ผลิตภัณฑ์นํ้ามันปาล์มชีวภาพ ความหวังดันราคาปาล์มกระฉูด

17 ก.ย. 2564 | 16:30 น.
อัปเดตล่าสุด :18 ก.ย. 2564 | 00:00 น.
595

ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เขียนบทความเรื่อง "ผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มชีวภาพ ดันราคาปาล์ม" ชี้ให้เห็นถึงโอกาสของปาล์มน้ำมันของไทยที่รออยู่อีกมากมายในอนาคต

 

ผลิตภัณฑ์นํ้ามันปาล์มชีวภาพ ความหวังดันราคาปาล์มกระฉูด

 

“ชีวภาพหมายถึงอะไร” ราชบัณฑิตยสภาให้คำจำกัดความว่าหมายถึงเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต เช่น ความหลากหลายทางชีวภาพ (การมีสิ่งมีชีวิตนานาชนิด นานาพันธุ์ในระบบนิเวศอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยเดียวกัน) ทำให้เกิดความสมดุลของธรรมชาติ  เกษตรกรใช้วิธีการทางชีวภาพทำปุ๋ยหมัก กำจัดนํ้าเสียด้วยนํ้าหมักชีวภาพ การทำสงครามด้วยอาวุธชีวภาพ ในทางเศรษฐกิจใช้คำว่า “เศรษฐกิจฐานชีวภาพ (Bio Based Economy : BBE)” ซึ่ง USDA ให้คำจำกัดความว่าหมายถึงการ ผลิตสินค้าเพื่อแทนที่ฟอสซิล ได้แก่ เชื้อเพลิงชีวภาพจากเกษตร ป่าไม้ จุลินทรีย์ พลังงานชีวภาพ

 

ขณะที่คณะกรรมาธิการยุโรป (EU) ให้ความหมายว่าคือผลผลิตของทรัพยากร ธรรมชาติที่นำมาใช้ใหม่จากดินและทะเลนั้นคือจากพืช ป่าไม้ ปลา และสัตว์ โดยเปลี่ยนทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้นมาสร้างเป็นผลิต ภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม คำว่า ชีวภาพยังไปปรากฎในการพัฒนาเศรษฐกิจแบบ “BCG (Bio Circular Green) Economy” โดยเน้น “การแปรรูป” เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ (Circular Economy) “ต่อยอดสู่ธุรกิจใหม่”

 

ผลิตภัณฑ์นํ้ามันปาล์มชีวภาพ ความหวังดันราคาปาล์มกระฉูด

 

 

ในเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (Bio Eco nomy) โดยนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี่มา สร้างมูลค่าเพิ่ม และ “การผลิต” ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) การผลักดันผลิตภัณฑ์นํ้ามันชีวภาพจากพืชและสัตว์เพื่อแทนที่ผลิตภัณฑ์นํ้ามันปิโตรเลียมด้วย “6 เหตุผล” 1.เหลือเวลาที่จะใช้นํ้ามันดิบเป็นวัตถุดิบเพียง 48 ปี (Joshua Rapp Learn, Feb 26, 2021) 2. อุตสาหกรรมพลังงานจากปิโตรเลี่ยมปล่อย CO2 มากที่สุด 3. รถยนต์ไฟฟ้าจะเข้ามาแทนที่รถยนต์สันดาปทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้ไบโอดีเซล (จากปาล์ม) หรือเอทานอล (จากอ้อย) อีกต่อไป 4. นํ้ามันปิโตรเลียมทำลายสิ่งแวดล้อม 5. มูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์นํ้ามันปาล์มชีวภาพสูงกว่าไบโอดีเซล (นํ้ามันเครื่อง 1 ลิตรราคาเฉลี่ย 150 บาท ในขณะที่ราคาไบโอดีเซล B7 เท่ากับ 28 บาท) 6. ประเทศไทยมีเป้าหมายเป็น “ศูนย์กลางชีวภาพ (Bio Hub of ASEAN)” ในปี 2570 โดยเน้น มันสำปะหลัง อ้อยและปาล์มนํ้ามัน 

 

ประเทศไทยมีการใช้นํ้ามันปาล์มไป  “ผลิตไบโอดีเซลปีละ 1.3 ล้านตัน” (ปี 2563) ในอนาคตจะเอาไปทำอะไรหากมีการใช้รถยนต์ไฟฟ้า “มีความเสี่ยงที่ราคาผลปาล์มสดจะตกตํ่าสูง” เพราะราคาผลปาล์มสดขึ้นกับ ความต้องการนํ้ามันปาล์มภายในประเทศซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ความต้องการนํ้ามันปาล์มขวด ความต้องการของอุตสาหกรรมอื่น (ผลิตภัณฑ์โอเลโอเคมีคัลกับผลิตภัณฑ์นํ้ามันปาล์มชีวภาพ) และความต้องการไบโอดีเซล ผลิตภัณฑ์นํ้ามันปาล์มชีวภาพคือทางออกที่จะ “ดันราคาผลปาล์มสดให้สูงขึ้น”

 

ขอยกตัวอย่าง ปี 2563 ความต้องการนํ้ามันเครื่องในประเทศไทย 300 ล้านลิตร ขนาดตลาดมีมูลค่า 3-5 หมื่นล้านบาท มูลค่าตลาดไบโอดีเซลอยู่ที่ 36 ล้านบาทต่อปี(1.3 ล้านลิตรไบโอดีเซล x 28 บาท/ลิตร) หากนำนํ้ามันปาล์มไปผลิตนํ้ามันเครื่องชีวภาพจะทำให้มูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 195 ล่านบาท เพิ่ม 400% หรือ 5 เท่า (1.3 ล้านลิตรนํ้ามันเครื่องชีวภาพ x ราคาเฉลี่ย 150 บาท/ลิตร) มีการวิเคราะห์ว่ามูลค่าพิ่มขึ้นทั้งระบบอุตสาหกรรมนํ้ามันปาล์ม 20-45 เท่า (ที่มา : มาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพของไทย ปี พ.ศ. 2561-2570) นั้นแสดว่าหากไทยมีการผลัก ดันโอกาสที่ “ราคาผลปาล์มสดไปอยู่ที่ 10- 15 บาท/กก.”

 

ผลิตภัณฑ์นํ้ามันปาล์มชีวภาพ ความหวังดันราคาปาล์มกระฉูด

 

สำหรับตลาดผลิตภัณฑ์นํ้ามันชีวภาพ (Biolubricant) ที่ใช้พืชเป็นวัตถุดิบพบว่าเรฟซีดมีมูลค่าสูงสุด สัดส่วน 34% (608 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ตามด้วยถั่วเหลือง 28% และนํ้ามันปาล์มเพียง 7% เท่านั้น เหตุผลที่พืชสองชนิดนั้นมีมูลค่าสูงกว่านํ้ามันปาล์มเพราะยุโรปและสหรัฐฯ มีมาตรฐานการผลิตสูงสามารถแทนที่นํ้ามันปิโตรเลี่ยมได้ดี ได้แก่ the American Petroleum Institute (API) และ American Society for Testing and Materials (ASTM) รวมถึง the European Committee for Standardization (CEN) และ EU Ecolabel มูลค่าตลาดสารหล่อลื่นชีวภาพทั้งโลกอยู่ที่ 7 หมื่นล้านบาท สหรัฐฯ ครอง 54% ยุโรป 30% จีน 3% ญี่ปุ่น 0.3% และ ไทย 0.03%

 

โดยบริษัทใหญ่ครองตลาดรวมกันถึง 70% เป็นของบริษัท Exxon (สหรัฐฯ) Shell (เนเธอร์แลนด์และอังกฤษ) BP (อังกฤษ) Total (ฝรั่งเศส) Chevron (สหรัฐฯ) ผลิตภัณฑ์นํ้ามันปาล์มชีวภาพจะ “เกิดในประเทศไทยขึ้นกับ” 1.สิทธิประโยชน์การลงทุนต้องมากพอที่จะจูงใจให้เกิดการลงทุน มาเลเซียมีการตั้ง “พัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพของมาเลเซีย : Bioeconomy Corporation)” และเป็น “เบอร์หนึ่งของเศรษฐกิจชีวภาพอาเซียนและเอเชีย” ในขณะที่ทั่วโลกก็มีนโยบาย Bioeconomy เช่นกัน

 

2. นโยบายจูงใจให้มีการใช้ 3. นโยบายการนำเข้านํ้ามันปาล์มช่วงวัตถุดิบขาด 4. มาตรฐาน คุณภาพและฉลาก (Eco Lable) ที่ตลาดต่างประเทศยอมรับ 5. ราคาจะต้องแข่งขันได้ 6. นโยบายเขตอุตสาหกรรมใน “ภาคใต้” ต้องเอื้ออำนวยให้เกิดการลงทุน เพื่อเป็น “Bio Palm Oil Hub”