เช็กด่วน! “เงินประกันรายได้ยางพารา” เข้าแล้ว

09 ธ.ค. 2564 | 09:24 น.
อัปเดตล่าสุด :13 ธ.ค. 2564 | 19:34 น.
146.6 k

มาตามนัด ข่าวดี ชาวสวนยาง เฮลั่น “เงินประกันรายได้ยางพารา” เข้าแล้ว ทีเดียว 2 งวด ซ้อน "บอร์ด กยท. "ส่งซิก เร่งตรวจสอบสถานะโอนเงิน คลิกลิงค์ https://chongkho.inbaac.com/ ตลอด 24 ชั่วโมง หวังเป็นของขวัญปีใหม่ เช็กเลย ใครเงินเข้าบ้าง

ความคืบหน้าโครงการ ประกันรายได้ยางพารา ตามมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564  เห็นชอบให้ดำเนินการโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 3 ใช้วงเงินรวมงบประมาณทั้งสิ้น 10,065,687,645.28 บาท หรับเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท. ) ทั้งบัตรสีเขียว และบัตรสีชมพู

 

สำหรับเกษตรกรชาวสวนยาง ที่แจ้งข้อมูลพื้นที่ปลูกยาง กับ กยท. ภายในวันที่ 14 มิถุนายน 2564 จำนวน 1,880,458 ราย เกษตรกรชาวสวนยาง เช็กสิทธิ์ ผ่านลิงค์ https://www.raot.co.th/gir/index/ และตรวจสอบสถานะการโอนเงินได้ https://chongkho.inbaac.com/ ตลอด 24 ชั่วโมง ล่าสุดมีความคืบหน้าแล้ว

 

นายสุนทร รักษ์รงค์ กรรมการการยางแห่งประเทศไทย และในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิในคณะทำงานกำหนดราคากลางอ้างอิง เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า เมื่อวาน (8 ธ.ค.64) มีการเคาะราคาประกันรายได้ยางพารา 2 งวด พร้อมกันเลย กล่าวคือจะชดเชย ย้อนหลัง เดือนตุลาคม และพฤศจิกายน นี้  (ระยะประกันรายได้ตั้งแต่ ตุลาคม 2564 – มีนาคม 2565) โดย แบ่งสัดส่วนรายได้ เจ้าของสวน ร้อยละ 60 และคนกรีด ร้อยละ 40 ของรายได้ทั้งหมด รายละไม่เกิน 25 ไร่

ในโครงการ "ประกันรายได้ยางพารา"  งวดที่ 1 ราคา "เดือนตุลาคม" ประจำปี 2564 จ่ายชดเชย 900.03 ล้านบาท  “"ยางแผ่นดิบ" จ่ายชดเชย 7.67 บาท/กิโลกรัม ,  "น้ำยางสด" จ่ายชดเชย  5.95 บาท/กิโลกรัม และ"น้ำยางก้อนถ้วย" ไม่ต้องจ่ายชดเชย สูงกว่าราคาประกัน

 

สำหรับในงวดที่ 2 "เดือนพฤศจิกายน" ประจำปี 2564 จ่ายชดเชย 539.27 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น  “ยางแผ่นดิบ" จ่ายชดเชย 5.85 บาท/กิโลกรัม  "น้ำยางสด" จ่ายชดเชย 3.36 บาท/กิโลกรัม  และ "น้ำยางก้อนถ้วย" ไม่ต้องจ่ายชดเชยสูงกว่าราคาประกัน

 

เคาะราคาทีเดียว 2 งวด

 

นายสุนทร กล่าวว่า  ฝนตกคนก็แช่งฝนแล้งคนก็ด่า ช่วงปลายปีของทุกปี ราคายางจะตกต่ำ เพราะใกล้วันคริสต์มาส  และเข้าช่วงเทศกาลปีใหม่ ธุรกิจและธุรกรรมทางการเงินของโลกโดยส่วนใหญ่หยุดดำเนินการ โรงงานอุตสาหกรรมยางก็วางแผนลดกำลังการผลิต เพื่อรองรับวันหยุด ระบบขนส่งก็รีบเคลียร์สินค้าเก่าคงค้างที่รอขนส่ง เบรกการรับสินค้าใหม่

พอมีโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ก็มีการเมืองฝ่ายตรงข้ามเข้ามาแทรก ปล่อยข่าวว่าราคายางตกต่ำเพราะมีโครงการประกันรายได้ บ้า อ่ะ เปล่า ? พวกเราบางคนก็พลอยบ้าจี้ไปตามข่าวปล่อย…เฮ้อ!!! ตอนที่ "โครงการประกันรายได้ยางพารา" มาช้าก็โวย พอโครงการมาก็อยากได้ราคา ความสมดุลและความพอดีของมนุษย์อยู่ตรงไหน ราคายางสูงใครๆก็อยากได้ ดีด้วยซ้ำไม่ต้องใช้เงินภาษีของรัฐมาชดเชยชาวสวนยาง

 

เข้าทีเดียว 2 งวด ซ้อน

“ขออธิบายเพื่อความเข้าใจ ใครไม่เชื่อสุนทร ก็ช่างหัว ราคายางที่ตกต่ำไม่ได้เกี่ยวกับโครงการประกันรายได้ยางพารา เพราะโครงการนี้แม้จะเป็นแค่ยาพาราเซตามอล ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาชั่วคราว เพื่อให้พี่น้องชาวสวนยางมีรายได้ตามราคาประกันรายได้แค่นั้นเอง ดังนั้นถ้าราคายางต่ำกว่าราคาประกันรายได้ คุณก็ได้รับการชดเชย แล้วจะบ่นทำไม หลายคนยังเรียกผิดว่าโครงการประกันราคาด้วยซ้ำ อันนั้นทำไม่ได้และผิดหลักองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO)

 

นายสุนทร กล่าวว่า การยางแห่งประเทศไทยและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขาก็มีการเตรียมการรองรับปัญหา แต่มันแก้ไขไม่ได้ทั้งหมดหรอก แค่พอทำให้ราคายางไม่ดิ่งจนเกินไป เช่น โครงการชะลอการขายยางก้อนถ้วยในภาคเหนือและอีสาน การเข้ารับซื้อน้ำยางสดของหน่วย BU และการเข้าซื้อยางแผ่นดิบและยางแผ่นรมควันคณะอนุกรรมการรักษาเสถียรภาพราคายาง กยท.

 

“ผมเดินสายเตรียมการล่วงหน้าไปทั่วประเทศ ก็กลัวโควิดเหมือนกันนะ แต่ยอมเสียสละ วันนี้โครงการชะลอการขายยางของ กยท.เดินไปถึงไหนล่ะ เก็บยางช่วงที่เขาทุบราคาได้ตามเป้าหมายหรือเปล่า เงินก็มี ชุดความคิดและคู่มือก็มี ประสบการณ์ที่ผ่านมาก็มี เคยตั้งคำถามกับตัวเองบ้างไหม นอกจากชอบตั้งคำถามกับคนอื่น ไม่ใช่รอให้คนอื่นไปป้อนถึงปาก อย่าให้พูดมากสุนทรก็เหนื่อยเป็นเหมือนกันนะจ๊ะ”