MR8 แล้ว เชื่อมแหลมริ่ว ชุมพร กับอ่าวอ่าง ระนอง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อ 17 ม.ค. 2565 นายปิยพงศ์ ชูวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เป็นประธานหน่วยงานภาครัฐ-เอกชนในพื้นที่ ร่วมประชุมกับคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครง การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน ด้านการพัฒนาโครงข่ายทางพิเศษระหว่างเมือง รถไฟเชื่อมท่าเรือ และการขนส่งทางท่อผ่าน ระบบ Zoom Cloud Meeting จากกรมทางหลวง

เปิดแนว MR8 ชุมพร-ระนอง เชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน

อนุฯขับเคลื่อนโครงการพัฒนา SEC เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทย-อันดามัน ราย งานว่า การพัฒนา MR-Map มี นโยบายสำคัญในการพัฒนาประกอบด้วยการใช้เขตทางที่มีอยู่อย่างเต็มที่ โดยบูรณาการมอเตอร์เวย์และทางรถไฟร่วมกัน ลดการเวนคืนพื้นที่และการแบ่งแยกชุมชน พัฒนาความเจริญไปสู่พื้นที่ใหม่

นายปิยพงศ์ ชูวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง

ภาพร่างแนวสายทางมอเตอร์เวย์ร่วมระบบราง MR-MAP โครงข่ายเชื่อมระหว่างภาคและกับเพื่อนบ้าน

ปรับปรุงการเชื่อมต่อโครงข่าย ทั้งมอเตอร์เวย์และทางรถไฟ เพิ่มความสะดวก คล่องตัว และความปลอดภัยสำหรับผู้โดยสารและการขนส่งสินค้า โดยแยกการจราจรทางไกลออกจากการจราจรในพื้นที่ คำนึงถึงผลกระทบการเวนคืนและการแบ่งแยกชุมชนเป็นหลัก

 

รวมทั้ง จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วางแผนพร้อมกัน โดยไม่จำเป็นต้องก่อสร้างพร้อมกัน ขึ้นอยู่กับแผนปฎิบัติการของหน่วยงานที่รับผิดชอบทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง
   เปิดแนว MR8 ชุมพร-ระนอง เชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน  

เปิดแนว MR8 ชุมพร-ระนอง เชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน

ทั้งนี้ โครงข่าย MR-Map ประกอบด้วย เส้นทางในแนวเหนือ-ใต้ จำนวน 3 เส้นทาง รวม 2,620 กิโลเมตร เส้นทาง ในแนวตะวันออก-ตะวันตก จำนวน 6 เส้นทาง รวม 2,380 กิโลเมตร และเส้นทางเชื่อมต่อกรุงเทพฯและปริมณฑล

เปิดแนว MR8 ชุมพร-ระนอง เชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน

สำหรับเส้นทาง MR8 ชุมพร-ระนอง เชื่อมการเดินทางและขนส่งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน แนวทางเลือกทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง+ทางรถไฟสายใหม่ ช่วงชุมพร-ระนอง (120 กิโลเมตร) สรุปการคัดเลือกแนวเส้นทางที่ดีที่สุด คือแนวเส้นทางที่ 1 ระยะทางของแนวเส้นทางรวม 91 กิโลเมตร

 

โดยมีระยะทางผ่านพื้นที่อุทยาน 11.49 กิโลเมตร ผ่านป่าสงวน 30.88 กิโลเมตร ต้องขุดอุโมงค์ประมาณ 10 กิโลเมตร และพื้นที่อ่อนไหวจะกระทบประชาชน ที่ให้เกิดน้อยที่สุด เป็นแนวเส้นทางที่พัฒนาไปยังพื้นที่ใหม่ เป็นการกระจายความเจริญ ซึ่งจากการรับฟังความเห็นประชาชนและหน่วยงานเกี่ยวข้องส่วนใหญ่เป็นชอบแนวทางเลือกที่ 1

เปิดแนว MR8 ชุมพร-ระนอง เชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน

แนวเส้นทางโครงการและรายละเอียดการออกแบบเบื้องต้น มีจุดเริ่มต้นโครงการที่บริเวณแหลมริ่ว ต.บางนํ้าจืด อ.หลังสวน จ.ชุมพร จุดสิ้นสุดโครงการบริเวณอ่าวอ่าง ต.ราชกรูด อ.เมือง จ.ระนอง ระยะทาง 91 กิโล เมตร แนวเส้นทางผ่านพื้นที่ 2 จังหวัด 3 อำเภอ ได้แก่ อ.หลังสวน และ อ.พะโต๊ะ จังหวัดชุมพร และอ.เมืองระนอง

 

รายละเอียดการออกแบบเบื้องต้น เส้นทาง MR8 : แหลมริ่ว-อ่าวอ่าง ประกอบด้วย ด่านเก็บค่าผ่านทาง 3 แห่ง ศูนย์บริการทางหลวง 1 แห่ง สถานที่บริการทางหลวง 1 แห่ง และจุดพักรถ 1 แห่ง

เปิดแนว MR8 ชุมพร-ระนอง เชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน

สำหรับทางแยกต่างระดับพร้อมด่านเก็บค่าผ่านทาง ทั้งหมด 3 แห่ง คือ 1. ทางแยกต่างระดับหลังสวน (ตัดกับทางหลวงหมาย เลข 41) 2. ทางแยกต่างระดับพะโต๊ะ (ตัดกับทางหลวงหมายเลข 4006) และ 3. ทางแยกต่างระดับระนอง (ตัดกับทางหลวงหมายเลข 4)
    

สำหรับโครงข่ายเชื่อมโยงทางถนนเชื่อมโยงท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและท่าเรือฝั่งอันดามัน ประกอบด้วย การเชื่อมโยงถนนทางหลวงสู่ท่าเรือแหลมริ่ว จ. ชุมพร การเชื่อมโยงเส้นทาง MR8 สู่ท่าเรือแหลมริ่ว จ.ชุมพร และการเชื่อมโยงเส้นทาง MR8 เข้าสู่ท่าเรืออ่าวอ่าง จ.ระนอง

เปิดแนว MR8 ชุมพร-ระนอง เชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน

ประกอบด้วยสะพานยกระดับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองขนาด 6 ช่องจราจร (รวม 2 ทิศ ทาง) ขนานกับสะพานยกระดับทางรถไฟ สายใหม่จำนวน 3 ราง และ Siding Track 1 ราง มีถนนบริการขนาด 2 ช่องจราจรต่อทิศทาง เพื่อรองรับปริมาณรถทั้งจากทางหลวงสายหลัก และถนนชนบทที่จะเข้าสู่ท่าเรืออ่าวอ่าง

เปิดแนว MR8 ชุมพร-ระนอง เชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน

การประชุมขับเคลื่อนโครงการพัฒนาโลจิสติกส์สู่ระนอง เพื่อเป็นประตูการค้าฝั่งทะเลตะวันตก เกิดขึ้นต่อเนื่อง โดยเมื่อ 13 ม.ค. 2565 นางธิดา พัทธธรรม รองเลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.หรือสภาพัฒน์) นำทีมมาจัดสัมมนาโครงการศึกษาความเป็นไปได้การเชื่อมโยงเส้นทางขนส่งทางทะเลฝั่งอ่าวไทยและอันดามันของประเทศ ร่วมกับผู้บริหารพื้นที่จังหวัดระนอง เพื่อศึกษาความเป็นไปได้และผลกระทบเบื้องต้นในทุกมิติ

เปิดแนว MR8 ชุมพร-ระนอง เชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน

ขณะที่เมื่อ 27-28 ธ.ค.2564 การท่าเรือแห่งประเทศ ไทย (กทท.) ก็จัดประชุมรับฟังความเห็น และเสียงสะท้อนต่อร่างรายงาน ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และแนวทางแก้ไขผลกระทบ (EIA) โครงการปรับปรุงท่าเทียบเรือระนองและการก่อสร้างท่าเทียบเรือ 3 

 

บุญเลื่อน พรหมประทานกุล/รายงาน

หน้า 10 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 41 ฉบับที่ 3,7521 วันที่ 23-25 มกราคม พ.ศ.2565