ตารางลดหย่อนภาษี 2567 มีอะไรบ้าง กรมสรรพากร แจ้งชัดเจนแล้วคลิกที่นี่

14 ธ.ค. 2567 | 05:45 น.
15.0 k

มนุษย์เงินเดือน เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คลิกอ่านด่วน กรมสรรพากร แจ้งตารางลดหย่อนภาษี 2567 มีอะไรบ้าง มัดรวมให้แล้ว

จากกรณีที่ กรมสรรพากร ได้กำหนดให้ผู้มีเงินได้ทั้งบุคคลธรรมดา และ นิติบุคล ต้องยื่นแบบภาษีเงินได้ประจำปี ซึ่งภาษีเงินได้ในแต่ละปี กรมสรรพากร ให้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้ในทุกๆ ปี

ล่าสุด กรมสรรพากร ได้โพสต์ข้อความ  ได้แจ้งตาราง ลดหย่อนภาษีปี 2567  เพื่อเช็คสิทธิ์และนำไปคำนวณ ก่อนยื่นภาษีปี 2567  

เช็คสิทธิ์ในการลดหย่อนภาษี 2567 มีอะไรบ้าง

ลดหย่อนส่วนตัว/ครอบครัว

  • ส่วนตัว 60,000 บาท
  • ลดหย่อนคู่สมรส (ไม่มีรายได้)  60,000 บาท
  • บุตร คนละ 30,000 บาท (บุตรคนที่ 2 เป็นต้นไป ที่เกิดตั้งแต่ปี 61 คนละ 60,000 บาท) 
  • ค่าคลอดบุตร ไม่เกินท้องละ 60,000 บาท
  • ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ คนละ 30,000 บาท
  • ค่าเลี้ยงดูผู้พิการ / ทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท


 

เงินบริจาค

  • กลุ่มการศึกษา/กีฬา/มูลนิธิด้านการแพทย์ และ การสาธารณสุข ลดหย่อนได้ตามจ่ายจริง 2 เท่าของเงินบริจาค สูงสุดไม่เกิน 10 % ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนภาษีแล้ว เงินบริจาคในประเภทนี้มักเป็นวัด โรงเรียนเอกชน โรงพยาบาลเอกชน องค์การของรัฐบาล มูลนิธิต่าง ๆ โดยต้องตั้งอยู่ในประเทศไทย องค์กรที่อยู่ต่างประเทศไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
  • เงินบริจาคพรรคการเมือง 10,000 บาท ใช้เป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ สูงสุด 10,000 บาท

ตารางลดหย่อนภาษี 2567

ประกันชีวิตและการลงทุน

  • ประกันชีวติทั่วไป/ประกันสะสมทรัพย์ ไม่เกิน 100,000 บาท
  • ประกันสุขภาพตัวเอง ไม่เกิน 25,000 บาท
  • รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท

ประกันสังคม 9,000 บาท

  • ใช้เป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ตามจ่ายจริงไม่เกิน 9,000 บาท

ประกันสุขภาพพ่อแม่ 15,000 บาท 

  • เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ลดหย่อนได้ตามจ่ายจริงสูงสุด 15,000 บาท โดยพ่อแม่ต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี แต่ไม่จำกัดว่าต้องอายุมากกว่า 60 ปี
  • ประกันสุขภาพ 25,000 บาท
  • เบี้ยประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ตามจ่ายจริงไม่เกิน 25,000 บาท
  • ประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ 100,000 บาท
  • เบี้ยประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์สามารถใช้ลดหย่อนได้ตามจ่ายจริงไม่เกิน 100,000 บาท (รวมกับประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุสูงสุด 100,000 บาท ด้วย) ทั้งนี้ ประกันชีวิตจะต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป ทำประกันกับบริษัทในประเทศไทย และหากมีการเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี ถือว่าผิดเงื่อนไขไม่สามารถลดหย่อนได้
  • กองทุนเกี่ยวกับการวางแผนเกษียณอายุ 500,000 บาท
  • การลงทุนสำหรับการวางแผนเกษียณอายุสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ถึงตอนนี้มีหลากหลายรูปแบบ มีเงื่อนไขแตกต่างกันไปอาจเป็นระยะเวลาการถือครอง การได้ผลประโยชน์ การฝากเงินเอาไว้ในระยะยาว รวมแล้วไม่เกิน 500,000 บาท ได้แก่ 
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF - Retirement Mutual Fund) ไม่เกิน 30% ของเงินได้ ไม่เกิน 500,000 บาท ต้องลงทุนต่อเนื่องอย่างน้อย 5 ปี หรือปีเว้นปี ไม่มีกำหนดขั้นต่ำในการซื้อ และต้องถือจนกว่าจะอายุครบ 55 ปี ทั้งนี้หากผิดเงื่อนไขจะต้องคืนเงินภาษีตามลักษณะของการผิดเงื่อนไขที่เกิดขึ้น
  • กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF - Super Saving Funds) ไม่เกิน 30 % ของรายได้ ไม่เกิน 200,000 บาท ต้องถือครองครบ 10 ปี นับแบบวันชนวัน ไม่บังคับซื้อทุกปี หากผิดเงื่อนจะมีการลงโทษด้านภาษีเช่นกัน
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ไม่เกิน 15% ของรายได้ ไม่เกิน 500,000 บาท 
  • กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) ไม่เกิน 30% ของรายได้ ไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) จ่ายตามจริง ไม่เกิน 30,000 บาท
  • กองทุน Thai ESG 300,000 บาท
  • กองทุนที่ลงทุนในธุรกิจยั่งยืน สามารถลดหย่อนภาษีได้ 30 % ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท โดยมีเงื่อนไขการถือครอง 5 ปี นับวันชนวัน

กระตุ้นเศรษฐกิจ

  • ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย ไม่เกิน 100,000 บาท

  •  Easy e-Receipt 2567 ลดหย่อนได้ 50,000 บาท

  • เที่ยวเมืองรอง 2567 ไม่เกิน 15,000 บาท

  • สร้างบ้านใหม่ปี  2567/68 ไม่เกิน 100,000 บาท (10,000 บาท ต่อค่าก่อสร้างทุก 1 ล้านบาท) 

มาตรการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

  • ช่วยค่าซ่อมบ้าน ไม่เกิน 100,000 บาท
  • ช่วยค่าซ่อมรถ ไม่เกิน 30,000 บาท (ที่จ่ายไประหว่างวันที่ 16 สิงหาคม ถึง 31 ธันวาคม 2567 )

 3 ช่องทางยื่นแบบภาษีเงินได้ 2567

  • ยื่นภาษีได้ที่กรมสรรพากร หรือสำนักงานสรรพากรในพื้นที่
  •  ยื่นภาษีออนไลน์ผ่านระบบ E-Filing ของกรมสรรพากร (คลิกที่นี่) 
  • ยื่นภาษีผ่านแอปพลิเคชั่น RD Smart Tax ของกรมสรรพากร ต้องลงทะเบียนกับเว็บไซต์ของกรมสรรพากรก่อนเปิดใช้งาน.

ที่มา: กรมสรรพากร