ผงะ “เขื่อนสิริกิติ์” มีน้ำเก็บกัก ต่ำสุดรอบ 28 ปี

16 ก.ย. 2564 | 04:03 น.
อัปเดตล่าสุด :16 ก.ย. 2564 | 11:14 น.
532

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ นับถอยหลัง 47 วันสิ้นสุดฤดูฝน เผย สัปดาห์ที่ผ่านมาเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม 27 จังหวัด แต่เหนือเชื่อนกลับมีฝนตกเพียงเล็กน้อย ที่น่าห่วงที่สุด “เขื่อนสิริกิติ์” มีน้ำเก็บกัก ต่ำสุดรอบ 28 ปี

เฟซบุ๊ก สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) โพสต์สัปดาห์ที่ผ่านมาเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม 27 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำพูน ลำปาง ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ เลย ชัยภูมิ นครราชสีมา อุบลราชธานี ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี จันทบุรี ระยอง ตราด นครนายก ลพบุรี สมุทรปราการ ระนอง กระบี่ และตรัง

 

เนื่องจากได้รับอิทธิพลของร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน อ่าวไทย และประเทศไทยมีกำลังแรง ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่

 

แต่บริเวณเหนือเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์กลับมีฝนตกเพียงเล็กน้อย และน้อยต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 64 ส่งผลให้มีน้ำใช้การได้ของ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยาเพียง 2,882 ล้านลูกบาศก์เมตร (13 กันยายน 2564) และเขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำกักเก็บน้อยเป็นอันดับ 2 รองจากปี 2536 ซึ่งเป็นปีที่เกิดภัยแล้งรุนแรงต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2536-2537 เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลตั้งแต่มีการสร้างเขื่อนมา ในรอบ 28 ปี

 

มีปริมาณน้ำกักเก็บน้อยเป็นอันดับ 2 รองจากปี 2536 ซึ่งเป็นปีที่เกิดภัยแล้งรุนแรงต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2536-2537 เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลตั้งแต่มีการสร้างเขื่อนมา

อีก 47 วัน สิ้นสุดฤดูฝน

ส่วนสถานการณ์สัปดาห์นี้ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออก ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน อ่าวไทย และประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง  ภาคตะวันออก ภาคใต้ และด้านตะวันตกของประเทศ

 

น้ำในเขื่อน ปัจจุบั้นเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่ง ทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บรวมกัน  39,990 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 56% ของความจุ สถานการณ์อยู่ในเกกณฑ์น้ำปานกลาง โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 16,448 ล้านลูกบาศก์เมตร มีเขื่อนที่ปริมาณน้ำเก็บกักอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก (มากกว่า 80-100% ของความจุ) จำนวน 6 เขื่อน

 

ได้แก่ เขื่อนแม่มอก (97.33%) เขื่อนประแสร์ (85.56%) เขื่อนหนองปลาไหล (85.15%) เขื่อนลำพระเพลิง (85.11%) เขื่อนนฤบดินทรจินดา (83.77%) และเขื่อนขุนด่านปราการชล (80.68%) และมีเขื่อนที่ปริมาณน้ำเก็บกักอยู่ในเกณฑ์วิกฤติ (ไม่เกิน 30% ของความจุ) จำนวน 2 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ (23%) และเขื่อนแม่กวงอุดมธารา (18.88%)

 

สัปดาห์นี้ประเทศไทยมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางกระจายตัวอยู่ทั่วทุกภาค และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมไปถึงบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ต่อวันสูงสุด 10  อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี 634 มิลลิเมตร  ชลบุรี 194 มิลลิเมตร พิจิตร 192 มิลลิเมตร ตาก 178 มิลลิเมตร ตราด 177 มิลลิเมตร จันทบุรี  176 มิลลิเมตร พิษณุโลก 164 มิลลิเมตร เชียงราย 152 มิลลิเมตร ลำปาง 122 มิลลิเมตร และ นครนายก 120 มิลลิเมตร

 

ปลูกเกินแผนทุกชนิด

ปัจจุบันประเทศไทยมีการปลูกข้าวนาปีและพืชไร่ -พืชผัก ไปทั้งหมด 15.29 ล้านไร่ หรือคิดเป็น 87.93% ของแผน ซึ่งมีการปลูกข้าวนาปี 14.87 ล้านไร่ หรือคิดเป็น 88.34% โดย "ภาคกลาง" มีการปลูกข้าวนาปีเกินแผนไปแล้วกว่าเท่าตัว หรือคิดเป็น 121.12% และ "ภาคตะวันตก" ปลูกเกินแผนไปแล้ว 0.53% ส่วน "ภาคเหนือ" มีการปลูกพืชไร่-พืชผัก เกินแผนไปแล้ว 2.29%