ประกันสังคม เกษียณอายุ 60 มาตรา 33 และ มาตรา 39 สำนักงานประกันสังคม ได้ออกมาเปิดเผย การจ่าย ‘เงินชราภาพ’ จากสำนักงานประกันสังคม รายละเอียดดังนี้
เงินชราภาพจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
1. เงินบำเหน็จชราภาพ จะได้รับเงินก้อนครั้งเดียว มี 2 เงื่อนไข
- จ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 12 เดือน ได้รับเงินจำนวนเท่าที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบไป
- จ่ายเงินสมทบมากกว่า 12 เดือน แต่ไม่ถึง 180 เดือน รับจำนวนเงินเท่าที่ผู้ประกันตนจ่าย+เงินสมทบนายจ้าง+ผลประโยชน์ตอบแทน
2. เงินบำนาญชราภาพ จะได้รับเงินรายเดือนตลอดชีวิต มี 2 เงื่อนไข
- จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน ได้รับเงินเท่ากับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
- จ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน ได้รับเงินเพิ่มอีกปีละ 1.5%
- * กรณีผู้ประกันตนเสียชีวิตภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่ได้รับเงินชราภาพ ให้จ่ายเงินบำเหน็จแก่ทายาทจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพเดือนสุดท้าย
เงื่อนไขการเกิดสิทธิกรณีบำเหน็จชราภาพ
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน
เงื่อนไขการเกิดสิทธิกรณีบำนาญชราภาพ
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 180 เดือน
เงื่อนไขในการรับสิทธิเงินชราภาพ
- เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39
- อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
- เป็นผู้ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต (เฉพาะบำเหน็จ)
เอกสารสำคัญที่ต้องเตรียมยื่นที่สำนักงานประกันสังคม
- สำเนาบัตรประชาชน
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ สปส. 2-01
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก ประเภทออมทรัพย์ หากมีพร้อมเพย์ที่ลงทะเบียนเลขบัตรประชาชนก็สามารถใช้ได้เหมือนกัน
- เช็กเงื่อนไขให้ชัวร์ เตรียมเอกสารให้ถูกต้องแค่นี้ชีวิตหลังเกษียณก็จะแฮปปี้ ใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ
ที่มา: สำนักงานประกันสังคม