มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ล่าสุด วันนี้ (17 ธันวาคม 2567) ที่มีน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมที่ทำเนียบรัฐบาล โดยมีมติเห็นชอบวาระสำคัญจากกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จำนวน 2 ฉบับ ดังนี้
สำหรับรายละเอียดทีมโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จะแถลงรายละเอียดภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมเวลาประมาณ 11.30 น. นำโดย นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และคณะ ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล โดยมีการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live เพจไทยคู่ฟ้า
ภายหลังการประชุม นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ครม.เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
โดยมีสาระสำคัญเป็นการลดให้กับการดำเนินการเกี่ยวกับสาธารณูปโภค คือการวางท่อน้ำประปา เดิมต้องเสียภาษี แต่จะลดให้ 50%
นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
นายคารม กล่าวว่า ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2563 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ (กค.) เสนอ โดยกำหนดให้ที่ดินเป็นที่ตั้งของโรงผลิตน้ำประปาและโรงผลิตน้ำประปา รวมถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นที่ใช้ประโยชน์เกี่ยวเนื่องกับการผลิตน้ำประปา ได้รับลดภาษีในอัตราร้อยละ 50 ของจำนวนภาษีที่จะต้องเสีย และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2568 เป็นต้นไป
เพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่ต้องเริ่มดำเนินการสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2568 อันจะทำให้ อปท. สามารถจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิตน้ำประปาให้แก่กิจการผลิตน้ำประปาซึ่งเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ
ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้จัดทำประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินมาตรการดังกล่าว ตามมาตรา 27 และมาตรา 32 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยรายงานว่าการดำเนินการตามมาตรการภาษีดังกล่าวจะทำให้ อปท. สูญเสียรายได้ประมาณ 54.45 ล้านบาทต่อปี
แต่จะเป็นการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิตน้ำประปาให้แก่กิจการผลิตน้ำประปาซึ่งเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ อันจะเป็นการส่งเสริมการดำเนินกิจการผลิตน้ำประปาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรวม ทั้งนี้ ผู้ประกอบการผลิตน้ำประปายังคงมีภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่ตั้งของอาคารซ่อมและบำรุงรักษาภายในโรงงานผลิตน้ำ โดยไม่ได้รับการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามมาตรการดังกล่าว
นอกจากนี้คณะรัฐมนตรี(ครม.)วันที่ 17 ธันวาคม 2567 ยังมีมติรับทราบ ร่างกฎกระทรวงกำหนดทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ฉบับที่ …) พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
โดยมีสาระสำคัญเป็นการ แก้ไขนิยามคำว่า "ทางรถไฟฟ้า" ให้ครอบคลุมสิ่งปลูกสร้างที่เกี่ยวข้องกับระบบขนส่งทางรางมากขึ้น ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป
กฎกระทรวงเดิม พ.ศ. 2562 ได้ยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับ "ทางรถไฟ" และ "ทางรถไฟฟ้า" แต่พบว่า นิยามของ 'ทางรถไฟ' มีความครอบคลุมมากกว่า โดยรวมถึงห้องอาณัติสัญญาณและชานชาลาสำหรับผู้โดยสาร ขณะที่นิยาม "ทางรถไฟฟ้า" ไม่ได้ครอบคลุมสิ่งปลูกสร้างเหล่านี้
ร่างกฎกระทรวงฉบับใหม่นี้จึงมีการแก้ไข นิยามคำว่า 'ทางรถไฟฟ้า' โดยเพิ่มสิ่งปลูกสร้างสำคัญ ได้แก่:
การปรับปรุงนิยามครั้งนี้จะช่วยให้ ผู้ประกอบการระบบขนส่งทางราง ได้รับการยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอย่างชัดเจนและเท่าเทียมกันระหว่างทางรถไฟและรถไฟฟ้า ซึ่งจะช่วย ลดภาระต้นทุน และส่งเสริมการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน
การแก้ไขนี้จะเริ่มมีผลในปีภาษี 2568 สอดคล้องกับกำหนดการแจ้งประเมินภาษีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี