สภาพจราจรบนท้องถนนติดขัดช่วงชั่งโมงเร่งด่วน ดังนั้นการสัญจรทางเรือ จึงเป็นหนึ่งทางเลือกสำคัญ ที่กระทรวงคมนาคม เร่งบูรณาการ อำนวยความสะดวกประชาชน พัฒนาท่าเรือ เชื่อมโยง"รถไฟฟ้า" แบบไร้รอยต่อ นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงระบบขนส่งคมนาคมทางน้ำ ว่าปัจจุบัน กระทรวงคมนาคมได้พัฒนาศักยภาพท่าเรือโดยสารเพื่อเชื่อมต่อระบบรถ เรือ และราง อาทิ ท่าเรือคลองแสนแสบที่เปิดให้บริการทั้ง 25 ท่า โดยเชื่อมต่อรถไฟฟ้าทั้ง 4 จุด ประกอบด้วย ท่าเรือราม1 และท่าเรืออโศก เชื่อมต่อสายสีน้ำเงิน ท่าเรือสะพานหัวช้างและท่าเรือสะพานตากสินเชื่อมต่อสายสีเขียว แผนงานในปี 2564 เตรียมพัฒนาประสิทธิภาพการเดินเรือในแม่น้ำป่าสัก เพื่อเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำ ทั้งนี้เตรียมก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งพังความยาว 25 กิโลเมตร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พร้อมเดินรถ ! รถไฟฟ้า" สายสีทอง"ขบวนสุดท้าย ถึง"กรุงธนบุรี "
กทท.ทุ่มงบ 41.8 ลบ. ปรับโครงสร้าง “ท่าเรือระนอง” เชื่อมกลุ่ม BIMSTEC
ดีเดย์ "สายสีเขียวเหนือ" จ่อเปิดให้บริการ ธ.ค.63
โดยขุดลอกร่องน้ำ 6.6 เมตร เพื่อให้เรือขนาด 2,500 ตัน สามารถเดินเรือขนส่งสินค้าได้สะดวกมากขึ้น ซึ่งอยู่ระหว่างขอรับจัดสรรงบประมาณปี 2564 วงเงินรวม 575.02 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าก่อสร้าง วงเงิน 563.75 ล้านบาท ค่าควบคุมงาน วงเงิน 11.27 ล้านบาท รวมทั้งพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางน้ำชายฝั่งทะเล เบื้องต้นสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำแผนโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงฐานการผลิตในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) กับประตูการค้าในพื้นที่ภาคใต้ จังหวัดระนอง ปัจจุบันท่าเรือระนอง ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับพันธมิตรที่มีศักยภาพในกลุ่มประเทศอินเดีย ศรีลังกา และเมียนมา พร้อมทั้งศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาศักยภาพท่าเรือระนอง เฟส 3 วงเงิน 22 ล้านบาท
หน้า 19-20 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,602 วันที่ 20 - 22 สิงหาคม พ.ศ. 2563