เงินดิจิทัล 10000 รอบใหม่ กรุงไทย ออมสิน ดีอี แจ้งแล้วเปิดลงทะเบียนหรือไม่

12 ต.ค. 2567 | 13:54 น.
อัปเดตล่าสุด :12 ต.ค. 2567 | 14:00 น.
14.8 k

เงินดิจิทัล 10000 รอบใหม่ ธนาคารกรุงไทย ออมสิน ดีอี ออกมายืนยันชัดเจนแล้ว กระทรวงการคลัง เปิดลงทะเบียนรอบใหม่หรือไม่

เงินดิจิทัล 10000 ลงทะเบียนรอบใหม่ จากกรณีที่มีกระแสข่าวว่าเปิดลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10000 รอบใหม่ กระทรวงการคลัง จะเปิดให้ลงทะเบียนที่ธนาคารออมสิน และ ธนาคารกรุงไทยนั้น

ล่าสุด นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี ในฐานะโฆษกกระทรวงฯ เปิดเผยว่า ข่าวปลอมที่ประชาชนสนใจเป็นอันดับหนึ่ง คือ

  • รัฐบาลเปิดให้ลงทะเบียนเงินดิจิทัลวอลเล็ตใหม่ สำหรับคนที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน สามารถลงทะเบียนได้ที่ธนาคารออมสิน กรุงไทย” พบเป็นข้อมูลเท็จ
  • โดยกระทรวงดีอี ได้ประสานงานร่วมกับ ธนาคารออมสิน และ ธนาคารกรุงไทย ตรวจสอบและชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลปลอม ซึ่งปัจจุบันธนาคารออมสินและธนาคารกรุงไทยไม่ได้มีการเปิดรับลงทะเบียนเงินดิจิทัลวอลเล็ตแต่อย่างใด

ดังนั้นขอเตือนประชาชนระมัดระวังการกรอกข้อมูลและไม่ควรกดลิงก์น่าสงสัยที่ส่งโดยไม่ทราบที่มา โดยประชาชนสามารถติดตามข้อมูลข่าวสาร ธ.กรุงไทย ได้ที่ www.krungthai.com โทร Krungthai Contact Center 02-111-1111 หรือแจ้งผ่าน Facebook : Krungthai Care และ ธ.ออมสินได้ที่เว็บไซต์ www.gsb.or.th, แอปฯ MyMo, Social Media ช่องทาง GSB Society และ GSB Now เท่านั้น

เงินดิจิทัล 10000 รอบใหม่ กรุงไทย ออมสิน ดีอี แจ้งแล้วเปิดลงทะเบียนหรือไม่

ด้านข่าวปลอม อันดับ 2 “น้ำทะเลหนุน ถ.พระราม 2 เมืองกำลังจะจมทะเล” พบว่าเป็นข้อมูลเท็จ โดยกระทรวงดีอี ได้ประสานงานร่วมกับ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) สำนักนายกรัฐมนตรี พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ไม่ใช่การประกาศเตือนจากหน่วยงานภาครัฐ เป็นการสร้างความตื่นตระหนกให้ประชาชน ขอให้ติดตามข้อมูลคาดการณ์สถานการณ์น้ำและประกาศแจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำทะเลหนุนสูงจากหน่วยงานภาครัฐเท่านั้น โดยประชาชนสามารถติดตามข่าวสารจาก สทนช.ได้ที่เว็บไซต์ www.onwr.go.th หรือ โทร. 02-554-1800

 

อย่างไรก็ตาม ดีอี มีความห่วงใยประชาชน เรื่องความตระหนักรู้เท่าทันข่าวปลอมที่ถูกแพร่กระจายบนสื่อออนไลน์ โซเชียล ซึ่งหากขาดความรู้เท่าทัน ส่งต่อข้อมูลข่าวปลอม ทำให้เกิดการหลงเชื่อ สร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สิน หรือข้อมูลส่วนบุคคล และอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนในสังคมเป็นวงกว้าง ดังนั้นจึงควรตรวจสอบข้อเท็จจริงของข่าวหรือลิงก์เว็บไซต์ให้แน่ชัด