เปิดผลวิจัยพฤติกรรมนักช้อปเลือกซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคให้ประหยัดเงิน

07 พ.ค. 2567 | 17:59 น.
อัปเดตล่าสุด :07 พ.ค. 2567 | 18:00 น.

NIQ บริษัทวิจัยผู้บริโภค ร่วมกับเซ็นทรัล ฟู้ด กรุ๊ป ในเครือเซ็นทรัล รีเทล เผยข้อมูลเชิงลึกพฤติกรรมคนไทยเลือกซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคอย่างไรให้ประหยัดเงิน

NIQ บริษัทวิจัยผู้บริโภค ร่วมกับเซ็นทรัล ฟู้ด กรุ๊ป ในเครือเซ็นทรัล รีเทล จัดทำข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคและแนวโน้มของตลาดแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งสามารถรองรับภูมิทัศน์ของผู้บริโภคในประเทศไทยที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

โดยมีกลุ่มผู้ผลิตและพันธมิตรมากกว่า 200 รายเข้าร่วมงานนี้ ซึ่งตอกย้ำให้เห็นถึงการสนับสนุนของภาคอุตสาหกรรมและความสำคัญของข้อมูลที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่อประสบการณ์การค้าปลีก ด้วยการรวบรวมแพลตฟอร์ม NIQ Activate เข้ากับเครือข่ายด้านค้าปลีกที่ครอบคลุมและกว้างขวาง ของเซ็นทรัล ฟู้ด กรุ๊ป

ข้อมูลจากรายงาน Consumer Outlook 2567 เปิดเผยว่า ในขณะที่ผู้บริโภคชาวไทย 44% มองเห็นถึงข้อดีเกี่ยวกับโอกาสทางการเงินของตน แต่คนส่วนใหญ่ถึง 75% มีความกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น (เพิ่มขึ้น 5% จาก รายงาน Consumer Outlook 2566)

ทั้งนี้ ผู้บริโภคในประเทศไทยที่ตอบแบบสำรวจพบว่า 98% ได้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภค FMCG เนื่องจากต้องการบริหารการเงิน สิ่งนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่าง NIQ-CFG กับเป้าหมายที่จะใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้ เพื่อปรับปรุงการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคและการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้น ผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในภาพรวมของผู้บริโภคในประเทศไทย

ขณะที่รายงานถึงความกังวลของผู้บริโภคชาวไทย สิ่งที่จัดเป็นอันดับต้นๆ ได้แก่

ค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น 72%

การชะลอตัวของเศรษฐกิจ 42%

ความไม่มั่นคง/การสูญเสียงาน 36%

ซึ่งข้อกังวลสามอันดับแรกนั้นจะคล้ายกับปี พ.ศ. 2566 โดยสาธารณูปโภคที่เพิ่มขึ้นยังคงเป็นข้อกังวลอันดับหนึ่งของคนไทย ตามมาด้วยราคาอาหารที่สูงขึ้น และภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ในปี พ.ศ. 2566 คนไทยได้ประสบกับปัญหาค่าไฟที่เพิ่มขึ้น รวมถึงค่าอาหารก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความขัดแย้งและวิกฤตระดับโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้นได้เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ส่งสัญญาณถึงความตระหนักรู้ที่เพิ่มมากขึ้น

เปิดผลวิจัยพฤติกรรมนักช้อปเลือกซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคให้ประหยัดเงิน

รวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและพฤติกรรมการใช้จ่าย เพื่อรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ ผู้บริโภคชาวไทยถึง 98% ได้ใช้กลยุทธ์ต่างๆ เพื่อจัดการกับการใช้จ่ายในสินค้า FMCG โดยมียอดเฉลี่ยที่ 4.7 กลยุทธ์ต่อคน ซึ่งกลยุทธ์ต้นๆพบว่า 46% ของผู้บริโภคเปลี่ยนมาซื้อของออนไลน์เพื่อโอกาสในการรับข้อเสนอที่ดีกว่า

ในขณะเดียวกันก็ประหยัดน้ำมันด้วยการลดการเดินทางไปยังร้านค้า กลยุทธ์การซื้อของออนไลน์ที่มีเพิ่มขึ้นนั้นเกิดขึ้นได้จากหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการลดราคาตามแพลตฟอร์มต่างๆ โปรโมชั่นต่างๆ อย่าง 11.11 หรือ 12.12 ซึ่งทำให้ผู้บริโภคสามารถรับส่วนลดสินค้าอุปโภคบริโภคได้ถึง 80% หรือมากกว่านั้น

แม้ว่าผู้บริโภคจะมีความกังวลในช่วงต้นปี พ.ศ. 2567 แต่ผู้บริโภค 44% ก็ยังมองในแง่ดีว่าสถานการณ์ทางการเงินจะดีขึ้นภายในสิ้นปี พ.ศ. 2567 การมองโลกในแง่ดีนี้ บ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงแบบไดนามิกในพฤติกรรมผู้บริโภคที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2567

ขณะเดียวกันจะเห็นว่า ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญคือ ผู้บริโภคชาวไทยจะมีรสนิยมหลากหลายเพิ่มมากขึ้น โดยจะชอบเฟ้นหาทานอาหารรสชาติหลากหลายจากทั่วโลก เทรนด์เหล่านี้ไม่เพียงแต่ตอบสนองความอยากรู้ด้านการทำอาหารเท่านั้น แต่ยังสะท้อนถึงความต้องการทางด้านคุณภาพและประสบการณ์ระดับพรีเมียมในการบริโภคอาหารที่กว้างขึ้นอีกด้วย

เปิดผลวิจัยพฤติกรรมนักช้อปเลือกซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคให้ประหยัดเงิน

โดยเซ็นทรัล ฟู้ด กรุ๊ป ได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลเทรนด์เหล่านี้ ในการขยายฐานการนำเข้าสินค้าให้มากขึ้น กลยุทธ์นี้พัฒนามาจากข้อมูลผู้บริโภคของ NIQ ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นถึงความต้องการของตลาดในการซื้อสินค้านำเข้าที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ เซ็นทรัล ฟู้ด กรุ๊ป ตั้งเป้าทึ่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้า สร้างความพึงพอใจ และความภักดีของลูกค้า ด้วยการนำเสนอสินค้านำเข้าที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น

นายธนวัตร จิรจริยาเวช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการพาณิชย์ บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด ในเครือเซ็นทรัล รีเทล กล่าว ความร่วมมือระหว่าง NIQ และ เซ็นทรัล ฟู้ด กรุ๊ป ครั้งนี้ จะนำมาซึ่งประโยชน์มากมายแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของกลุ่มผู้ผลิตที่สามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกที่นำไปปฏิบัติตามได้ ช่วยให้ผู้ผลิตสามารถปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของตนให้ตรงกับตามความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลต่อยอดขายและกำไรที่มากขึ้น

ในส่วนของกลุ่มผู้ค้าปลีก สามารถปรับกลยุทธ์สินค้าคงคลังและ กลยุทธ์การตลาดให้เหมาะสม ที่จะนำไปสู่ความพึงพอใจและความภักดีของกลุ่มลูกค้า นอกจากนี้ กลุ่มลูกค้า ก็จะได้รับประโยชน์จากประสบการณ์การซื้อสินค้าที่ตรงกับความต้องการของแต่ละบุคคลได้มากขึ้น และสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงที่มีให้เลือกซื้อหลากหลาย สอดคล้องกับความชอบและไลฟ์สไตล์ของตน

“เราไม่ได้ดำเนินการเพียงแค่นำข้อมูลมาปรับใช้เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการที่ตรงใจผู้บริโภคเพียงเท่านั้น เรายังคิดเผื่อไปถึงต้นน้ำ ตั้งแต่ผู้ผลิต สรรหาวิธีที่จะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถที่จะพัฒนาสินค้าที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ด้วยเหตุนี้ เราจึงสนับสนุนให้ผู้ผลิตใช้แพลตฟอร์มนี้ เพื่อให้ผู้ผลิต                มีทิศทางในการนำเสนอสินค้าที่ถูกต้องและถูกใจผู้บริโภค”

“ชินตา ศรีจินตอังกูร” จาก NIQ  กล่าวว่า การขับเคลื่อนเชิงกลยุทธ์สู่การมีสุขภาพที่ดีและการเลือกสินค้าที่จำเป็น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงด้านการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ต้องคำนึงถึงเรื่องสุขภาพ นอกจากนี้ เทรนด์ผู้บริโภคใหม่ยังแสดงให้เห็นว่า 48% ของผู้บริโภคจะให้ความสำคัญกับการหลีกเลี่ยงขยะ โดยจะซื้อของเฉพาะสิ่งที่พวกเขาจะใช้

และ 33% มีความตระหนักด้านสุขภาพมากขึ้นเพื่อป้องกันปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้น “แม้จะมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ แต่ผู้บริโภคก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดในด้านการลงทุนในสิ่งที่จำเป็นเพื่อสุขภาพที่ดีของตน ซึ่งนี่แสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่นในการจัดลำดับความสำคัญของความเป็นอยู่ที่ดีของผู้บริโภค”