กรมสรรพากร ได้เปิดให้ ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/91 ประจำปีภาษี 2567 บุคคลธรรมดา โดยเปิดให้ยื่นแบบภาษีเงินได้ผ่านสองช่องทาง คือ
- ยื่นแบบกระดาษ ถึงวันที่ 31 มีนาคม 68
- ยื่นผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ถึงวันที่ 8 เมษายน 68
ลดหย่อนภาษีปี 2567
ลดหย่อนส่วนตัว/ครอบครัว
- ส่วนตัว 60,000 บาท
- ลดหย่อนคู่สมรส (ไม่มีรายได้) 60,000 บาท
- บุตร คนละ 30,000 บาท (บุตรคนที่ 2 เป็นต้นไป ที่เกิดตั้งแต่ปี 61 คนละ 60,000 บาท)
- ค่าคลอดบุตร ไม่เกินท้องละ 60,000 บาท
- ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ คนละ 30,000 บาท
- ค่าเลี้ยงดูผู้พิการ / ทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท
เงินบริจาค
กลุ่มการศึกษา/กีฬา/มูลนิธิด้านการแพทย์ และ การสาธารณสุข ลดหย่อนได้ตามจ่ายจริง 2 เท่าของเงินบริจาค สูงสุดไม่เกิน 10 % ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนภาษีแล้ว เงินบริจาคในประเภทนี้มักเป็นวัด โรงเรียนเอกชน โรงพยาบาลเอกชน องค์การของรัฐบาล มูลนิธิต่าง ๆ โดยต้องตั้งอยู่ในประเทศไทย องค์กรที่อยู่ต่างประเทศไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้เงินบริจาคพรรคการเมือง 10,000 บาท ใช้เป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ สูงสุด 10,000 บาท
ประกันชีวิตและการลงทุน
- ประกันชีวิตและการลงทุน
- ประกันชีวติทั่วไป/ประกันสะสมทรัพย์ ไม่เกิน 100,000 บาท
- ประกันสุขภาพตัวเอง ไม่เกิน 25,000 บาท
- รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท
ประกันสังคม 9,000 บาท
- ใช้เป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ตามจ่ายจริงไม่เกิน 9,000 บาท
ประกันสุขภาพพ่อแม่ 15,000 บาท
- เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ลดหย่อนได้ตามจ่ายจริงสูงสุด 15,000 บาท โดยพ่อแม่ต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี แต่ไม่จำกัดว่าต้องอายุมากกว่า 60 ปี
ประกันสุขภาพ 25,000 บาท
- เบี้ยประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ตามจ่ายจริงไม่เกิน 25,000 บาท
ประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ 100,000 บาท
- เบี้ยประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์สามารถใช้ลดหย่อนได้ตามจ่ายจริงไม่เกิน 100,000 บาท (รวมกับประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุสูงสุด 100,000 บาท ด้วย) ทั้งนี้ ประกันชีวิตจะต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป ทำประกันกับบริษัทในประเทศไทย และหากมีการเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี ถือว่าผิดเงื่อนไขไม่สามารถลดหย่อนได้
กองทุนเกี่ยวกับการวางแผนเกษียณอายุ 500,000 บาท
- การลงทุนสำหรับการวางแผนเกษียณอายุสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ถึงตอนนี้มีหลากหลายรูปแบบ มีเงื่อนไขแตกต่างกันไปอาจเป็นระยะเวลาการถือครอง การได้ผลประโยชน์ การฝากเงินเอาไว้ในระยะยาว รวมแล้วไม่เกิน 500,000 บาท ได้แก่
- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF - Retirement Mutual Fund) ไม่เกิน 30% ของเงินได้ ไม่เกิน 500,000 บาท ต้องลงทุนต่อเนื่องอย่างน้อย 5 ปี หรือปีเว้นปี ไม่มีกำหนดขั้นต่ำในการซื้อ และต้องถือจนกว่าจะอายุครบ 55 ปี ทั้งนี้หากผิดเงื่อนไขจะต้องคืนเงินภาษีตามลักษณะของการผิดเงื่อนไขที่เกิดขึ้น
- กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF - Super Saving Funds) ไม่เกิน 30 % ของรายได้ ไม่เกิน 200,000 บาท ต้องถือครองครบ 10 ปี นับแบบวันชนวัน ไม่บังคับซื้อทุกปี หากผิดเงื่อนจะมีการลงโทษด้านภาษีเช่นกัน
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ไม่เกิน 15% ของรายได้ ไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) ไม่เกิน 30% ของรายได้ ไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) จ่ายตามจริง ไม่เกิน 30,000 บาท
- กองทุน Thai ESG 300,000 บาท
- กองทุนที่ลงทุนในธุรกิจยั่งยืน สามารถลดหย่อนภาษีได้ 30 % ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท โดยมีเงื่อนไขการถือครอง 5 ปี นับวันชนวัน
ยื่นภาษีออนไลน์ 2568 ได้ 2 ช่องทาง
- เว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th (คลิกที่นี่)
- แอปพลิเคชัน RD Smart Tax
วิธียื่นภาษีออนไลน์บุคคลธรรมดา 2568
- เข้าเว็บไซต์ www.rd.go.th (คลิกที่นี่) เลือก "ยื่นแบบออนไลน์"
- กด "ยื่นแบบออนไลน์"
- ทำการ “เข้าสู่ระบบ” ด้วยเลขบัตรประชาชน หากเป็นการยื่นครั้งแรกให้กด “สมัครสมาชิก” แล้วทำตามขั้นตอน
- ยืนยันตัวตนด้วยรหัส OTP ผ่านเบอร์โทรศัพท์ที่ลงทะเบียนไว้
- กดยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/91
ดึงข้อมูล "ค่าลดหย่อน" อัตโนมัติ
- กรอกข้อมูลรหัสหลังบัตรประชาชน แล้วกด “ตรวจสอบข้อมูล”
- ระบบจะแสดงข้อมูลค่าลดหย่อนต่างๆ ให้อัตโนมัติ จากนั้นกด “ตรวจสอบข้อมูลสำหรับยื่นแบบ”
- เลือกข้อมูลที่จะใช้ในการยื่นภาษี จากนั้นกด "เริ่มยื่นแบบ"
ตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวพร้อมทั้งใส่สถานะ
- ระบบจะแสดงข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆ
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
- ชื่อ-นามสกุล
- วัน เดือน ปีเกิด
- สถานที่ติดต่อ
- ร้านค้า/กิจการส่วนตัว (ถ้ามี) ให้เราทำการตรวจสอบความถูกต้อง จากนั้นให้ระบุ “สถานะ” โสด / สมรส / หม้าย
ระบุข้อมูลตามแหล่งที่มาของรายได้
- ระบบจะแสดงหน้ารายได้ต่างๆ โดยแยกตามแหล่งที่มาของรายได้ เช่น รายได้จากเงินเดือน, รายได้จากฟรีแลนซ์, รายได้จากทรัพย์สิน, รายได้จากการลงทุน และรายได้จากมรดก หากเป็นพนักงานประจำที่มีรายได้ช่องทางเดียวจากเงินเดือน ให้เลือก “ระบุข้อมูลช่อง 40(1)”
กรอกรายได้ทั้งปีตามใบ 50 ทวิ
- กรอกรายได้ทั้งปีตามใบ 50 ทวิ ดังนี้
- เงินได้ทั้งหมด คือ รายได้ในปีที่ผ่านมาของเราทั้งหมด
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ให้ดูว่าบริษัทมีการหักภาษีล่วงหน้าไปหรือไม่ หากไม่มีให้ระบุ 0 หรือถ้ามีให้ระบุตามใบ 50 ทวิ
- เลขผู้จ่ายเงินได้ของบริษัทที่เราทำงานอยู่
เช็คค่าลดหย่อนทั้งหมด
- ระบบจะแสดงข้อมูลค่าลดหย่อนที่เรามีมาให้อัตโนมัติ แต่หากมีค่าลดหย่อนอื่น ๆ เพิ่มเติมในปี 2566 ที่ผ่านมา สามารถใส่เพิ่ม หรือปรับแก้ไขได้
ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้อง
- ระบบจะคำนวณภาษีที่ต้องชำระให้อัตโนมัติ หลังจากตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดเรียบร้อยแล้วให้กด “ถัดไป”
กดยืนยันการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- เมื่อตรวจสอบข้อมูลครบถ้วนแล้ว กด "ยืนยันการยื่นแบบ"
- เสร็จสิ้นการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านช่องทางออนไลน์.
ที่มา: กรมสรรพากร