สำรวจหนี้สาธารณะ ต่อ GDP ของแต่ละประเทศ ใครภาระหนักสุด

14 พ.ย. 2567 | 15:28 น.
อัปเดตล่าสุด :14 พ.ย. 2567 | 15:28 น.

เจาะลึกสถานะหนี้สาธารณะต่อ GDP ของแต่ละประเทศ พร้อมสำรวจว่าใครกำลังเผชิญภาระหนักสุดในการจัดการหนี้ เพื่อก้าวผ่านความท้าทายทางการคลังเพื่อสร้างความมั่นคงในอนาคต

ปัญหาหนี้สาธารณะเป็นประเด็นที่น่าจับตา โดยเฉพาะเมื่อหนี้สาธารณะของไทยกำลังแตะ 65-66% ของ GDP จากสภาวะการลงทุนต่ำสะสมกว่า 20 ปี ส่งผลต่อจีดีพีและเศรษฐกิจภาพรวมปัจจุบันเศรษฐกิจไทยมีการเติบโตต่ำเฉลี่ยเพียง 1.9% ต่อปี

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และในปี 2567 คาดว่าจะเติบโตเพียง 2.7% โดยอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะไม่ถึง 1% สะท้อนภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาและความท้าทายในการขยายฐานเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน

นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่ากระทรวงการคลัง ระบุว่า แม้ว่าไทยมีเงินทุนอยู่ในระบบ แต่เม็ดเงินลงทุนโดยรวมในไทยกลับต่ำกว่า 20% ของ GDP ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค เหตุผลหนึ่งที่ทำให้ไทยลงทุนต่ำเป็นเพราะการเติบโตทางเศรษฐกิจที่จำกัด โดยเฉพาะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งผลพวงจากการลงทุนต่ำสะท้อนในด้านการจ้างงานที่ลดลง และปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ส่วนใหญ่เกิดจากการกู้ยืมเพื่อซื้อบ้านและรถยนต์

การลงทุนต่ำยังส่งผลให้ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMEs) ขาดโอกาสในการเติบโต เนื่องจาก SME เหล่านี้มักเป็นส่วนหนึ่งของซัพพลายเชนที่พึ่งพาการลงทุนขนาดใหญ่ เมื่อการลงทุนลดลง ธุรกิจเหล่านี้ประสบปัญหาในการเข้าถึงสินเชื่อ จึงทำให้ภาครัฐต้องเข้าไปอุดหนุน ซึ่งนำไปสู่ภาระหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้น

นายพิชัย กล่าวว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หนี้สาธารณะของไทยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยจากเดิมอยู่ที่ 48% ของ GDP หรือประมาณ 5 ล้านล้านบาท ปัจจุบันขยับขึ้นมาที่ 65-66% ของ GDP โดยมูลค่าหนี้ใกล้แตะ 12 ล้านล้านบาท นโยบายการเงินกำหนดว่าหนี้สาธารณะต้องไม่เกิน 70% ของ GDP ซึ่งนั่นหมายความว่าพื้นที่ทางการคลังเหลือเพียง 3-4% เท่านั้น หรือประมาณ 3 ล้านล้านบาท

อัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP เป็นตัวชี้วัดสำคัญที่บ่งชี้ถึงสุขภาพทางการเงินของประเทศ โดยให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับศักยภาพของรัฐบาลในการบริหารจัดการหนี้ กำหนดความยืดหยุ่นของนโยบายการเงิน และมีบทบาทสำคัญในการสร้างอิทธิพลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน

มูลนิธิ Hinrich ได้แสดงหนี้สาธารณะเป็นเปอร์เซ็นต์ของ GDP ในแต่ละประเทศ ข้อมูลจาก World Economic Outlook ของ IMF ไว้น่าสนใจ โดย "ฐานเศรษฐกิจ" ได้คัดเฉพาะบางประเทศเท่านั้น 

สำรวจหนี้สาธารณะ ต่อ GDP ของแต่ละประเทศ ใครภาระหนักสุด

อัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ที่ค่อนข้างต่ำ เช่น ในกรณีของบรูไน ในทางกลับกัน อัตราส่วนหนี้สาธารณะที่ค่อนข้างสูง เช่น ในกรณีของญี่ปุ่น

อัตราส่วนหนี้สาธารณะสามารถให้บริบทที่สำคัญในการทำความเข้าใจความสามารถของประเทศในการปฏิบัติตามภาระผูกพันทางการเงิน อัตราส่วนที่สูงอาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน บั่นทอนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และจำกัดการเติบโตทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ตัวเลือกนโยบายการคลังอาจมีข้อจำกัด