ดันไทยศูนย์ใหญ่อาเซียน 5G คาด 15 ปีสร้างมูลค่าธุรกิจ 2.3-5 ล้านล้านบาทต่อปี

18 ต.ค. 2564 | 16:49 น.
อัปเดตล่าสุด :18 ต.ค. 2564 | 23:48 น.

หัวเว่ยเดินทหน้าพัฒนา 5G ในไทยดันสู่การเป็นศูนย์ใหญ่ใน คาดภายใน 15 ปีสร้างมูลค่าธุรกิจ 2.3-5 ล้านล้านบาทต่อปี ล่าสุดมีโครงการในอีอีซีแล้ว 43 โครงการ

นายอาเบล เติ้ง  ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวในงาน ในงานสัมนา EEC : 5G... ดันศักยภาพไทยแข่งขันเวทีโลก ภายใต้หัวข้อ โครงสร้างพื้นฐาน 5G ดันศักยภาพไทยแข่งขันเวทีโลก ซึ่งจัดโดยหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ว่า ระบบเทคโนโลยี 5G กำลังขยายตัวอย่างมาก  โดยภายใน 10 ปี ข้างหน้าจะมีมูลค่า 12 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 6% ของจีดีพีโลก แต่เนื่องจากประเทศไทยมีการดำเนินการเรื่อง 5G มาก่อน  อาจจะขยายตัวใกล้เคียง 30% อย่างไรก็ดี ภายใน 15 ปี (2037) คาดว่ามูลค่าของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ 5G ทั้งหมดน่าจะได้ประมาณ 2.3-5 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 10% ของจีดีพีประเทศไทยต่อปี  ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มาก 
ทั้งนี้ จากประเด็นดังกล่าวจะทำให้ประทศไทยกลายเป็นจุดศูนย์ใหญ่ของอาเซียนทางด้าน 5G รวมถึงจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาคอุตสาหกรรมค่อนข้างมาก  หรือปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โดยข้อมูลจากประเทศญี่ปุ่น และจีนเมื่อนำ 5G มาปรับใช้ทางด้านหารนำเครื่องจักร หรือเทคโนโลยีมาทำงานแทนแรงงานมนุษย์ (Automation) จะทำให้ต้นทุนลดลงประมาณ 30% ซึ่งอุตสาหกรรมจะบำรุงรักษา (Maintain) ตนเองต่อไปทางด้านของความสามารถในการแข่งขัน และอุตสาหกรรมบางอย่างที่ปิดกิจการ หรือหมดความสามารถทางการแข่งขัน (Sunset) ไปแล้วก็อาจจะกลับคืนมาได้

นายอาเบล กล่าวต่อไปอีกว่า หัวเว่นยประมานการณ์ว่า  หากดำเนินการได้อย่างทำถูกต้องภายใน 5 ปีข้างหน้าจะทำให้ระบบไอทีของประเทศไทย  ขีดความสามารถทางด้านขนาดดิจิทัลจากอันดับ 39 จะขยับอันดับมาอยู่ที่ 30 ขณะที่การจ้างงานทางด้านไอทีจาก 58 จะดีขึ้นเป็น 40 และคุณภาพของแรงงานจะดีขึ้นจาก 55 เป็น 40   
"5G จะเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ (Disruption) ในการพัฒนาประเทศ  โดยหัวเว่ยกับไทยทำงานร่วมกันมามาก  ซึ่งปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก  โดยผลสรุปที่ออกมาค่อนข้างชัดเจนว่ามีการช่วยอุตสาหกรรม และประชาชนโดยทั่วไป  ซึ่งเศรษฐกิจในอนาคตจะขึ้นอยู่กับ 5G หากทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ 5G ได้ดี จะกลายเป็นส่วนขับเคลื่อนเศรษฐกิจ"
นายอาเบล กล่าวอีกว่า ปัจจุบัน 5G ของหัวเว่ยครอวคลุมประมาณ 500 ล้านเคส โดยการรองรับเรื่องดังกล่าวเร็วกว่าระบบ 4G ประมาณ 1.5 เท่า โดยแสดงให้เห็นว่าโลกำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็น  Digitization เต็มตัวด้วย 5G ซึ่งล่าสุดเริ่มมี 5G ที่ทำต่อเนื่องทั้งระบบเป็นเรื่องใหญ่ทั่วโลก โดยมีโครงการที่เป็นเรือธง ( Flagship)ในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี (EEC) ประเทศไทยประมาณ 43 โครงการ 
นอกจากนี้ มีธุรกิจที่สร้างจาก 5G ที่หัวเว่ยดูแลอยู่ประมาณ 70 ราย โดยไม่ได้เข้ามาเพื่อจำหน่ายท่อสัญญาณเท่านั้น  แต่เป็นการเข้ามาช่วยพัฒนา โดย 5G เริ่มเข้าสู่ระบบที่สมบูรณ์แบบ ดังนั้น จะมีการใช้ในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ที่ท่าเรือ การขนส่ง พลังงาน การรักษาพยาบาล 

"เวลานี้หากเข้าไปในโรงพยาบาล  หากใช้รถพยาบาลที่เป็นระบบ 5G หากสามารถส่งผู้ป่วยได้เร็วภายใน 1 ชั่วโมง  จะลดความเสี่ยงการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคโลหิตในสมองแตกจาก 60% จะมีโอกาสรอดเป็น78% หรือหากต้องการผ่าตัดจะเพิ่มโอกาสจาก 80% เป้น 90% โดยเป็นส่วนที่เข้าไปดำเนินการที่บ้านฉาง และพัทยา โดยมองว่าในอนาคต 5G จะมีส่วนที่เข้ามาช่วยเรื่องเกี่ยวกับชีวิต และความเป็นอยู่ค่อนข้างมาก ซึ่งเรื่องต่อไปที่กำลังจะมุ่งเน้นต่อไปคือ ยานพาหนะไร้คนขับที่เป้น AI การเข้ามาช่วยเก็บข้อมูลด้านการเกษตรเพื่อพัฒนาคุณภาพอาหาร"