สมรสเท่าเทียม เกิดขึ้นจริงแล้วในประเทศไทย!!

29 มิ.ย. 2567 | 06:00 น.

สมรสเท่าเทียม เกิดขึ้นจริงแล้วในประเทศไทย!! : ผู้นำวิสัยทัศน์ นางสาวกมลธิดา พรรณพิพัฒน์ Corporate communications: IPG Mediabrands Thailand

พาส่องกระแสความร้อนแรงและทิศทางของโลกออนไลน์ กับ “สมรสเท่าเทียม” ที่เกิดขึ้นจริงแล้วในประเทศไทย!!

ในประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง โดยเป็นข่าวดีสำหรับชาว LGBTQIA+ เมื่อที่ประชุมวุฒิสภาผ่านร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมแล้ว ทำให้ประเทศไทยเป็นชาติแรกในอาเซียนที่มีกฎหมายรองรับให้มีการแต่งงานของบุคคลเพศเดียวกันได้ จดทะเบียนสมรส ด้วยการไม่จำกัดคำว่า ชาย-หญิง เท่านั้นที่เรียกว่าเป็น “คู่สมรส” แต่ครอบคลุมทุกเพศสภาพ รวมทั้งถ้อยคำที่เป็นกลางทางเพศมากขึ้น

สมรสเท่าเทียม เกิดขึ้นจริงแล้วในประเทศไทย!! ที่มา: IG Story:bbrightvc, X: @Woodytalk, X: @silvymusic_

เช่น สามี-ภรรยา ปรับเป็น “คู่สมรส”, ชาย-หญิง ปรับเป็น “บุคคล”, บิดา-มารดา ปรับเป็น “บุพการี” และใช้ชีวิตคู่เป็นคู่สมรสโดยที่กฎหมายรองรับทั้งมีสิทธิในการหมั้น, สิทธิจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส, สิทธิเป็นผู้จัดการแทนในทางอาญาเช่นเดียวกับสามี-ภรรยา, สิทธิรับมรดกหากอีกฝ่ายเสียชีวิต, สิทธิรับบุตรบุญธรรมและให้บุตรบุญธรรมใช้นามสกุลคู่สมรสได้

โดยจะต้องมีอายุแก่กว่าบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี, สิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม, สิทธิเซ็นยินยอมให้รักษาพยาบาลอีกฝ่าย, สิทธิจัดการศพ รวมทั้งรับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการจากรัฐในฐานะคู่สมรส เช่น สิทธิรับประโยชน์ทดแทนจากประกันสังคม, สิทธิเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น ปลดล็อกข้อจำกัดที่เคยมีมาก่อน ทำให้กฎหมายสมรสเท่าเทียมที่เกิดขึ้น เป็นการพูดถึงในสังคมเป็นอย่างมาก ทั้งสื่อ บุคคลมีชื่อเสียงหลายคนออกมาแสดงความยินดีและร่วมแชร์เรื่องราวมากมาย

สมรสเท่าเทียม เกิดขึ้นจริงแล้วในประเทศไทย!!

ที่มา: IG Story:bbrightvc, X: @Woodytalk, X: @silvymusic_

กระแสที่เกิดขึ้นกระแสของ Social media ตั้งแต่เข้าเดือนแห่ง Pride month และสมรสเท่าเทียมในประเทศไทยมีทิศทางที่พูดถึงไปในทางที่ดีมากถึง 97.67% มียอดของการมีส่วนร่วมหรือ Engagement ถึง 43,951,620 เฉลี่ยต่อวันมากถึง 1,690,447 Engagement

 

สมรสเท่าเทียม เกิดขึ้นจริงแล้วในประเทศไทย!!

ที่มา: Zocial eye

ใน Platform Social media ที่มีการพูดถึงเรื่องนี้มากที่สุดคือ X หรือ Twitter ที่มีการเคลื่อนไหวในสัดส่วนที่มากกว่าครึ่งของ Social media โดยสัดส่วนสูงถึง 55.68% ตามมาด้วย Facebook 23.09% และตามมาด้วย Instagram 14.28% TikTok 3.21% และช่องทางอื่นๆอีกประมาณ 3.74% โดยช่วงอายุสูงสุดที่มีส่วนร่วมกับเรื่องนี้คือช่วงอายุ 18-24 ปี และช่วงอายุ 25-34 ปีในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน แต่สิ่งที่น่าสนใจคือกระแสการพูดถึงของ Pride month สูงมากถึง 88.16%

ในขณะที่กระแสของสมรสเท่าเทียมมีสัดส่วนอยู่ที่ 11.84% โดยเป็นกระแสสั้นๆในวันที่ 18 มิถุนายนและค่อยๆลดลงมาเรื่อยๆ กระแสที่สูงกว่าของ Pride month นั้นเกิดจากความเป็นเทศกาลประจำเดือนที่มีความสนุกสนาน มีการจัดกิจกรรมหลายที่ รวมทั้งคนทุกเพศทุกวัยสามารถมีส่วนร่วมได้ในกิจกรรมต่างๆ

รวมถึงกระแสจากแบรนด์สินค้าและบริการที่จับกระแสเดือนแห่ง Pride month เป็นผลทำให้กระแสของ Pride month นั้นสูงมากกว่า แม้การสมรสเท่าเทียมจะเป็นเรื่องที่สังคมไทยให้ความสนใจถูกพูดถึงน้อยกว่าและร้อนแรงน้อยกว่านั้นเอง

 

หน้า 15 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 44 ฉบับที่ 4,004 วันที่ 27 - 29 มิถุนายน พ.ศ. 2567