บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCG ปรับเปลี่ยนองค์กรไปสู่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์( Net Zero) ภายใน ปี 2593 เพื่อตอบสนองต่อกฎระเบียบที่เปลี่ยนแปลง เช่นพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย และ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) ของสหภาพยุโรป โดยเป้าหมายระยะสั้น ปี 2563-2573 ปรับตัวเข้าสู่สังคมคาร์บอนตํ่า (Low Carbon Society) และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope 1 และ 2 ตามเป้าหมาย The Science Based Targets initiative หรือ SBTI ให้ได้ 25 % ภายในปี 2573 เมื่อเทียบกับ ปีฐาน 2563 และปรับเปลี่ยนแหล่งพลังงานฟอสซิลเป็นพลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาด พร้อมส่งเสริม สินค้ากรีน รวมถึงลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope 3 จากการขายเชื้อเพลิงฟอสซิลให้ลูกค้า ภายนอกลงอย่างน้อย 25% ภายในปี 2574 เมื่อเทียบกับปีฐาน 2564
ระยะกลาง 2574-2592 มุ่งขยายเทคโนโลยีการผลิตคาร์บอนตํ่าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Greening Process and Technology) รวมทั้งลงทุนในนวัตกรรมและวิจัยเพื่อค้นหาเทคโนโลยีที่ก้าวลํ้า (Deep Tech) เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ Net Zero เช่น เทคโนโลยีการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เทคโนโลยีไฮโดรเจน การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture Utilization and Storage - CCUS) รวมถึงการขยายระบบพลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียน พร้อมเข้าสู่อุตสาหกรรมที่ยังยืน และในปี 2593 บรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Achieving Net Zero)
การขับเคลื่อนเป้าหมายดังกล่าว หนึ่งในกลยุทธ์สำคัญของเอสซีจี เป็นการดำเนินงานการส่งเสริมการใช้และพัฒนาพลังานหมุนเวียน โดยให้บริษัท เอสซีจี คลีนเนอร์ยี่ (SCG Cleanergy) ถือหุ้นโดย SCG 100% เป็นแกนหลักในการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน เนื่องจากเห็นว่า เป็นธุรกิจที่มีศักยภาพแห่งอนาคต (New S-Curve) รับมือกับความท้าทายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ทั้งนี้ ในรายงานของเอสซีจี ระบุว่า การลงทุนในพลังงานหมุนเวียน จะเน้นไปที่การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เป็นหลัก ในรูปแบบสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) โดยเน้นขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์กับภาครัฐและอุตสาหกรรมในไทยและต่างประเทศ ซึ่งตั้งเป้าผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน 3,500 เมกะวัตต์ ภายในปี 2573
ปัจจุบัน เอสซีจี คลีนเนอร์ยี่ ได้ขยายกำลังการผลิตรวมทั้งหมด 548 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย โครงการภาครัฐจากโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเรียบเพิ่มเติมใบรูปแบบ Feed - in Tarif (FT) ปี 2565 - 2573 สำหรับกลุมไม่มีต้บทุนเชื่อเพลัง เพิ่มเติมระยะที่ 1 พ.ศ. 2566 จากพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 5 โครงการ รวมกำลังผลิต 367 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย บริษัท เอ็นพี วัดด์ จำกัด ถือหุ้น 100% ขนาด 90 เมกะวัตต์ บริษัท ซีแอลพี พาวเวอร์ จำกัด ถือหุ้น 60% ขนาด 20 เมกะวัตต์ บริษัท ซีเอ็มที เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ถือหุ้น 60% ขนาด 20 เมกะวัตต์ บริษัท โวลต์ซิงค์ โซลูชั่น จำกัด ถือหุ้น 60% ขนาด 108 เมกะวัตต์ บริษัท พาวเวอร์ ซี.อี. จำกัด ถือหุ้น 60% ขนาด 129 เมกะวัตต์ และในส่วนของเอกชนทั้งรูปแบบลาร์ลอยนํ้าและโซลาร์รูฟท็อป 181 เมกะวัตต์
นอกจากนี้ เอสซีจี คลีนเนอร์ยี่ ได้พัฒนาระบบบริหารจัดการเครือข่ายไฟฟ้า Smart Grid ผ่าน SCG Cleanergy Platform เชื่อมโยงการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าระหว่างผู้ประกอบการ โดยจ่ายพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตเข้าสู่ระบบสายส่งที่เชื่อมกับโรงงานและระบบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) ผ่าน SCG Cleanergy Platform ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้าและข้อมูลคาร์บอนเครดิต สำหรับการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของโรงงานได้ โดยเฉพาะการบริหารจัดการพื้นที่ ภายในนิคอุตสาหกรรม ซึ่งปัจจุบันมีการซื้อขายไฟฟ้าผ่านระบบ Smart Grid ของเอสซีจี คลีนเนอร์ยี่แล้ว 485 เมกะวัตต์
รวมถึงได้ร่วมลงทุนกับบริษัท Rondo Energy สตาร์ตอัป จากสหรัฐอเมริกา ผู้พัฒนานวัตกรรมแบตเตอรี่กักเก็บความร้อน (Thermal Energy Storage) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่แปลงพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานลมและพลังแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานความร้อนสะสมไว้ในฮีตแบตเตอรี่ จากนั้นสามารถนำมาแปลงเป็นพลังงานหมุนกังหันผลิตไฟฟ้า หรือใช้ในรูปไอนํ้าอุณหภูมิสูงสำหรับบางอุตสาหกรรมได้ ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อนำมาใช้ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เป็นแห่งแรกของโลก ที่โรงงานท่าหลวง ซึ่งในปี 2567 ได้เริ่มผลิตส่วนประกอบของฮีดแบตเตอรี่ส่งออกให้แก่บริษัทอุตสาหกรรมในสหรัฐอเมริกาแล้ว
อีกทั้ง ตามร่างแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP 2024) มีเป้าหมายผลิตพลังงานจากโครงข่ายไฟฟ้า Grid Modernization 1,000 เมกะวัตต์ ซึ่งทางคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)ได้ประกาศโครงการทดสอบนวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการด้านพลังงาน” ERC Sandbox”เอสซีจี คลีนเนอร์ยี่ ได้เข้าร่วมผ่านการคัดเลือก 4 โครงการ รวมทั้งหมด 6.308 เมกะวัตต์ และได้ทำสัญญาความร่วมมือแบบ PPP ดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ ทดสอบการจ่ายไฟฟ้า และซื้อขายไฟฟ้าผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ จนประสบความสำเร็จ
ที่สำคัญ ยังมีแผนเข้าร่วมโครงการนำร่องการซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนขนาด 2,000 เมกะวัตต์ ในรูปแบบการทำสัญญาซื้อขายพลังงานไฟฟ้าโดยตรง (Direct PPA) ผ่านการขอใช้บริการระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้แก่บุคคลที่สาม (Third Party Access, TPA) เพื่อให้บริการพลังงานไฟฟ้าแก่บริษัทชั้นนำของโลกในอุตสาหกรรม Data Center ในปี 2568 อีกด้วย
หน้า 7 หนังสือพิมพ์ ปีที่ 45 ฉบับที่ 4,088 วันที่ 17 - 19 เมษายน พ.ศ. 2568
ข่าวที่เกี่ยวข้อง