สภาอุตสาหกรรมฯ หนุนเร่งเจรจา OCA สร้างความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียน

06 พ.ย. 2567 | 14:55 น.
อัปเดตล่าสุด :08 พ.ย. 2567 | 10:58 น.

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หนุนแผนพัฒนา แหล่งก๊าซ จากการฟื้นฟูการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล (OCA) หวังสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน

นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวในงานสัมมนา พลังงานราคาถูก…ทางรอดเศรษฐกิจไทย จัดโดย "ฐานเศรษฐกิจ" ช่วง Panel Discussion: ทางรอด พลังงานไทย ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ว่า ในฐานะตัวแทนภาคอุตสาหกรรม ที่มีทั้งผู้ผลิตพลังงาน ทั้งพลังงานพลังงานฟอสซิล พลังงานพลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียน ตลอดจนผู้ใช้พลังงาน รวมถึงสถาบันหน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม มีข้อเสนอแบบแผนพลังงานชาติ (National Energy Plan : ENP) ที่จะสะท้อนภาพพลังงานราคาถูก เป็นทางรอดของเศรษฐกิจไทย ดังนี้

 

นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

 

1. เรื่องไฟฟ้าซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวมากที่สุด PDP (Power Development Plan) ต้องเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ EGAT เพื่อปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้า ต้องมองถึงต้นทุนและการบริหารที่เหมาะสม ถัดมาคือการทบทวนการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเติม ควบคู่กับการเร่งเปิดระบบการใช้ TPA และขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าของภาคธุรกิจชั้นดีกว่า 53,000 ล้านบาท

2. พลังงานทางเลือก AEDP (Altenative Energy Development Plan) ควรทำก่อน PDP และต้องใช้ให้เต็มประสิทธิภาพ และเปิดนโยบาย เกี่ยวกับพลังงานสะอาดและให้ผู้คนเข้าถึงได้มากขึ้นโดยมีราคาที่คงที่ไม่ผันแปลตามราคาของพลังงานพลังงานฟิอสซิล เช่น นิวเคลียร์ ไฮโดรเจน และพลังงานจากเขื่อนสาละวิน

3. EEP (Energy Effciency Plan) ผลักดันการอนุรักษ์พลังงานพลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในทุกภาคส่วนโดยเฉพาะ SMEs

 

งานสัมมนา พลังงานราคาถูก…ทางรอดเศรษฐกิจไทย จัดโดย "ฐานเศรษฐกิจ" 

 

4. Oil Plan ส่งเสริมอุตสาหกรรมการเกษตร เพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต ลดการพึ่งพาพลังงานนำเข้าจากต่างประเทศ  ถือเป็นภาระสำคัญที่จะทำให้เกิดความยั่งยืนในภาคการเกษตร โดยเฉพาะ 1.2 ล้านครัวเรือนที่ทำมันสำปะหลังและอ้อย และควรส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นฮับเอทานอล โดยจะช่วยสร้างการลงทุนไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท และช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตรของไทย

5. Gas Plan ในข้อนี้คือการมุ่งไปสู่ OCA โดยเรื่อง OCA มีความเชื่อและความหวังที่จะเกิดขึ้นได้จริง เพราะการเดินหน้าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับ 2 ประเทศ ทั้งไทยและกัมพูชา ซึ่งต่างมีเรื่องวิกฤตพลังงาน โดยในพื้นที่อ่าวไทยมีท่อแก๊สและโรงแยกแก๊สอยู่ที่มาบตาพุต และการร่วมมือกับกัมพูชาสามารถดึงพลังงงานมาใช้ได้เร็วกว่าที่คิด อีกทั้งยังมีต้นทุนที่ถูกกว่าการนำเข้าอย่างแน่นอน

"ผมคิดว่าวันนี้เรื่อง OCA ไม่ควรจะเป็นประเด็นทางการเมือง ควรเป็นเรื่อง Fact และ Data โดยการให้สัมภาษณ์จากอดีตรัฐมนตรีพลังงาน รัฐมนตรีต่างประเทศ หรือหลายคนมองว่า OCA ควรเดินหน้า ภายใต้กรอบ MOU 44 แต่เรื่อเรื่องสัมปทานจะต้องมีความโปร่งใส Clean และ Lean"

นายยอิศเรศ กล่าวว่า ในกรณีนี้อยากเห็นความแข็งแกร่งของอาเซียน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาค เพราะการเป็นประเทศเล็กมักเสียเปรียบเรื่อง FTA เสียเปรียบการดั๊มราคาสินค้าของประเทศยักษ์ใหญ่ที่เข้ามาในตลาด โดยสถานการณ์ของประเทศไทยจะเห็นได้กว่า การผลิตและการส่งออกเริ่มต่ำลง สินค้าในแบรนด์ Made In Thailand ลดน้อยลง

ฉะนั้น การเปลี่ยนมุมมองสำหรับคนที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงสำหรับการเจรจาเรื่อง OCA จะต้องมอง key success อยู่ 4 เรื่อง ที่จะแปลงมาเป็นยุทธศาสตร์ของประเทศเพื่อทำให้ OCA เกิดขึ้นจริงมากที่สุด ทรัพยากรใต้ทะเลจะมีอยู่มากน้อยแค่ไหนจะเป็นอีกหนึ่งเรื่องหนึ่งซึ่งคนที่เคยสำรวจระบุว่ามีแน่นอน

 

นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

 

key success ยุทธศาสตร์ 4 เรื่อง

  1. ความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ประเทศไทยต้องมี
  2. ทีมเจรจา จะต้องมีความต่อเนื่องไม่ว่าจะมาจากกระทรวงการต่างประเทศ ทหารเรือ หรือกระทรวง หน่วยงานไหนก็ตาม ต้องเป็นทีมที่มีความเชี่ยวชาญ
  3. ความกล้าหาญของภาคการเมือง
  4. ความเป็นหนึ่งเดียวของทุกภาคส่วน

อย่างไรก็ตาม ชัดเจนอยู่แล้วว่าเกาะกูดไม่เกี่ยวข้องกับ OCA เพราะสนธิสัญญาระบุไว้อย่างชัดเจนว่าเกาะกูดเป็นของคนไทย ถัดมาคือควรเดินหน้าตามกรอบ MOU 44 อย่ารื้อใหม่ โดยพื้นที่กว่า 1 หมื่นตารางเมตรที่อยู่ใน OCA มีหลักเกณฑ์สากลระบุไว้อยู่แล้วว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นของใคร และอยากย้ำให้เกิดการพัฒนาอย่างโปร่งใส และควรตั้งทีมเจรจาโดยผู้นำที่มีบารมี สุดท้ายคือทีมสื่อสารที่สามารถโฟกัสไปยังกลุ่มคนที่มองเห็นต่างมุม เพื่อให้เกิดการรับฟังซึ่งกันและกัน

"ในวันนี้ผมคิดว่าเมืองไทยเราบอบช้ำเพียงพอแล้ว จากหลายเรื่องที่ผ่านมา ทั้งเศรษฐกิจในประเทศและอิทธิพลจากต่างประเทศยักษ์ใหญ่ ผมอยากเห็นประเทศไทยมีความสามัคคี ผมจะสวมหวก 2 ใบ คือทำหน้าที่ในตำแหน่ง และหมวกประชาชนทั่วไปที่คอยจับตามอง พร้อมส่งกำลังใจให้ทุนคนที่ทำหน้าที่ให้ประเทศไทยมีเวทีได้ยืน รวมถึงสร้างความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียน"

 

สภาอุตสาหกรรมฯ หนุนเร่งเจรจา OCA สร้างความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียน